พื้นฐานของสังคมไทยที่สืบทอดกันมานับพันปีคือเกษตรกรรม โดยเฉพาะ “ข้าว” ปัจจุบันแม้ว่า “ข้าว” จะมิใช่สินค้าที่สร้างรายได้หลักของประเทศแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ถูกต้องที่จะละทิ้งสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว ไปหาสิ่งใหม่ที่เราขาดพื้นฐานต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์สูงในการพัฒนา เปรียบเทียบกับบทสอนใจในนิทานอีสปเรื่อง “หมากับเนื้อในเงา” เราไม่ควรทอดทิ้งเนื้อในปาก ไปคาบเงาในน้ำ แน่นอนว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ “ข้าว” มิได้หมายถึงปล่อยให้การผลิต การค้าขาย การผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าว ดำรงคงสภาพเดิมอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงปรับปรุง ปฏิรูป หรือกระทั่งต้องปฏิวัติ การพัฒนาเศรษฐกิจข้าว เกี่ยวพันไปถึงอีกหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่การพัฒนาที่ดิน ไปจนถึงเทคโนโลยีชีวภาพนะดับสูง แต่ชาวบ้านมักจะได้ฟังแต่เพียงเรื่อง รัฐจะให้ลดการทำนาข้าว หรือกระทั่งพูดกันแรง ๆ ว่า จะให้เลิกทำนากันเลยทีเดียว เรื่องแนวคิดลดการทำนานั้น แก่นของเรื่องอยู่ที่ “ความเหมาะสมของพื้นที่” ถ้าทำนาได้ผลไม่ดี ก็ควรปลูกข้าวแต่พอกิน แล้วใช้ที่ดินทำกสิกรรมแนวอื่นที่สร้างรายได้ดีกว่าข้าว ถ้าทำความเข้าใจกันได้ตรงไตรงมาอย่างนี้ ก็คงลดทอนปัญหาการทะเลาะกันได้ ส่วนการจะปรับปรุง “ตลาด” การค้าขายข้าวนั้น มีการศึกษากันไว้มาก แต่แก้ไขไม่ได้ เพราะทุนการเงินที่ไร้สัณชาติครอบงำตลาดสินค้าการเกษตรของโลก ตลาดสินค้าเกษตรทางสากลนั้นมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่สร้างกำไรให้ทุน มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การเคลื่อนไหวของราคาผลผลิตเกษตรในตลาดสากล เป็นไปตามกลไกของทุนนิยม ซึ่งตลาดทุนนิมไม่มีห้าที่จะต้อเมตตากรุณาต่อเกษตรกร ดังนั้น ความคาดหวังต่อการปฏิรูปการค้าขายข้าวในโลกนี้ จึงยังเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจข้าวทีรัฐและภาคเอกชนไทยควรให้ความสำคัญ พัฒนายุทธศาสตร์ด้านนี้อย่างจริงจังมากขึ้น นั่นตือต้องเร่งสร้างนวัตกรรมต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าว อย่ามัวแต่ขายเมล็ดข้าวกันอยู่แบบเดิม ๆ รวมทั้งช่วยส่งเสริมการบุกเบิกสร้างตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น ปัจจุบันนี้คนทั่วโลกมีโอกาสทางเลือกการการเลือกกิน เลือกสินค้ามากขึ้น คนเอเชียกินข้าว(ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว) น้อยลง กินอาหารที่ทำจากธัญพืชชนิดอื่น ๆ มากขึ้น มองด้านเดียวก็น่าเป็นห่วงตลาดข้าวไทย แต่เมื่อมองอีกด้านว่า คนในกลุ่มวัฒนธรรมอื่น เช่น ฝรั่งที่กินขนมปัง ก็สามารถจะกินข้าวสาลีน้อยลงได้เหมือนกัน ถ้ามีทางเลือก มีคนทำขนมปังจากข้าวจ้าวข้าวเหนียวได้ถูกปากถูกใจพวกเขา ตลาดการกินแป้งสาลีนี้ มีส่วนแบ่งอย่างน้อยที่สุด 1 % เพราะมีคนตะวันตก(ฝรั่ง)อย่างน้อย 1 % เป็นโรคแพ้แป้งสาลี คนจำนวนนี้มีหลายล้านคน จำเป้นต้องกินอาหารที่ทำจากธัญพืชชนิดอื่น การสร้างผลิตภัณฑ์ด้านต่าง ๆ จากวัตถุดิบ “ข้าวไทย” นั้น ปัจจุบันภาคเอกชนไทยก็พัฒนาสร้างสรรค์ไปไม่น้อย มีผลิตภัณฑ์หลายด้านที่ผลิตจากข้าว แต่งานที่ยังขาดอยู่คือการช่วยเอื้อโอกาส บุกเบิก สร้างตลาดสากล ไทยเราประสบความสำเร็จด้านธุรกิจการท่องเที่ยวได้ดีมาแล้ว ความสำเร็จด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ละตลาดสากลให้กับสินค้าที่ต่อยอดจากวัตถุดิบข้าว จึงไม่เกินความสามารถคนไทยแน่นอน