แสงไทย เค้าภูไทย รายงานจาก ป.ป.ช.เมื่อสิ้นปี 2561 พบว่า มีนายพลทั้ง 3 กองทัพมีทรัพย์สินหลังหักหนี้สินแล้วรวมกัน 9.2 พันล้านบาท โดยกองทัพบกรวยที่สุด สร้างความฉงนแก่คนไทยอาชีพอื่นๆว่า นายพลเหล่านี้ทำมาหากินอะไรถึงได้รวยล้นฟ้าขนาดนี้ สมัยหนึ่งมีคำพูดว่า “เป็นเมียทหารนั่งนับขวด เป็นเมียตำรวจ”นั่งนับแบงก์ เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปแล้ว นิยามเดิมนั้นใช้ได้กับระดับล่างๆ แต่ระดับสัญญาบัตรขึ้นไปจนถึงนายพล พากันรวยไม่เหลียวหลัง โดยเฉพาะระดับนายพล ยุคคสช.ครองเมือง ส่วนข้าราชการพลเรือนก็ไม่น้อยหน้า จากที่เคยมีคำพูดว่า “เป็นข้าราชการจนๆคนหนึ่ง”ยุคนี้มีส่วนแบ่งในการคอรัปขั่นในวงราชการกว่า 19% รวยจนเข้าคุกไปกันบ่อยๆ การที่พูดกันว่า เป็นเมียทหารนั่งนับขวดนั้น หมายถึงนับขวดเหล้า ขวดเบียร์ ขวดโซดา เหตุจากทหารไม่มีรายได้อะไรนอกเหนือจากเงินเดือน ว่างลงก็กินแต่เหล้าเบียร์ ส่วนเมียตำรวจนั่งนับแบงก์นั้น เหตุจากตำรวจมีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนหลายทาง แต่วันนี้ งานเหล่านั้น ทหารระดับล่างมีเอี่ยวไม่น้อย ขณะที่ระดับกรม มีขุมทรัพย์มูลค่าตั้งแต่ล้านๆไปจนถึงหมื่นๆล้านบาท อย่างรายได้พิเศษที่ไม่ต้องส่งเข้าคลัง เช่นคลื่นวิทยุ เอเอ็ม เอ็ฟเอ็ม โทรทัศน์ช่อง5 คลื่นความถี่ของททบ.ช่อง 5 และช่อง7 สถานีวิทยุโทศทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ที่สัมปทานคลื่นความถี่ให้สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 รวมถึงสถานีวิทยุ 245 แห่ง จากทั้งหมด 524 แห่ง สนามม้า สนามมวย ปั๊มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อที่อยู่ในพื้นที่ทหารและอีกหลายธุรกิจ กิจการ ปีละหลายแสนล้านบาท ทั้งนี้ไม่รวมงบลับ ขุมทรัพย์ทหารระดับนายพลมีอยู่หลายด้าน ช่วงคสช.ยึดอำนาจใหม่มีจำนวนนายพล 1,092 คน ปีนี้ 935 คน เมื่อมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ปปช.รายงานว่า มีนายพลทั้งที่เกษียณแล้วและยังมีอายุราชการอยู่ ทั้งสิ้น 143 คนเข้าไปเป็นสมาชิก มีทรัพย์สิน เฉลี่ยคนละ 78 ล้านบาท โดยคนที่มีทรัพย์สินมากที่สุด มีถึง 885 ล้านบาท อีกขุมทรัพย์หนึ่งคือรัฐวิสาหกิจ ในยุคคสช.นับแต่ปี 2558 เป็นต้นมา มีทหารนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นจาก 42 คนใน24 แห่ง เป็น 80 คน ใน40 แห่ง ผลตอบแทนทหารที่นั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เบี้ยประชุม โบนัส ต่อปี ตั้งแต่ 0.27 ล้านบาท(การไฟฟ้านครหลวง) ถึง 4.08 ล้านบาท(ปตท.) แต่รายได้ทั้งจากรับเงินเดือนในตำแหน่งทหารกับรายได้พิเศษเหล่านี้ ทำไมถึงมากกว่าตัวเลขทางการนัก ? รายงานประจำปี 2558 ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แสดงบัญชีทรัพย์สินของสมาชิก สนช.ที่ติดยศนายพล เรียงลำดับตามเหล่าทัพ บก-เรือ-อากาศ มีรายได้ต่อปีประมาณ 1.92 ล้านบาท 1.95 ล้านบาท 2.09 ล้านบาท แต่เมื่อดูสินทรัพย์รวมทั้งหมดของนายพล เรียงลำดับตามเหล่าทัพ บก- เรือ-อากาศ หลังหักหนี้สินแล้ว พบว่านายพลกองทัพบกเป็นแชมป์ มีรวมกันราว 5.8 พันล้านบาท ทัพเรือ2.2 พันล้านบาท และทพอากาศ 1.2 พันล้านบาท ไม่น่าแปลกใจที่ดัชนีคอรัปชั่นของไทย โดยเฉพาะในวงราชการมีระดับสูงขึ้นทุกปีๆจนสูงสุดในรอบ 3 ปี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทำการสำรวจดัชนีคอรัปชั่น พบว่า ปี 2560 -2561 อันเป็นช่วงคสช.กุมอำนาจบริหารประเทศเบ็ดเสร็จ ดัชนีคอรัปชั่นพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปีนับแต่ยึดอำนาจเมื่อปี 2557 โดยปี 2560 พบว่า ความรุนแรงของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในยุครัฐบาล คสช. เพิ่มขึ้นถึง 37% สูงสุดในรอบ 3 ปี และคาดว่าสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชันในปี 2561 จะเพิ่มขึ้นเป็น 48% ส่วนปี 2562 ที่กำลังจะสิ้นไปนี้ ตัวเลขคงจะออกมาในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สาเหตุการทุจริตคอร์รัปชันที่เพิ่มขึ้นมากมาย จนทำสถิติใหม่ในรอบ 3 ปี ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีเปิดเผยว่า ส่วนใหญ่มาจาก กฎหมายที่เปิดโอกาสให้สามารถใช้ดุลพินิจเอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชันถึง 18.8% รองมาเป็นเรื่องของ กระบวนการทางการเมืองที่ขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ยาก 15.6% และ ความไม่เข้มงวดของการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบ 14.7% รูปแบบคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น การให้สินบน ของกำนัล รางวัลต่างๆ 19.6% รองมาเป็น การใช้ตำแหน่งทางการเมืองเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง 16.2% การทุจริตเชิงนโยบาย 13.8% การทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 12.2% การจ่ายเงินเพื่อให้ได้ประโยชน์ภายหลัง 9.0% การทุจริตเชิงนโยบายมีอยู่ทั่วระบบราชการ ซึ่งการบริหารประเทศไทยทุกวันนี้ ยังคงใช้รูปแบบรัฐราชการสืบทอดมาจากรัฐบาคสช. ทำให้การทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น ตราบเท่าที่ยังสืบทอดอำนาจกันต่อไปไม่สิ้นสุด