ก่อนจะประเมินผลงานด้านการปฏิรูปของ คสช. ก็ต้องทราบเรื่อง “วาระการปฏิรูป 37 วาระ” และ “6 วาระการพัฒนา” ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอฝากไว้ สปช.นั้นได้ทำงานอยู่พียงสิบเดือน (พ.ศ. 2557) แล้วเสนอเรื่องการปฏิรูปไว้ดังนี้ . วาระการปฏิรูป 37 วาระ ประกอบด้วย 1.การป้องกันทุจริต 2.การเข้าสู่อำนาจ/ระบบพรรคการเมือง 3.ปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น 4.การงบประมาณ 5.ประสิทธิภาพและคุณภาพการบริหารงานภาครัฐ 6.กิจการตำรวจ 7.การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 8.ระบบและโครงสร้างภาษี 9.ระบบงานรัฐวิสาหกิจ 10.ระบบพลังงาน 11.ปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน 12.การผูกขาดและการแข่งขันที่เป็นธรรม 13.การเงินฐานรากและสหกรณ์ออมทรัพย์ 14.ปฏิรูปภาคเกษตร 15.การสร้างสังคมผู้ประกอบการ 16.ระบบจัดการการศึกษา 17. ระบบการคลังด้านการศึกษา 18.ระบบการเรียนรู้ 19.การกีฬา 20.ระบบวิจัยเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมของประเทศ 21.ระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.)เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมของประเทศ 22.ระบบการสาธาณสุข 23.ระบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคใหม่ ๆ 24.ระบบการคลังด้านสุขภาพ 25.ระบบการบริหารจัดทรัพยากร 26.การจัดการภัยพิบัติตามธรรมชาติและโลกร้อน 27. การเตรียมการเพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์ "กรุงเทพฯ จม" 28.ระบบเพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง 29.สวัสดิการสังคม 30. สังคมสูงวัย 31.การคุ้มครองผุ้บริโภค 32.การกำกับดูแลสื่อ 33.สิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบ 34.การป้องกันการแทรกแซงสื่อ 35.ศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างคุณค่า 36.ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนาเพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม และ 37. ปฏิรูปการแรงงาน ส่วน 6 วาระ การพัฒนา ประกอบด้วย 1.ศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศ 2.การวิจัยนวัตกรรม 3.ระบบโลจิสติกส์ 4.การพัฒนาเศรษฐกิจ 5.กลไกในการพัฒนาที่ไม่ใช่ภาครัฐ 6.พัฒนาระบบทักษะใหม่และความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม.“ นอกจากนี้ สปช.ได้จัดทำเอกสารนำเสนอบทสังเคราะห์ "การปฏิรูปประเทศสู่อนาคต 2575" ซึ่งมีเป้าหมาย 5 ด้าน คือ 1) ให้เป็นการเมืองที่เปิดกว้าง ไม่ผูกขาด มีส่วนร่วม ผู้นำดีและเก่ง 2) รายได้ 480,000 คนต่อปี 3) เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการพัฒนาสุวรรณภูมิและอาเซียน 4) ผลสัมฤทธิ์เด็กไทยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและอยู่ใน Top 5 ของเอเชีย 5) พื้นที่ป่าเพิ่มเป็น 40% ระบบน้ำครอบคลุม 70% โดยมีจุดเน้นการปฏิรูปใน 4 ด้านหลัก คือ - การปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Reform) ซึ่งภาคการศึกษาจะต้องดำเนินการเพื่อตอบโจทย์การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ คือ - การปฏิรูปสังคม (Social Reform) ในส่วนของการศึกษาได้นำเสนอใน 2 ด้านที่สำคัญ คือ 1) ด้านการลดความเหลื่อมล้ำ ในคุณภาพและโอกาสทางการศึกษา - การปฏิรูปสาธารณะ (Public Sector Reform) โดยเสนอให้มีการศึกษาเป็นหนึ่งในสามกลไกการปฏิรูปที่สำคัญภาครัฐ นอกเหนือจากการปฏิรูปภาคเกษตร และกิจการพลังงานและไฟฟ้า - การปฏิรูปการเมือง (Political Reform) เพื่อนำประเทศไทยไปสู่แผนการปฏิรูปประเทศในปี 2575 คือ ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยจัดโครงสร้างระบบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อาทิ การกระจายอำนาจและการถ่ายโอนภารกิจ ระบบบูรณาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การเชื่อมโยงระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานภาครัฐ การปรับโครงสร้างและอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนปฏิรูปวิธีการเรียน การปรับปรุงโครงสร้างระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัย เป็นต้น การประชาสัมพันธ์ผลงานด้านการปฏิรูปของรัฐ ไม่ควรจะกล่าวแต่ภาพรวม ๆ อย่างนามธรรม แต่จะต้องลงรายละเอียดว่า การปฏิรุปในแต่ละวาระนั้น คืบหน้าไปอย่างไรบ้างแล้ว