รศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีการประชุมสำคัญสองเวที ทั้งประชุมที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำ G20 ในฐานะประธาน G77 วันที่ 4-5  กันยายน 2559 ที่นครหางโจว มณฑลเจ้อเจียง และนายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ภายใต้หัวข้อ “การมุ่งสู่เศรษฐกิจโลกที่สร้างสรรค์ มีพลัง เชื่อมโยง และเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม (Towards an Innovative, Invigorated, Interconnected and Inclusive World Economy) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกฯกล่าวขอบคุณ “รัฐบาลจีนที่เชิญไทยในฐานะประธาน G77 เข้าร่วมประชุม ซึ่งให้ความสำคัญกับวาระการพัฒนาและสะท้อนบทบาทที่สร้างสรรค์ของจีนในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง G20 และ G77 ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของไทย” โดยกลุ่ม G20 นี้เป็น “กลุ่มประเทศเศรษฐี” และกลุ่ม G77 เป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า “ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและเผชิญกับความท้าทายในหลากมิติ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันมากขึ้นโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยการผนึกกำลังสร้างความร่วมมือรูปแบบใหม่”เพื่อเป็น “ยานยนต์แห่งศตวรรษที่ 21” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกสู่ “แนวทางการพัฒนาใหม่ (New Path of Growth)” ต้องกล้าคิดนอกกรอบและก้าวข้ามเส้นแบ่งในรูปแบบเดิม ๆ เพื่อสร้างหุ้นส่วนระดับโลก ที่ไม่จำกัดรูปแบบของความร่วมมือ ทั้งนี้ ในการผลักดันความร่วมมือใหม่เพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ต้องลงมือทำใน 3 ส่วน หนึ่งการประสานนโยบายและความร่วมมือเพื่อให้โอกาสและทางเลือกและไม่ปิดกั้นประเทศกำลังพัฒนา สองการให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภายใน ได้แก่ “พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs)” และสามสนับสนุนทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม ผ่านกลไกประชารัฐ เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายในลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งไทยเองได้พยายามเร่งแก้ไขปัญหาภายในควบคู่ไปกับการพัฒนา และที่สำคัญจะนำพาโลกสู่แนวทางการพัฒนาใหม่ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง วาระสำคัญของการประชุม ประกอบด้วย 4 เรื่อง สำคัญ คือ (1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแนวทางใหม่ (2) การมีระบอเศรษฐกิจและการเงินโลกที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น (3) การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง (4) การพัฒนาที่ครอบคลุมและเชื่อมโยง ผลลัพธ์การประชุมฯ ที่สำคัญ อาทิ การจัดทำร่างพิมพ์เขียวสำหรับการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรม “การรับรองแผนปฏิบัติการเพื่ออนุวัติวาระ ค.ศ. 2030” เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน การรับรองยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตของการค้าโลก การส่งเสริมการปฏิรูปสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ การริเริ่มความร่วมมือเพื่อการต่อต้านการทุจริต เป็นต้น  ขอย้อนหลัง G20 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 เป็นกรอบการหารืออย่างไม่เป็นทางการเพื่อสนองตอบต่อวิกฤตการเงินในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยการหารือมุ่งเน้นใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) เศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินโลก  2) การเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างทางการเงิน และ 3) การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่   อย่างไรก็ตาม นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เรียกร้องให้ผู้นำกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด 20 ประเทศ หรือ “G20 ครั้งที่ 11” หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับ “การหาวิธีเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ” โดยมีประธานาธิบดีของจีน กล่าวต้อนรับคณะผู้นำในพิธีเปิดการประชุม โดยระบุว่า “เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เนื่องจากตลาดที่มีความผันผวน ทำให้มีผลกระทบต่อการค้าโลก” นอกจากนี้ ผู้นำจีนยังแสดงความต้องการ ให้การพูดคุยกับในการประชุมครั้งนี้ มีแต่สาระสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา ให้การประชุม G20 ในครั้งนี้ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องปากท้องซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกในขณะนี้ ก็คือ “เศรษฐกิจ” ทั้งนี้ อย่างไรก็ดี ก่อนเริ่มการประชุมกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ออกมาประกาศด้วย อาจจะมีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4% อันเนื่องมาจาก ผลการลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.1% ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีไทยได้เดินทางเข้าร่วม “การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 28-29” และ “การประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง” ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วันที่ 5-8 กันยายน 2559 เป็นการประชุมระดับผู้นำที่ สปป.ลาว ในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ ได้รวบการประชุมสุดยอดอาเซียนทั้งสองครั้งรวมกัน นอกจากการประชุมภายในอาเซียน (Plenary + Retreat) และการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนกับภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน ผู้แทนเยาวชนอาเซียน และผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนแล้ว  จะมีการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำภายนอกอาเซียนที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย อินเดีย และสหประชาชาติ และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ซึ่งจะมีผู้นำรัสเซียและนิวซีแลนด์ เข้าร่วมการประชุมด้วย นอกจากนี้  สปป.ลาว ยังได้เชิญกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันกับผู้นำอาเซียน ในครั้งนี้ด้วย การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ ถือเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาอาเซียน เนื่องจากเป็นช่วงปีแรกของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และมีความคาดหวังสูงว่าการเป็นประชาคมอาเซียนจะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากขึ้นในภูมิภาค ในขณะที่ประชาคมโลกต่างคาดหวังว่า อาเซียนจะมีบทบาทในที่สร้างสรรค์และเป็นเชิงรุกมากขึ้น ภายหลังการรวมเป็นประชาคมอาเซียน โดยในปีนี้ อาเซียนได้มีการประชุมสุดยอดพิเศษกับผู้นำประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย และได้รับการทาบทามจากจีน สำหรับ หัวข้อหลักการประชุม คือ “Turning Vision into Reality for a Dynamic ASEAN Community”ได้ให้ความสำคัญใน 8 ประเด็น ได้แก่ 1) การดำเนินการตามวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2025 2) การลดช่องว่างการพัฒนา 3) การอำนวยความสะดวกด้านการค้า 4) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 5) การส่งเสริมการท่องเที่ยว 6) การส่งเสริมความเชื่อมโยง 7) สภาวะการจ้างงานในอาเซียน 8) การเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่ออนุรักษ์ ปกป้องและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียอย่างไรก็ดี เหตุการณ์สำคัญที่ไม่น่าเกิดขึ้น เมื่อประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ดูเตร์เต ได้กล่าว “ปูตัง อินาโม” ที่ไม่ไพเราะเลยแก่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จนเกิดการบอยคอตที่จะพบกัน!