ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 หวังจะข้ามพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง พัฒนาประเทสไทยให้เป้นประเทศรายได้สูงกับเขาบ้าง โดยหวังว่าอุตสาหกรรมยุค 4.0 และระบบการเงืนในโลกไซเบอร์จะช่วยได้ แต่เมื่อย้อนพิจารณาสภาวะเป็นจริงของเศรษฐกิจสังคมไทย และความเหลื่อมล้ำในทุกด้านของคนไทยแล้ว ก็น่าห่วงกังวล เพราะในอดีตนั้น ผู้ควบคุมอำนาจรัฐเคยมียุทธศาสตร์เลียนแบบการพัฒนาของต่างชาติ อย่างไม่สอดคล้องกับภาวะความเป้นจริงของสังคมไทย และล้มเหลวมาแล้ว เพื่อนบ้านในเอเชีย เขาเป็น “เสือ” กันหลายประเทศ ผู้นำไทยก็เลยคิดจะเป็น “เสือตัวที่ห้า” กับเขาบ้าง ทำไปทำมาต้องป่วยด้วยโรคต้มยำกุ้ง...แทบตาย มาตอนนี้ก็จะพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก้าวกระโดดเป็นอุตสาหกรรมยุค 4.0 แต่ประเทศยังจมปลักติด “กับดักผักตบชวา” “กับดักขยะ” สู้รบไม่ชนะ แม้จะตั้งปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติมาสามปีแล้วก็ตาม ดูตัวอย่างขยะในคลองลาดพร้าวขณะนี้ก็แล้วกัน อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำมีแล้ว แต่ขยะมหาศาลอุดตัน มันก็ต้อง “รอระบาย” ไปช้า ๆ ผักตบชวาตักขึ้นทิ้งบนบกแล้ว มันก็งอกในน้ำใหม่ เดี๋ยวมันก็เต็มคลองเต็มแม่น้ำอีก ปัญหาสังคมส่วนใหญ่ต้องแก้ไขที่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของมวลชน แต่รัฐบาลไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาไม่เคยทำ ,ทำไม่สำเร็จ , ไม่กล้าทำ ฯ มันต้องปลุกระดมและจัดตั้งมวลชน สร้างความร่วมมือร่วมใจ รับอำนวยความสะดวกให้มวลชน “ทำได้” ตัวอย่างเร็ว ๆ นี้ ก็เช่น เรื่องที่มวลชนอินเดียร่วมพลังกันกำจัดขจัดขยะจำนวน 5.3 ล้านกิโลกรัม ออกจากชายหาด Versova ได้สำเร็จ ทำให้ชายหาดนั้นหลับมาเป็นชายหาดที่งดงามได้ หรือเรื่องที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยเหมาเจ๋อตงบริหาร สามารถขจัดโรค “พยาธิในเลือด” ได้สำเร็จ โรคร้ายนี้ระบาดมายาวนานหลายร้อยปี ทำให้คนจีนภาคใต้ป่วยตายนับล้านคน พรรคคอมมิวนิสต์จีนหลถกระดมใช้พลังมหาชนปราบได้สำเร็จหลังจากยึดอำนาจการปกครองได้ไม่กี่ปี มองเมืองไทยแล้ว ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพของคน ก็ไม่มีหวังจะแก้ไขปัญหาขยะล้นเมือง ผักพบชวาล้นแม่น้ำลำคลองได้ จึงคงทนฝืนใจอดทนอยู่ในกับดักนี้ต่อไป... ก็บ้านเมืองไม่ใช่ของเราคนเดียว “ปัดสวะ” ไปก่อนดีกว่า