ความพยายามสร้างระบบเศรษฐกิจลัทธิสหกรณ์มีมาตั้งนานแล้ว การสหกรณ์ในประเทศไทย ได้นำมาริเริ่มใช้โดย พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ [พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (น.ม.ส.) ต้นตระกูลรัชนี] ทรงเป็นผู้วางรากฐานเมื่อครั้งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดี กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2458 ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของชาวนา ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ประกอบอาชีพในด้านการเกษตร (ปลูกข้าว พืช ผัก และผลไม้) แต่ทำไมยังคงมีหนี้สินอยู่มาก จึงทรงหาทางช่วยเหลือชาวนาให้พ้นอุปสรรคความเดือดร้อนดังกล่าว ด้วยวิธีการต่างๆ จนสรุปได้ว่านำวิธีการจัดตั้งสหกรณ์ มาใช้จะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ชาวนา และเห็นว่าเป็นวิธีการที่ดีกว่าวิธีอื่นๆ จึงได้ตั้ง“แผนกสหกรณ์” ขึ้นมาอีกแผนกหนึ่งในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงเป็นประธานในการคัดเลือกวิธีการสหกรณ์จากต่างประเทศ และนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม แต่สหกรณ์มีปัญหามาตลอด ส่งหนึ่งทำได้ดีเจริญรุ่งเรือง แต่ส่วนที่มากกว่าไม่เจริญและส่วนหนึ่งล้มเหลวไปเลย ปัญหาสำคัญข้อหนึ่งคือ ถ้าสหกรณ์มิได้เกิดจากความตื่นตัวของประชาชนจริง ประชาชนที่เป็นสมาชิกไม่เข้มแข็งจริง สหกรณ์จะไปไม่รอด ข่าวอื้อฉาวที่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้คนจำนวนมากคือ การฉ้อโกงในสหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่ง ที่โด่งดังคือสหกรณ์ออมทรัพย์คลองจั่น สหกรณ์ออมทรัพย์ครูหลายแห่งที่อ้างว่สเอาเงินไปลงทุนซื้อสิทธิ์การขสยล็อตเตอรี่ แต่สหกรณ์ที่มีการฉ้อดกงนั้น มิใช่แค่สหกรณืออมทรัพย์ สหกรณ์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ก็ล้วนทีข้อเคลือบแคลงในเรื่องความโปร่งใส หลายคนอาจจะสรุปว่าเป็นความล้มเหล้วของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ไม่อาจจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้ แต่เมื่อคิดให้ลึกแล้ว ต้นตอน่าจะมาจากคุณภาพของคนไทยยังไม่พร้อมจะบริหารระบบสหกรณ์มากกว่าหลักการของสหกรณ์นั้นดีมาก นั่นคิอ “การช่วยเหลือตนเอง และช่วยซึ่งกันและกัน” เป้าหมายคืความอยู่ดี กินดี ของสมาชิกสหกรณ์ หลักสหกรณ์ ที่กำหนดขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2538 ณ นครแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม หลักการสหกรณ์ใหม่อีกครั้งจากเดิมกำหนดไว้ 6 ประการ โดยมีเป้าหมายให้หลักการสหกรณ์มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคม จึงได้ประกาศให้สหกรณ์ทุกประเทศ ถือใช้โดยทั่วกัน คือ หลักการสหกรณ์ 7 ประการ ซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้ 1. การเปิดรับสมาชิก โดยทั่วไปตามความสมัครใจ 2. การควบคุมโดยสมาชิกตามแนวทางประชาธิปไตย 3. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก 4. การมีการปกครองตนเอง และมีอิสระ 5. การให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร 6. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ 7. ความห่วงใยต่อชุมชน ขณะนี้มีสหกรณ์ใดปฏิบัติตามหลักการเจ้ดข้อนี้ได้ดีบ้าง ? คำสรุปในใจของเกือบทุกคนคือ สหกรณ์ล้มเหลว เพราะ ผู้บริหารขาดธรรมมาภิบาล สมาชิกไม่ได้เอาใจใส่. หน่วยงานควบคุมหละหลวม รัฐบาลจึงคิดรุปแบบใหม่เรียกว่า “ประชารัฐ” ซึ่งน่าเป็นห่วงมากว่า ระชารัฐ” ก้อาจจะซ้ำรอย “สหกรณ์” อีก