ทองแถม นาถจำนง ปัญหาเกี่ยวกับพระสงฆ์บางส่วน และการบริหารจัดการเงินขงวัดบางวัด กำลัง้ป็นที่วิพากย์วิจารณืกันมาก จนบางคนอาจใช้คำว่า “วิกฤติ” และบางคนในโซเชียลมีเดียเขียนแสดงความคิดเห็นกันอย่าง “ชุ่ย ๆ “ ขาดความรู้พื้นฐาน ขาดความรู้เรื่องพัฒนาการการปกครองคณะสงฆ์ สัปดาห์นี้ข้าพเจ้าจึงขออนุญาต นำทัศนะของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เกี่ยวกับวกฤติศาสนาพุทธแท้จริง ที่ควรเป็นห่วงมากกว่ากระแสวิจารณ์ในโซเชียลมีเดียขณะนี้ รวบรวมมาจาก ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “วิกฤติในพระพุทธศาสนา” โดย พล.ต. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเนื่องในงานครบรอบห้าปี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ ณ วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2432 ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,, “ขอกราบนมัสการหลวงพ่อปัญญานันทะ พระเดชพระคุณทั้งหลาย และพระภิกุทั้งหลาย ตลอดถึงผู้มีเกียรติทั้งหลาย หัวข้อที่จะมาพูดกันวันนี้ คือเรื่อง วิกฤติในพระพุทธศาสนา สมัยนี้ดูเหมือนเขาจะไม่ใช้วิกฤตการณ์กันแล้ว เขาใช้วิกฤติเฉยๆ แล้วก็เวลากระผมอาละวาดอะไรขึ้นมา ไปว่าให้ใครเขาไม่ถูกใจ กระผมก็ปลื้มใจ ว่าตัวเองเป็นปราชญ์วิกฤติมาจนบัดนี้ ความหมายของวิกฤติความจริง คำว่า วิกฤติ นั้นมาจากภาษาฝรั่งว่า crisis ในทางวิทยาศาสตร์นั้น ไม่ใช่ของเสียหายอะไรหรอก เราเอามาใช้ในทางโลก ฟังดูแล้วมันก็ตื่นเต้นดีแต่ความจริงแล้ว วิกฤตินั้นมันเกิดได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างเอาน้ำตาลเคี่ยวไฟจนถึงที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า น้ำตาลมันกลับตัวนั่นแหละนั่นแหละคือวิกฤติของน้ำตาลแล้วมันก็กลับตัว ต้องรีบ จะฉาบ จะแช่อิ่ม จะทำอะไรต้องรีบเอาลงเสียตอนนั้น ตอนที่มันวิกฤติ เสร็จแล้วมันก็กลับคืนตัว มันก็หมดวิกฤติอันนี้ก็เป็นลักษณะความหมายของคำว่า วิกฤติสถานภาพของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ทีนี้เรื่องวิกฤติของพระพุทธศาสนานั้น ก่อนที่จะพูดอะไรต่อไป กระผมใคร่ขอเตือนความจำของท่านทั้งหลายที่อยู่ในที่นี้เสียก่อนว่า พระพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นไม่เหมือนกับพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น คือว่า พระพุทธศาสนาในเมืองไทยสถาบัน มีผู้ที่มีตำแหน่งปกครองชั้นสูงสุด แล้วเรียงกันลงมาตามลำดับ จนถึงระดับตำบล ไปจนถึงหมู่บ้าน เรียกได้ว่าเป็นผู้ปกครองสงฆ์ ปกครองพระศาสนาอยู่ ที่เรียกว่า สถาบัน ในที่นี้ มันตรงกับคำที่ฝรั่งเขาเรียกกันว่า Church ศาสนาคริสต์เท่านั้นที่เขามี Church ที่เขาเรียกว่าคริสตจักร ของเราก็ควรจะเรียกได้ว่าเป็นพุทธจักร แต่ผมว่ามันไม่ค่อยสะดวกใจ เพราะเราไม่เคยเอาอย่างภาษาของใคร มีแต่คนอื่นเขามาเอาอย่างภาษาของเรา จะเรียกว่าอะไรก็สุดแล้วแต่ ชั่วแต่ว่า พระพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นองค์กร เป็นสถาบัน มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขปกครองตามลำดับชั้นลงมา ถึงสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ต่างๆกัน ไม่ใช่สักแต่ว่า วัดใดวัดหนึ่งก็เป็นเอกราช ปกครองกันเอาตามใจสมภาร ตามใจเจ้าอาวาส อย่างที่เคยเห็นมาในศาสนาอื่นๆในประเทศอื่นๆในศาสนาพุทธนี้ อย่างที่ลังกาก็ดี ที่ไหนก็ดี รู้สึกมันหลวมย่อหย่อนอยู่มากในการปกครอง ของเรารู้สึกว่ามีระเบียบวินัยแข็งกว่า วิกฤติในอดีตและปัจจุบัน เมื่อจะพูดถึงวิกฤติในศาสนาพุทธ กระผมก็อยากจะขอเรียนว่า ความจริงศาสนาพุทธในเมืองไทยนี้ได้ประสบวิกฤตการณ์มาหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่ก็สามารถลุล่วงก้าวข้ามวิกฤตินั้นมาตนกระทั่งกลายเป็นปึกเป็นแผ่น เป็นที่นับถือของเราทั้งปวงได้จนทุกวันนี้ ไม่มีอะไรเสียหาย ก่อนนั้นกระผมไม่ทราบ แต่เท่าที่กระผมทราบนั้น วิกฤติอันแรกใหญ่ที่สุดแทบจะตั้งตัวไม่ติด คือเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พระศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างยิ่ง วัดวาอารามสูญเสีย ตำรับตำราสูญหายไปหมด พระเจ้าพระสงฆ์ก็ต้องกระจัดกระจายหนีภัยสงคราม ไปอยู่ตามป่าตามดง จนในที่สุด เมื่อตั้งกรุงธนบุรีจึงได้สามารถรวบรวมกันเข้ามาอยู่ที่พระนครธนบุรี พอจะรวบรวมกันได้ ว่าเป็นสงฆ์ เป็นศาสนา หรือเป็นสถาบันขึ้นมา เกิดวิกฤติอีก พระเจ้าแผ่นดินสำเร็จโสดาบันปัตติผลเรื่องโสดาปัตติผลนี่มันแปลกครับ ใครอย่าไปสำเร็จเข้า สำเร็จทีไรเกิดวิกฤติทุกที พระเจ้าแผ่นดินสำเร็จมาองค์หนึ่งแล้ว วิกฤติใหญ่โต เร็วๆนี้สำเร็จอีกองค์หนึ่ง กระผมชักเกรง ๆ อยู่ กลัวใครจะสำเร็จขึ้นมาอีก มันก็เป็นวิกฤติอยู่สมัยนั้น แทบจะตั้งตัวไม่ติดอีกเหมือนกัน เอาพระไปเฆี่ยนหลัง พระต้องเข้าเฝ้าอีก หมอบคลานอย่างกะขุนนาง เหล่านี้มันก็เป็นเรื่องที่น่าอนาถใจและเป็นวิกฤติแต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็แก้ของท่านมาได้จนในที่สุดก็มาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ปรับปรุงระเบียบวินัยต่างๆในระหว่างนั้น มาตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ กระผมก็ยังไม่ทราบเหตุที่แท้จริง แต่เข้าใจว่า คงจะเนื่องมาจากเหตุระส่ำระสายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ทำให้การปกครองพระสงฆ์สมัยนั้นบกพร่อง คือพระไม่สามารถปกครองพระได้ พระผู้ใหญ่ไม่สามารถจะปกครองพระผู้น้อยได้ และในการปกครองแผ่กว้างไปทั่วประเทศนั้น ยังไม่มีใครทำได้ ทางราชการสมัยรัชกาลที่ 1 จึงต้องเข้ามาแทรกแซง ให้ราชการนั้นเองปกครองพระ เพราะมีอำนาจมากกว่าพระด้วยกัน ทางราชการมีคุก มีตะราง มีหวาย มีดาบลงโทษคนได้ ถ้าพระไม่ฟังก็เล่นเอาพระเข้าเหมือนกัน มีกรมหนึ่งที่ปกครองสงฆ์โดยทั่วไป เรียกว่า กรมสังฆการี ข้าราชการในกรมสังฆการีนั้นดูราชทินนามก็จะเห็นว่า เขามีหน้าที่ปกครองสงฆ์ ไม่ใช่สงฆ์ปกครองกันเอง ราชทินนามของข้าราชการในคณะสังฆการีบางท่าน ก็เช่น ขุนอธิกรณ์วิจัย หลวงวินัยวิจารณ์ เหล่านี้เป็นเรื่องบอกลักษณะว่า เขาปกครองสงฆ์ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะถือว่าเดือดร้อนก็เดือดร้อน แต่จะหาว่าเป็นความผิดของใครก็ไม่ได้ เพราะสมัยนั้นบ้านแตกเมืองแตก พระสงฆ์ท่านก็ยังรวบรวมกันไม่ติด ก็ปกครองกันอย่างนั้นเรื่อยมา เกิดความเรียบร้อยขึ้นได้แต่ในทางสงฆ์นั้นเองก็มีตำแหน่งต่างๆ ซึ่งเป็นตำแหน่งปกครอง สมัยนั้นทางโลกปกครองกันโดยแบ่งประเทศไทยออกเป็น 2 ส่วน มหาดไทยปกครองภาคเหนือ กลาโหมปกครองภาคใต้ เป็นอัครมหาเสนาบดี 2 คน ทางสงฆ์นั้นเองก็อนุโลมตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา ให้มีสมเด็จพระวันรัต เป็นเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นเจ้าคณะใหญ่หนใต้ มี 2 องค์ ทำหน้าที่เหมือนกับมหาดไทยและกลาโหม สมเด็จพระวันรัตครองฝ่ายเหนือ เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ จนกระทั่งเกือบจะถึงสมัยปัจจุบันนี้จนถึงทุกวันนี้แหละครับ พระภาคเหนือ พระเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน ไปกรุงเทพฯ ไปขึ้นวัดเบ็ญจฯทั้งนั้น เพราะสมเด็จพระวันรัตท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดเบญจฯ จนเดี๋ยวนี้ เจ้าคุณพุทธิวงศ์เป็นคนเหนือขึ้นมาอีก กระผมอยู่บ้านว่างๆ ทำบุญขี้เกียจฟังจำเจ นิมนต์พระวัดเบญจฯมาสวดเมืองสบายอกสบายใจดี และได้ผลอยู่ตรงนี้พระส่วนภาคใต้ก็เป็นเรื่องของสมเด็จพระพุทธโฆษาตารย์ การณ์ก็เป็นมาอย่างนี้ ถึงแม้จะมีตำแหน่ง แต่เอาจริงพระก็ไม่ได้ปกครองกันเอง เป็นหน้าที่ของข้าราชการของทางรัฐบาลคือ กรมสังฆการี เขาปกครอง เมื่อเกิดอธิกรณ์ขึ้นเขาชำระเสร็จ ไม่ใช่พระชำระอธิกรณ์เรียกว่า อยู่ในฐานะที่อ่อนแอมาก มหานิกายและธรรมยุต ต่อมา ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้ตั้งคณะในพระพุทธศาสนานี้ ท่านไม่ได้แยกสงฆ์ออกไปเป็นอื่น แต่ว่าลูกศิษย์ลูกหาท่านได้ปฏิบัติตามพระวินัยในลักษณะที่ท่านถือว่ามันถูกต้อง ก็ไม่กี่ข้อหรอกครับ จนในที่สุดก็มาเกิดเป็นคณะธรรมยุตขึ้น พระสงฆ์ไทยแยกออกเป็น 2 คณะ คือ คณะมหานิกายนั่นเป็นเสียงส่วนใหญ่ มีมากมาย ล้นฟ้าล้นดิน เต็มประเทศ และคณะธรรมยุตไม่กี่องค์ก็อยู่กันมาอย่างนั้น ไม่เป็นอริบาดหมางกัน ต่อมา สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระธรรมยุต ได้เป็นประมุขสงฆ์ ก็ทรงเอื้ออารีต่อพระมหานิกาย จนปรากฏว่าเป็นที่นับถือของพระมหานิกายเป็นส่วนมาก หรือเกือบจะแทบทั้งหมด ไม่มีใครตำหนิติฉิน ในสมัยสมเด็จพระมหาสมณะเจ้านั้นเอง การปกครองคณะธรรมยุตเรียบร้อยเป็นที่ปรากฏแก่พระเจ้าแผ่นดินและรัฐบาล คณะธรรมยุตก็จึงได้ถอนออกมาปกครองตนเองได้โดยที่ไม่ให้ฆราวาสปกครอง ไม่ขึ้นต่อกรมสังฆการีอีกต่อไปส่วนพระมหานิกายนั้นยังขึ้นอยู่ธรรมยุตปกครองตนเองได้ อันนี้เรียกว่า พรวิเศษ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็คงจะลืมๆกันไปแล้วในสมัยนั้นก็ไม่มีใครถามว่าอะไร แล้วต่อมา พระมหานิกายเองแหละที่ท่านรู้สึกว่าไม่สบายใจนักที่ถูกฆราวาสปกครอง ก็ไปขอจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯขอว่า ให้มาอยู่ใต้การปกครองของธรรมยุต ยังดีกว่าที่ฆราวาสปกครองอันนี้ ก็เกิดเป็นพรพิเศษขึ้นมา ในที่สุด พระธรรมยุตปกครองมหานิกาย เจ้าคณะทั้งหลายเป็นธรรมยุต มหานิกายก็เป็นผู้อยู่ใต้ปกครอง ดูไปเหมือนแอฟริกาใต้ มีคนส่วนน้อยคือผิวขาวปกครองคนส่วนใหญ่ คือผิวดำ มันก็ไม่ค่อยจะเข้าที ในตอนนั้นกระผมรู้สึกว่า พระมหานิกายท่านก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่ภายหลังเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 แล้ว ความรู้สึกในลัทธิเสรีภาพ ความรู้สึกต้องการที่จะปกครองตนเองมันเกิดขึ้น ก็ได้เกิดมีการต่อต้านพระธรรมยุตกันเป็นขนานใหญ่ในบรรดาพระมหานิกาย ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ในที่นี้ท่านก็คงจำได้ก็เพื่อจะได้ดึงเอาพระมหานิกายออกมาจากใต้การปกครองของคณะธรรมยุต มีการต่อต้านหนาหูและหนักด้วยวัดไหนก็อย่าให้พูดเถอะ เดี๋ยวท่านก็มาเตะกระผมเข้าเดี๋ยวก็จะเข้าวัดนั้นไม่ได้เสียอีก