โลกาภิวัตน์ดูเหมือนว่าจะสร้างความสากล ทำให้โลกไร้พรมแดน แต่นั่นเป้นเพียงเป้าหมายด้านเดียวของโลกาภิวัตนื เป็นเป้าหมายด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และที่มองว่าเป็น “สากล” นั้นที่แท้ก็คือ การถูกวัฒนธรรมแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมสูงสุดในโลก “ครอบงำ” อย่างสิ้นเชิงนั่นเอง ผลบั้นปลาย ดลกก็ยังตกอยู่ภาใต้อิทธิพลของอำนาจเศรษฐกิจและอำนาจวัฒนธรรมของชนกลุ่มเดิมเหมือนยุคล่าอาณานิคมนั่นเอง และที่ผู้คนมักมองข้ามคือ ในระหว่างเกิดกระบวนการเปลียนเป็นโลกาภิวัตน์นั้น จะเกิดกระแสชาตินิยม - ท้องถิ่นนิยม ที่รุนแรงขึ้น...อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปรากฏการณ์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นตัวอย่างให้เห็น เมื่อปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ก้าวย่างเข้ามาใหม่ ๆ นั้น นักคิดนักเขียนหลายคนเสนอแนวคิดว่า มันจะสร้างโลกใหม่ที่จะละลายลัทธิชาตินิยม และความขัดแย้งระหว่างประเทสมหาอำนาจลงได้ แต่ในความเป็นจริง โลกาภิวัตน์ขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาจากลัทธิชาตินิยมอยู่ทั่วโลก ดินแดนเล็กดินแดนน้อย ชาติเผ่าพันธุ์ มากมายตื่นตัวเรียกร้อง และบางจุดก็ทำสงครามแบ่งแยกดินแดนไปแล้ว ส่วนกระแสศาสนานิยมเรากเห็นปัญหามากมายในตะวันออกกลาง อันที่จริงแล้ววาทกรรมชาตินิยมเป็นพลังแท้จริงที่ขับดันการเติบโตของทุนนิยมในรอบสองร้อยปีมานี้ และแนวคิดชาตินิยมก็ยังรุนแรงชัดแจ้งอยู่ในหลายประเทศ เช่น จีนและอินเดียในขณะนี้ ความเป็นท้องถิ่นนิยม (Localism) กระแสโลกาภิวัตน์ สร้างความรู้สึกชาตินิยมระดับท้องถิ่น เติบโตแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม รัฐชาติแตกย่อยสลายตามชาติพันธุ์และลักษณะเฉพาะ เชื้อชาติที่มีรากฐานที่เล็กกว่าชาติ กลายเป็นกลุ่มลัทธิชาตินิยมใหม่ (Neo-Nationalism) ซึ่งได้ก่อตัวเป็นรัฐชาติที่มีรากฐานแห่งความเป็นชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่แน่นแฟ้นกลมกลืนกันยิ่งขึ้น ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติเหล่านี้มักเชื่อมโยงกับความสำคัญของท้องถิ่น เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกยุคข่าวสาร ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นรับรู้ข้อมูลอย่างรวดเร็วได้จากสื่อมวลชน เป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่น ให้รู้จักรักษาและหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตนเพิ่มมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลทำให้ทราบผลดีผลเสียที่รัฐบาลกลางดำเนินการ ยุคโลกาวิวัตน์จึงเป็นยุคแห่งการตรวจสอบ รัฐบาลกลางที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติซึ่งตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่น จึงมักถูกต่อต้านอย่างรุนแรง ถ้าหากเป็นเชื้อชาติเดียวกัน รัฐบาลที่ไม่คำนึงถึงความเดือนร้อนของประชาชนในท้องถิ่นก็ย่อมถูกต้านอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน จอห์น เกรย์ John Grey เขียนไว้หลายปีแล้วว่า “กระแสชาตินิยมในอเมริกาอาจกำลังเบรกโลกาภิวัตน์ ในทางกลับกัน กระแสชาตินิยมเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนโลกาภิวัตน์ในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย กระแสชาตินิยมที่รุนแรงกว่าเดิม และความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐชาตินั้น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโลกาภิวัตน์” (บทความเรื่อง The world is round ของ John Grey) และความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่นที่ต่างทางเชื้อชาติ ต่างทางวัฒนธรรม ก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ด้วย รัฐบาลไทยยุค 4.0 สำนึกรู้ว่าต้อง ยุคโลกาวิวัตน์เป็นยุคแห่งการตรวจสอบ รัฐบาลกลางที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติซึ่งตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่น มักถูกต่อต้าน