ชัยวัฒน์ สุรวิชัย - กลับเข้ามาต่อถึง ชายผู้นำหน้าของผู้จิ๊บ ซึ่งได้กล่าวไปบ้างแล้ว คือ ป๋าบุญช่วย ก๋งเฮว คุณพ่อกรางค์บราเดอร์เซราฟินฯคระมาสเตอร์ หลวงพ่อวัดเชียงรายลำปาง ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้นำ ผู้มีพระคุณในการให้กำเนิด ให้การศึกษาและธรรมในช่วงต้นของชีวิต ก้าวต่อมา มีผู้นำที่ดูแล้ว ยังไม่ชัดเจนและโดดเด่น แต่ก็เป็นแบบในการได้ศึกษาเรียนรู้ในบทบาทของท่าน ไล่มาตั้งแต่ อ.บุญเลื่อน เครือตราชู ผอ.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และอาจารย์ประจำชั้นปีหนึ่งและปีสอง และที่คณะวิศวจุฬาฯ และทำกิจกรรมระดับสโมสรจุฬาฯ ที่ทำให้ได้สัมพันธ์กับอธิการบดีหลายท่าน ที่คุ้นเคยมากหน่อยคือ บรรยาเวกศ์ และผู้ช่วยฯ คือ อ.บุญสิริ และ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน รวมทั้ง อ.ประณต ฯ อ.อรุณ สรเทศน์ คณบดี อธิการบดี รมว.ทบวงมหาวิทยาลัยและ นายกสภาจุฬาฯ คือ พลเอกประภาส ส่วนอาจารย์วิศวจุฬาฯ ที่โดดเด่นและประทับใจ ก็มี ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต และอ.อรุณ ไชยเสรี อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ที่โดดเด่นในยุคนั้น คือ อาจารย์จินตนา ยศสุนทรฯ ที่เป็นที่ปรึกษาชมรมโต้วาทีสจม. บุคคลที่สำคัญที่สุดในช่วงนี้อีกคนหนึ่ง คือ อ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เจ้าของนสพ.สยามรัฐและคอลัมน์หน้า 5 และที่ลืมไม่ได้ คือ พันเอกอารี ธิยะใจ พี่เขย(ของพี่สาวลุกป้าคนโต ) ที่ปู่จิ๊บไปอยู่ด้วยในสมัยมาเรียนกรุงเทพ คงเอาท่านี้ก่อน เพื่อจะได้หยิบยกจุดเด่นของท่านเหล่านี้มาพูดให้ เพื่อนมิตรและผู้สนใจได้ร่วมตามกันได้ทัน - อ.บุญเลื่อน เครือตราชู ท่านเป็นอาจารย์นักวิชาการ และเป็นผู้บริหารที่มีบทบาท โดยกล่าวเพียงว่า การมารับหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ก็ย่อมแสดงคุณภาพคับแก้วแล้ว ท่านเป็นคนเจ้าระเบียบวินัย และอยากให้นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา เก่งมีระเบียบวินัยและเป็นคนดี ปู่จิ๊บเคยเจอกับตนเอง มาอย่างน้อยสองเรื่อง จะเอาเรื่องไหนก่อนดี เอาเรื่องแลกที่คงถูกใจตุ๊ดทอมในยุคนี้ คือ ปู่จิ๊บ ซึ่งเป็นแมนเต็มตัว แต่ในสมัยเด็กรักเพื่อนและมีเพื่อนสนิทเรียนห้องเดียวกัน คือ ห้อง 110 ตอนนี้เป็นหมอใหญ่ เคยอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ชื่อ “ สมภพ” เด็กเก่งจากโคราช คะแนนสอบ 95 % เราเดินคุยกันไปตามถนนเล็กๆในโรงเรียนเตรียมฯที่มุ่งหน้าสู่โรงอาหาร แล้วทันใดนั้น ก็เจอ อ.บุญเลื่อน เราก็ยกมือไหว้อย่างสุภาพอ่อนน้อม ท่านก็รับไหว้ แต่หันมาติเราว่า “ อย่าเดินจับมือกันซิ ไม่เหมาะสม” อีกตอนหนึ่ง เป็นเรื่องดีงามที่ อาจารย์ชม ปู่จิ๊บ หลังจากทำหน้าที่กรรมการชมรมสังคมศึกษาศาสตร์ฯ ที่นำนักเรียนเตรียมฯ ไปทัศนะศึกษาดูงานประวัติศาสตร์วัดวามอารมที่ จังหวัดอยุธยาฯ ทั้งวัน กลับมาถึงโรงเรียน เราก็ดูแลให้น้องๆ กลับบ้านกันก่อน และจัดการเรื่องห้องของชมรมให้เรียบร้อย พอจะเดินกลับบ้านไปขึ้นรถเมล์ ก็เจออาจารย์บุญเลื่อน ท่านเรียกไปหาใกล้ๆ แล้วพูดชมว่า “ พวกกรรมการชมรมฯ ทำหน้าที่ได้ดี เรียบร้อย ต้องชอชมเชย “ปู่จิ๊บ ก็ยกมือไหว้ท่าน แต่ท่าน ได้เปิดกระเป๋าถือ และหยิบแบ็งค์ 20 บาท มอบให้ ปู่จิ๊บต้องกราบเป็นครั้งที่สอง - อ.บุญสิริ บรรยาเวกศ์ และ ผู้ช่วย ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ที่มีหน้าที่ดูแลสโมรสรนิสิตจุฬาฯ ในปี 2514 ปู่จิ๊บทำหน้าที่เป็นอุนายกและนายกสโมสรนิสติจุฬาฯ จึงคุ้นเคยกับท่าน อาจารย์บุญสิริ เป็นคนใจดี แต่ชอบแนะนำ และเมื่อคุ้นเคยกัน ท่านก็ชวนกรรมการสโมรสรไปพักผ่อน ท่านแสดงถึงใจรักการสอนและสนใจในเรื่องของเยาวชนนิสิตนักศึกษาฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมาก ส่วนดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยบรรยาเวกศ์ และต่อมาท่านได้เป็นอธิการบดีจุฬาฯลฯ เป็นคนเก่งมากคนหนึ่ง ซึ่งปู่จิ๊บได้เห็น ในช่วงที่ไปที่ห้องสำนักงานอธิการบดีฯ ท่านคิดและบอกให้เลขาพิมพ์ เป็นจดหมายจนเสร็จเรียบร้อย โดยพุดต่อเนื่องและไม่มีการแก้ไขเลยฯ และในช่วงนั้น ปู่จิ๊บก็มีความสนิสนม เป็นพิเศษ ในฐานะท่านเป็นชาวค่ายสจม.ด้วยกัน แต่ท่านเป็นรุ่นบุกเบิก ส่วนปู่จิ๊บเป็นรุ่นที่ 8-9 ปี 2511-2 - อาจารย์จินตนา ยศสุนทรฯ ที่เป็นที่ปรึกษาชมรมโต้วาทีสจม. เป็นเสรีไทย เป็นอาจารย์สอนที่อักษรจุฬาฯ จุดเด่นของท่าน เป็นหญิงเก่ง แกร่งและมีพลังมาก มีความรู้ที่แนะนำให้คำปรึกษากับพวกเรามาก คณะกรรมการชมรมฯ และปู่จิ๊บ เคยไปที่บ้านของท่าน ซึ่งแสดงถึงความรักและความสนิทสนมที่ท่านได้ให้ มีข้อคิดและคำแนะนำดีๆ ให้แก่พวกเรามากมาย ที่เสียดายคือ ตอนนั้นไม่ค่อยได้คุยกันเรื่องเสรีไทย - คราวนี้ มาถึงอาจารย์วิศวฯจุฬาฯ ซึ่งต้องรวม อ.อรุณ สรเทศน์ และ อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ด้วย - อาจารย์ ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต สอบได้ที่หนึ่งของประเทศไทย ในสมัยมัธยมปลายหรือเตรียมอุดมฯ ที่มาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นอาจารย์ที่เก่งมากในด้านวิชาการ และการสอนให้นิสิตได้เข้าใจง่ายๆ ปู่จิ๊บ เคยมีประสบการณ์ด้วยตนเอง ตอนเรียนซ้ำชั้น เป็นรีพีทเตอร์ปีสอง ต้องเรียนวิชาแมคคานิก ซึ่งไม่ค่อยเข้าใจ เพราะไม่ได้เรียน โดยไปทำกิจกรรมของคระและสโมสรชมรมต่างๆของจุฬาฯมากกว่า แต่กลับเข้าใจอย่างดี เพราะ อาจารย์สุรินทร์ สอนแบบ ทำโจทย์แบบฝึกหัด ร่วมไปกับเราบนกระดานด้วยฯ อีกอย่างหนึ่ง เป็นคำพุดเชิงประสบการณ์และบทเรียน ที่อาจารย์สารภาพออกมากับปู่จิ๊บแบบสองต่อสอง เพราะในช่วงนั้น อาจารย์สุรินทร์ มาสนใจกิจกรรมของนิสิตวิศวฯและจุฬาฯมาก จึงสนิมคุ้นเคยกับปู่จิ๊บ “ ผมเสียดายเวลาในการสอนหลังจากจบดอกเตอร์ ไปทำสิ่งที่ไม่สำคัญไปมาก” แต่มาเปลี่ยนเมื่อได้ ไปศึกษาดูงานที่ประเทศจีน อาจารย์ของเขา สอนและทำวิจัยฯ ในเรื่องที่สามารถนำมาใช้ได้จริง และเป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศโดยเฉพาะ ชาวนาและกรรมกร คือ วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ เขาศึกษาค้นคว้าและประดิษฐ์ สิ่งที่จะช่วยเหลืองานเกษตรกรรมและงานโรงงาน มากกว่าทำเรื่องใหญ่โต และอาจารย์ได้กล่าวชื่นชม นิสิตที่ทำกิจกรรมคู่ไปกับการเรียน อย่างปู่จิ๊บ ที่ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าของชีวิต และอาจารย์บอกว่า “ ผมเชื่อมั่นว่า คุณชัยวัฒน์ จะทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองได้มาก” . นี่คือ สิ่งที่มีคุณค่าและความหมายมากใช่ไหมครับ เป็น ดร.ที่เรียนเก่ง ระดับที่หนึ่งของประเทศ และได้เป็นอธิการบดีและรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย ที่ได้กล่าวชื่นชม คนที่เรียน 6 ปี จบ” - อาจารย์อรุณ ชัยเสรี ที่สอนวิชาโยธาแก่นิสิตปีสามปีสี่ของวิศวฯจุฬาฯ โดยสอนอย่างรู้จริงและเข้าใจง่าย ทั้งๆที่อาจารย์จบแค่ปริญญาโท แต่มีงานออกแบบมากมายที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงของประเทศ อาคารตึกช้าง ที่สี่แยกรัชโยธิน ที่สวยงามแปลกตา ก็เป็นผลงงานชิ้นหนึ่งของอาจารย์ท่านนี้ อาจารย์อรุณ ชัยเสรี เป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ที่ให้ความสนใจในเรื่องของกิจกรรมและเรื่องบ้านเมือง และท่านก็ได้ชื่นชมผมในเรื่องของการแสดงออกเพื่อส่วนรวมและบ้านเมือง โดยในปีที่หก ที่เรียนปีสี ผมได้เคลื่อนไหวเรียกร้อง “ให้รัฐบาลสงวนอาชีพแก่วิศวกรไทย “ เพราะตอนนั้นมีวิศกรต่างชาติเข้ามามาก วิชาหนึ่งที่อาจารย์สอน คือ วิชาโครงสร้างฯ โดยก่อนที่อาจารย์จะบรรยาย จะให้เวลาปู่จิ๊บ 5 นาที ไปสรุปเหตุการณ์ของบ้านเมือง ว่า เป็นอย่างไรบ้าง และท่านก็กล่าวขอบคุณ และขอให้นิสิตได้สนใจด้วย - อาจารย์อรุณ สรเทศน์ เป็นอาจารย์ที่เหมาหมด ตั้งแต่หัวหน้าแผนกวิศวสุขาภิบาล คณะบดี อธิการบดี ปู่จิ๊บที่รียน “ วิศวฯส้วม” ที่มีคนล้อเลียน ทั้งๆที่เรียนแผนกสุขาภิบาล หรือ สิ่งแวดล้อมฯ และการที่สนใจการบ้านการเมือง ซึ่งท่านตอนหลังได้เป็นรัฐมนตรีทบวงมหาวิยาลัย ได้ให้ความสนใจ ปู่จิ๊บ ก็เคยไปที่บ้านของท่านที่อยู่ในซอยสุวรรณสวัสดิ์ ทุ่งมหาเมฆ ซึ่งบ้านญาติทางแม่ที่พี่น้องๆไปพักอยู่ด้วย ภรรยาของท่าน เป็น มรว.ใกล้ชิดกับทางวังฯ ซึ่งมีส่วนทำให้ท่าน เข้าไปช่วยดูแลเรื่องวิทยุของในหลวง ร.9 ครั้งหนึ่ง ท่านนัดให้ปู่จิ๊บไปพบเพื่อพุดคุยเรื่องบ้านเมือง แต่ขณะคุยกันอยู่ ที่โทรศัพท์สายด่วนเรียกเข้ามา ท่านจึงบอกขอโทษว่า “ ทางวังฯ เรียกมาให้เข้าไปดูเรื่อง ห้องวิทยุของในหลวงฯระเบิด “ เหตุเพราะ ในหลวงฯ ท่านใช้วิทยุต่างๆมากมาย ในการติดตามรับฟังเหตุการณ์ณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ท่านจึงรู้จริง ว่า สภาพที่เป็นจริงในแต่ละช่วงเป็นอย่างไร และการที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านอาจารย์อรุณ ฯ มีส่วนที่ช่วยทำให้ “ การเรียกเงิน 5000 บาทคืน” ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลในสมัยนั้นเรียกเก็บเป็นพิเศษ สำหรับนิสิตวิศวฯทั่วประเทศ ที่อยากทำงานอิสระหลังเรียนจบ ต้อง จ่ายเงินเพิ่มเติมจากปกติ คนละ 5000 บาท/ ปี ซึ่งเริ่มสมัยแรก ปี 2510 ที่ปู่จิ๊บเข้าเรียนเป็นน้องใหม่ แต่เมื่อจบไปทำงานได้เพียงสองปี งานราชการเต็ม จึงทำให้ผู้ที่จบวิศวฯมีอิสระในการเลือกงาน แต่สำหรับ เงินที่จ่ายไปหลายสิบหลายร้อยล้านบาทเล่า จะทำอย่างไร มีน้องๆวิศวฯจุฬาฯส่วนหนึ่งมาปรึกษากับ ปู่จิ๊บและทำการณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลคืนเงินดังกล่าวให้ เพราะ เป็นความผิดรัฐบาล มิใช่นิสิตนักศึกษาวิศวฯ ซึ่งปู่จิ๊บ ก็ได้ใช้ช่องทางนี้ให้ข้อมูลแก่ อาจารย์อรุณฯ จนมีส่วนช่วยให้ ครม.ยกเลิกมติ และคืนเงินให้แก่ผุ้จ่ายไป ส่วนปู่จิ๊บ มิได้รับ เพราะ จ่ายเงินตามปกติ มิได้จ่ายพิเศษ 5000 บาท/ปี - อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เคยเป็นอาจารย์วิศวฯ ที่สนิทแน่นกับพี่เกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่ากฟฝ.ที่เด่น ซึ่งเป็นผู้สนใจในกิจกรรมบ้านเมือง ได้มีความสนิทสนมกับ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี เป็นพิเศษ และโยงมาถึงปู่จิ๊บ ขอกล่าวเพียงสั้นๆว่า “ พี่ทั้งสอง เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง และมีบทบาทต่อประเทสไทยอย่างมาก และน่าสังเกตว่า “ ผู้ใหญ่ที่รักชาติบ้านเมือง จะให้ความเคารพเทิดทูนในหลวงรัชการที่ 9 อย่างสูง - คนรองสุดท้าย เป็นผู้นำประเทศ ที่มีบทบาทสูง และมีบันทึกประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือ จอมพลประภาส จารุเสถียรฯ ซึ่งในเรื่องที่จะขอกล่าวถึง ในตอนนั้น เป็นนายกสภาจุฬาฯ กรณีของเรื่อง อยู่ที่ ปี 2514 “ ครม.มีมติ ให้ยุบคณะสัตวแพทยุฬาฯ ไปรวมกับ คณะสัตวแพทย์ ม.เกษตร” ซึ่งดุเหมือนจะไม่เป็นข่าวใหญ่ เพราะ เป็นเรื่องเฉพาะส่วน แต่เป็นเรื่องใหญ่บาดคอบาดใจจุฬาฯมาก เพราะ ทำให้ทั้งอาจารย์ข้าราชการ และนิสิตสัตว์แพทย์จุฬาฯ ที่เรียนอยู่ต้องเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และไม่มีทางออก , แต่พี่พงษ์ศักดิ์ ที่เป็นผู้แทนคณะสัตวแพทย์จุฬาฯ ได้นำเรื่องนี้มาปรึกษากับปู่จิ๊บ ที่ทำหน้าที่นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ “ เราก็ได้วางแผนปรึกษาและคิดกันอย่างรอบครบ ในการดำเนินงาน ขั้นต้นคือ การไปพบ พลเอกประภาส ที่มีบทบาทในรัฐบาลและมีตำแหน่งสำคัญของจุฬาด้วยฯ และแทบจะคาดไม่ถึง เพียงเราสองคน เดินทางไปที่ค่ายลูกเสือศรีราชา และได้ตรงไปเข้าพบขอปรึกษา เพียงคำพูดไม่กี่ประโยค ที่ท่านถามถึงความถูกต้องชอบธรรม และเมื่อท่านเข้าใจ ท่านก็บอกให้เรากลับไป และหลังจากนั้น เพียงไม่นาน” ครม. ก็ยกเลิก มติครม.ดังกล่าว ทำให้สัตว์แพทย์จุฬาฯ ยังอยู่ถึงทุกวันนี้