ผลประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญบ่งชี้ว่า พลเมืองไทยส่วนใหญ่ต้องการการพัฒนาประชาธิปไตยที่มั่นคง มีความพอใจแนวทางการดำเนินงานไปตามโรดแมปของ คสช.เมื่อมองดูประวัติของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทย จะว่ามีอายุมายาวนานก็นับว่านาน แต่ทว่าในช่วงแปดสิบกว่าปีที่ผ่านมานั้น การปกครองก็มิใช่จะดำเนินตามหลักประชาธิปไตยอยู่ตลอด ประเทศไทยมีการรัฐประหารเปลี่ยนการปกครองเป็นเผด็จการอยู่หลายครั้ง และที่สำคัญคือ ในทางการเมือง สังคมไทยมิได้เกิดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง “กระบวนทรรศน์” ของมหาชนให้เป็นแบบสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ในทางเศรษฐกิจ สังคมไทยมิได้เกิดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการกระจายโภคทรัพย์ให้เหลือคนยากจนเป็นสัดส่วนน้อย ให้มีคนชั้นกลางเป็นสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งจะสร้างความมั่นคงแข็งแรงให้กับสังคมประชาธิปไตย ประชาธิปไตยไทยจึงยังคงมีปัญหามากมาย ดังที่เราต้องเผชิญกับวิกฤติการเมืองยาวนานมาหลายปีแล้ว ในสมัยก่อน ศัตรูของประชาธิปไตยนั้น เห็นรูปธรรมได้ง่าย เป็นต้นว่า ลัทธิอำนาจนิยม – คณะทหารซึ่งมีกำลังอาวุธ เป็นกลุ่มการเมืองที่สามารถมีบทบาทการเมืองได้มากที่สุด และมีแนวคิดอำนาจนิยม คณะรทหารจึงมักทำการรับประหารยึดอำนาจ ปกครองประเทศแบบเผด็จการบ้าง คณาธิปไตยบ้าง เป็นระยะเวลานาน ลัทธิจักรวรรดินิยม - อภิมหาอำนาจตะวันตก เช่นสหรัฐอเมริกาสามารถแทรกแซง กระทั่งบงการรัฐบาลไทยบางช่วง โดยเฉพาะนโยบายด้านการต่างประเทศ และนโยบายด้านพัฒนาเศรษฐกิจ ความขัดแย้งในสังคมยุคก่อนก็มีความรุนแรง ไทยเราเคยเกิดการต่อสู้รุนแรงระหว่างกลุ่มทหาร ระหว่างรัฐกับชนส่วนน้อย กระทั่งมีสงครามกลางเมืองที่เรียกว่าสงครามปลดแอกประชาชนนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ฯลฯ รูปธรรมของความขัดแย้งหลักในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามสภาวะรูปธรรมของสังคม เมื่อสังคมโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยเกิดความแปรเปลี่ยนที่สลับซับซ้อนภาวะเศรษฐกิจสังคมถูกฉีกห่างกันอย่างรวดเร็ว ซีกหนึ่งมีการพัฒนาว่องไว ได้แก่ศูนย์กลางอำนาจของทุนนิยมความเปลี่ยนแปลงกระบวนทรรศน์ของชนชั้นนำ แต่อีกซีกหนึ่งยังเปลี่ยนแปลงช้ ได้แก่กระบวนทรรศน์ของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป สถาบันตามประเพณีนิยมต่าง ๆ เช่น สถาบันทางการเมือง กฎหมายต่าง ๆ ปรับตัวเปลี่ยนแปลงช้า ศูนย์กลางอำนาจทุนนิยมที่ปรับตัวเร็ว อาศัยความได้เปรียบต่าง ๆ เข้ายึดกุมการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรของชาติ โดยผ่านเครือข่ายการเมืองที่รวมศูนย์อำนาจไว้กับคณะบุคคลเล็ก ๆ และเครือข่ายที่อาศัยระบบอุมถัมป์พึ่งพาที่แปลงโฉมใหม่ให้ซับซ้อนขึ้น สิ่งเหล่านี้สร้างความขัดแย้งใหม่ ๆ ขึ้นในสังคม ปัญหาใหญ่ก็คือ คนไทยเรียกร้องต้องการประชาธิปไตย แต่จิตสำนึกกลับไม่เป็นประชาธิปไตย ดังที่มีปรากฏการณ์ความรุนแรงในหลาบปีมานี้ ปัญหาวิกฤติการเมืองหลายปีมานี้มีรากเหง้ามาจากปัญหาข้างต้น แต่เรื่องนี้สังคมไทยยังไม่ตระหนักรู้กันชัดแจ้งเมื่อยังไม่รู้คู่ขัดแย้งที่ถุกต้อง จึงยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆสร้างความสมดุลให้สังคมสงบสุขอย่างมั่นคง