รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในไทย ที่มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น ในวันที่ 6 เมษายน 2563 และ 7 เมษายน 2563 วันละ 51 ราย และ 38 ราย ตามลำดับนั้น ก็น่าจะทำให้ คนไทยทั้งประเทศรู้สึก “ใจชื้น” ขึ้นบ้าง ซึ่งแม้สถานการณ์จะดีขึ้น แต่ก็ไม่อยากให้ “คนไทย” ชะล่าใจ เพราะการต่อสู้กับ “ไวรัสโควิด-19” น่าจะกินเวลายาวนานไม่น้อยทีเดียว อย่างไรก็ตาม หากจะวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์การระบาดของไทย ดูเหมือนจะมีทิศทาง ที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ก็คงจะต้องยกความดีความชอบให้แก่ใครไม่ได้ นอกจาก “คนไทยทุกคน” นั่นเอง ภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมที่ทำให้กล้าพูดได้เต็มปากว่า สถานการณ์ที่มีแนวโน้มดีขึ้นนั้น เกิดจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยทุก ก็คือ ผลการสำรวจความคิดเห็นของ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในประเด็น พฤติกรรมของ “คนไทย” ในภาวะวิกฤติ โควิด-19 ซึ่งสำรวจ จากประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 3,183 คน (สำรวจทางออนไลน์) สรุปผลได้ ดังนี้ พฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลง ในระดับ “มากขึ้น” ประกอบด้วย อยู่กับบ้าน โดยมี “ประชาชน” อยู่บ้านมากขึ้น ร้อยละ 89.60 รองลงมา ได้แก่ เหมือนเดิม ร้อยละ 9.36 น้อยลง ร้อยละ 0.47 และไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 0.57 การดูแลสุขภาพ โดยมี “ประชาชน” ดูแลสุขภาพมากขึ้น ร้อยละ 85.30 รองลงมา ได้แก่ เหมือนเดิม ร้อยละ 13.29 น้อยลง ร้อยละ 1.13 และไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 0.28 การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยมี “ประชาชน” เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ มากขึ้น ร้อยละ 62.77 รองลงมา ได้แก่ เหมือนเดิม ร้อยละ 35.00 น้อยลง ร้อยละ 1.88 และไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 0.35 การทำงานที่บ้าน โดยมี “ประชาชน” ทำงานที่บ้าน มากขึ้น ร้อยละ 60.07 รองลงมา ได้แก่ เหมือนเดิม ร้อยละ 22.78 น้อยลง ร้อยละ 4.18 และไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 11.62 การใช้โทรศัพท์(คุย/เล่นโซเชียล) โดยมี “ประชาชน” ใช้โทรศัพท์(คุย/เล่นโซเชียล) มากขึ้น ร้อยละ 59.16 รองลงมา ได้แก่ เหมือนเดิม ร้อยละ 35.94 น้อยลง ร้อยละ 4.24 และไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 0.66 ส่วนพฤติกรรมของคนไทยที่ยัง “เหมือนเดิม” ประกอบด้วย การรับประทานยา โดยมี “ประชาชน” รับประทานยา เหมือนเดิม ร้อยละ 47.97 รองลงมา ได้แก่ ไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 27.96 น้อยลง ร้อยละ 13.23 และมากขึ้น ร้อยละ 10.84 การออกกำลังกาย โดยมี “ประชาชน” ออกกำลังกาย เหมือนเดิม ร้อยละ 47.44 รองลงมา ได้แก่ มากขึ้น ร้อยละ 26.30 น้อยละ 16.27 และไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 9.99 การเล่นเกมส์/เล่นคอมพิวเตอร์ โดยมี “ประชาชน” การเล่นเกมส์/เล่นคอมพิวเตอร์ เหมือนเดิม ร้อยละ 35.88 รองลงมา ได้แก่ มากขึ้น ร้อยละ 31.61 ไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 18.41 และน้อยลง ร้อยละ 14.10 ขณะที่พฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงในระดับ “น้อยลง” ประกอบด้วย การทำงานที่ออฟฟิศ โดยมี “ประชาชน” ทำงานที่ออฟฟิศ น้อยลง ร้อยละ 42.26 รองลงมา ได้แก่ ไม่ได้ทำเลย ร้อยละ 33.30 เหมือนเดิม ร้อยละ 20.83 และมากขึ้น ร้อยละ 3.61 นอกจากนั้นพฤติกรรมที่ “ไม่ได้ทำ”ในช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด-19 ประกอบด้วยการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง โดยมี “ประชาชน” ไม่ได้ไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ร้อยละ 56.46 รองลงมา ได้แก่ น้อยลง ร้อยละ 42.73 มากขึ้น ร้อยละ 1.48 และเหมือนเดิม ร้อยละ 1.41 การเที่ยวนอกบ้าน โดยมี “ประชาชน” ไม่ได้ไปเที่ยวนอกบ้าน ร้อยละ 54.38 รองลงมา ได้แก่ น้อยลง ร้อยละ 40.31 มากขึ้น ร้อยละ 2.45 และเหมือนเดิม ร้อยละ 0.75 ประชาชนพึงพอใจในภาพรวมต่อการดำเนินงานของรัฐบาล กรณี โควิด-19 ณ วันนี้ มากน้อยเพียงใด? พบว่า “คำตอบ” ที่ “ประชาชน” ตอบมากที่สุด ร้อยละ 36.73 คือ ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ได้แก่ ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 34.02 ไม่พอใจเลย ร้อยละ 19.10 และพอใจมาก ร้อยละ 10.15 ประชาชนมีความมั่นใจต่อการบริหารจัดการของรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาด โควิด-19 มากน้อยเพียงใด? พบว่า “คำตอบ” ที่ “ประชาชน” ตอบมากที่สุด ร้อยละ 40.18 คือ ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ได้แก่ ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 29.72 ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 22.34 และมั่นใจมาก ร้อยละ 7.76 นี่คือ ผลการสำรวจความคิดเห็นที่สะท้อนว่า ขณะนี้คนไทย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อร่วมแรงร่วมใจต่อสู้กับไวรัสโควิด – 19 ค่อนข้างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการจะก้าวผ่านวิกฤติปัญหานี้ไปให้ได้นั้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จะปรับแค่เป็นครั้งคราวไม่ได้เด็ดขาด... สุดท้าย คงต้องขอชื่นชม “คนไทย” ทุกคนจากใจจริงที่ยอมปรับพฤติกรรม เพื่อประเทศชาติ...หาก “คนไทย” ร่วมแรงร่วมใจกันเช่นนี้...เชื่อว่า “ประเทศไทย จะฝ่าฟันวิกฤติ โควิด-19” ได้แน่นอน...!!