ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] ภาวะการว่างงานของปี 62 คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น อันมีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ กรมโรงงานฯ กระทรวงอุตสาหกรรมได้แจกแจงว่าปี 2562 มีโรงงานอุตสาหกรรมปิดไปแล้วเกือบ 2 พันแห่ง แต่ยังโชคดีมีโรงงานขออนุญาตเปิดใหม่ปีละมากกว่า 2 พันแห่ง แต่อัตราการผลิตยังคงอยู่ประมาณ 65% ของกำลังการผลิตทั้งหมด แม้ว่าจะมีการเปิดโรงงานใหม่มีกากกว่าโรงงานที่ปิดกิจการก็ตาม แต่แรงงานคงไม่อาจทำแทนกันได้ทั้งหมด เพราะกว่าโรงงานใหม่จะเปิดกิจการได้คงใช้เวลาอีก 2-3 ปี ทำให้แรงงานที่ถูกปิดกิจการสะสมมาจนถึง 3.7 แสนคนในปี 2562 มีการศึกษาตั้งแต่ประถม มัธยม อาชีวะ และอุดมศึกษา มากที่สุด จากการให้ข่าวของ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ พอจะอนุมานได้ว่าตัวเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถึง 5 แสนคน โดยเฉพาะผู้จบปริญญาตรี 3.7 แสนคน บวกด้วยผู้ที่จะจบการศึกษาในเดือนมีนาคม 2563 อีก 3 แสนคน รวมเป็น 5 แสนกว่าคนนั้น กระทรวง อ.ว. ได้ขออนุมัติโครงการจากรัฐบาลให้ความเห็นชอบแล้วด้วยงบประมาณ 6.8 พันล้านบาท เพื่อบรรเทาภาวะการว่างงานอย่างน้อยได้ร้อยละ 10 รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบโครงการยุวชนสร้างชาติ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่ 1.บัณฑิตอาสา ใช้งบ 8พันล้านบาท จะจ้างบีณฑิตที่เพิ่งจบมาแล้วไม่มากกว่า 3 ปี จำนวน 5,000 คน ให้ไปช่วยพัฒนาชุมชน อยู่อาศัยและพักในชุมชนนั้นๆ โดยแบ่งเป็นชุมชนละ 8-10 คน แต่ละคนมีเงินเดือน 15,000 บาท จ้างคราวละ 1 ปี 12 เดือน เพื่อสร้างสมประสบการณ์ในการทำงานเริ่มจากเดือนธันวาคม 2562 เป็นต้นไป 2. อาสาประชารัฐ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท จ้างนักศึกษา 10,000 คน เป็นนักศึกษาปัจจุบันระหว่างเรียนปี 3-4 ได้รับเบี้ยเลี้ยง 5 พันบาท ไปช่วยชาวบ้านเป็นระยเวลา 1 ภาคการศึกษา โดยได้รับการโอนหน่วยกิตให้ด้วย 3. กองทุนยุววิสาหกิจ ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท ให้อาจารย์และนักศึกษาไปช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นการเริ่มต้น start up ของชาวบ้าน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑให้สามารถเข้าสู่การพาณิชย์ โครงการอาสาประชารัฐ จะเป็นโครงการนำร่องที่ จ.กฬสินธ์ โดยให้นักศึกษา 500 คน จัดเป็นกลุ่มๆละ 8-10 คน แบ่งงานกันไปช่วยแก้ปัญหาชาวบ้านในมิติต่างๆ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหาคุณภาพชีวิตของชุมชน โครงการที่กล่าวถึงนักศึกษาสามารถสมัครได้ทุกมหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้เป็นต้นไป ความคิดดีๆเช่นนี้ สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอาชีวศึกษา น่าจะจัดโครงการในลักษณะเช่นนี้ ใช้งบประมาณไม่มาก นักศึกษาจะได้ประสยการณ์จากการทำงานเป็นพื้นฐานไว้รองรับกับงานที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต น่าจะช่วยแก้ปัญหานักศึกษาตกงานได้บ้าง ซึ่งแนวคิดนี้เป็นวิธีคิดแก้ปัญหาระยะสั้น ก่อนที่มหาวิทยาลัยจะปรับตัวเองทั้งระบบเสียใหม่ให้สามารถปรับหลักสูตรร่วมกับภาคเอกชนให้เด็กที่จบใหม่สามารถออกไปทำงานได้ทันที ปรับปรุงอาจารย์ให้ re-skill, up-skill และ new-skill เสียใหม่ให้ทันโลก พร้อมกับจัดหลักสูตรเช่นเดียวกัน และโดยเฉพาะการปรับหลักสูตรระยะสั้นสร้างอาชีพในรูปแบบ non-degree และ MOOCs ให้เกิดขึ้น ถ้าทำได้เช่นนี้นักศึกษาน่าจะมีโอกาสได้งานทำมากขึ้น ตัวสถาบันก็จะอยู่ตลอดรอดฝั่งได้ อย่าลืมว่าสถาบันการศึกษามีหน้าที่สร้างคนไปสร้างชาติ หากอยู่กันแบบเดิมๆไม่ปรับตัวเอง สถาบันจะอยู่รอดได้อย่างไร เพราะเอาแต่สร้างคนไปเตะฝุ่นกันมากมาย