กฎหมายมีบทบัญญัติรักษาสิทธิเสรีภาพของพลเมืองอยู่แล้ว แต่ก็มีขอบเขตตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นแล้ว การใช้สิทธิ์นั้น ๆ ก็มีขอบเขตที่มิได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย นั่นคือต้องเป็นการใช้สิทธิ์ที่ถูกต้องทำนองคลองธรรม ถูกศีลธรรม และควรจะมีความพอดีคือแม้จะมีสิทธิ์ แต่ก็ควรรู้จักสงวนสิทธิ์ไม่ใช้จนพร่ำเพรื่อ หรือก่อปัญหาให้สังคมจนเกินเลย พลเมืองเราสามารถใช้สิทธิได้ตามเสรีภาพอันเป็นธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจตนเอง.......... ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านบอกว่า “...มานึกดูแล้ว ผมก็ออกจะไม่แน่ใจนักว่า เสรีภาพนั้นคืออย่างไรกันแน่ ได้ยินนักปราชญ์แต่ก่อนท่านพูดกันว่า เสรีภาพคือชีวิตที่ปราศจากข้อห้ามใด ๆ ทั้งสิ้น หมายความว่าบุคคลจะกระทำสิ่งใดก็ได้ไม่มีใครห้าม แต่หันกลับมาดูความหมายของคำว่าเสรีภาพในศาสนาพุทธ ท่านกลับสอนไว้ว่า เสรีภาพคือการหมดสิ้นอวิชชา และอาสวกิเลสทั้งปวง พระอรหันต์เท่านั้นที่เป็นเสรีโดยแท้ เมื่อคิดดูดังนี้แล้ว ก็ออกจะเห็นจริง เพราะมนุษย์ปุถุชนเรานั้นย่อมมีกิเลสตัณหาต่าง ๆ กัน ถ้าหากว่าสามารถกระทำการใด ๆ ได้โดยปราศจากข้อห้าม กิเลสตัณหานั้นเองก็จะเป็นเครื่องบังคับการกระทำ และการกระทำที่ไม่มีใครห้ามนั้น จะถือว่าเป็นการกระทำที่ดีไม่ได้ ถ้าหากว่าเสรีภาพหมายถึงการกระทำตามกิเลสตัณหาโดยไม่มีใครห้ามแล้ว เสรีภาพเช่นนั้นก็คงจะก่อให้เกิดความยุ่งยากและความเสียหายแก่ชีวิตของตนและชีวิตของคนอื่นอยู่เสมอ” เรื่องสิทธิและเสรีภาพนี้ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ท่านเขียนเตือนอยู่เสมอว่า อย่าใช้พร่ำเพรื่อ อย่าใช้เกินขอบเขตความเหมาะสมความพอดี หากใช้กันจนเลอะเทอะแล้ว ผู้ใช้อย่างเลอะเทอะนั้น....ไม่เป็นอะไรมากหรอกครับ แต่ตัวสิทธิและเสรีภาพต่างหากที่จะเสื่อมเสีย แล้วหมดศักดิ์และสิทธิ์ ไม่มีใครยอมรับ นั่นคือสังคมเป็นจลาจล ไม่มีใครฟังใคร ทำให้ “โจรมาเฟีย” มีอำนาจ แล้วคนที่จะเดือดร้อนก็คือสมาชิกทั้งหมดในสังคมนั้น ๆ บางคนอาจเข้าใจผิด นึกว่า “เสรีภาพ” คือชีวิตที่ปราศจากข้อห้ามใด ๆ ทั้งสิ้น หมายความว่าบุคคลจะกระทำสิ่งใดก็ได้ไม่มีใครห้าม ถ้าเสรีภาพเป็นอย่างนั้น สังคมมนุษย์คงตั้งมั่นอยู่มิได้ คงล่มสลายไปนานแล้ว” มนุษย์ปุถุชนเรานั้นย่อมมีกิเลสตัณหาต่าง ๆ กัน ถ้าหากว่าสามารถกระทำการใด ๆ ได้โดยปราศจากข้อห้าม กิเลสตัณหานั้นเองก็จะเป็นเครื่องบังคับการกระทำ และการกระทำที่ไม่มีใครห้ามนั้น จะถือว่าเป็นการ กระทำที่ดีไม่ได้ ถ้าหากว่าเสรีภาพหมายถึงการกระทำตามกิเลสตัณหาโดยไม่มีใครห้ามแล้ว เสรีภาพเช่นนั้นก็คงจะ ก่อให้เกิดความยุ่งยากและความเสียหายแก่ชีวิตของตนและชีวิตของคนอื่นอยู่เสมอ