ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • ต้องขออภัย ที่ตกหล่นไป ในเรื่อง นักศึกษาปปร.2 สถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชุดแรก สมาคมสหพันธ์เกษตรกรเพื่อการพัฒนา (สกพ. ) เพราะ มีเพื่อนมิตรที่ติดตามอย่างต่อเนื่อง แจ้งว่า “ ปู่จิ๊บ ยังขาดอยู่น่ะ ไม่ยอม ถ้าไม่เขียนลง “ ที่จริง เรื่องที่กล่าวมาเหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตปู่จิ๊บและบ้านเมือง ตามมาดูกัน • นักศึกษาปปร.2 2540 ( เข้าเรียน กลางปี 2539 - กลางปี 2540 ) หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง ( ปปร. )เป็นหลักสูตรหลัก เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ถือเป็นหลักสูตรเริ่มต้น นักศึกษา ปปร. 2 ประกอบด้วยรัฐมนตรี สส. ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจชั้นสูง ตัวแทนจากพรรคการเมือง องค์กรธุรกิจ สื่อสารมวชน ผู้นำที่มีชือเสียง และองค์กรภาคประชาชน ฯลฯ เพื่อให้ผู้นำทางความคิดในสังคมไทยได้มาร่วมกันกับนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ แสวงหาแนวทางการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยเพื่อสันติ สุขสถาพรอย่างแท้จริงแก่คนไทยทั้งชาติ และนำแนวทางดังกล่าวที่เกิดจากความเข้าใจร่วมกัน การมีทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมประชาธิปไตยที่แสวงหาร่วมกันนั้น ไปร่วมกันพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยต่อไปในฐานะเครือข่าย “นักพัฒนาประชาธิปไตย”หลักสูตรและเนื้อหาเป็นความรู้ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้ และต้องมีการทำงานวิจัยที่มีคุณภาพรวมทั้งมีการศึกษาดูงานทั้งในประเทศต่างประเทศ โดยรัฐเป็นผู้จ่ายให้ นักศึกษาที่มาเข้าเรียนไม่ต้องเสียเงิน( แต่ใน ปปร.2 เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ต้องงดไปดูงานต่างประเทศ แต่ยังคงไปดูงานในประเทศ)ทำให้ในช่วงหลังๆเกิดเป็นกระแสระดับหนึ่ง ซึ่งสร้างความสนใจให้คนเข้ามาสมัครกันมาก • ตัวปู่จิ๊บ มาจากพรรคพลังธรรม ซึ่งช่วงนั้นเป็นรองเลขาธิการ โดยมีคุณไชยวัฒน์ สินสุวงค์เป็นหัวหน้า และมีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีบทบาทในสังคม และการเมืองมากมาย ดังที่ได้กล่าวไป และกล่าวต่อไป การได้ร่วมเรียน ฟังคำบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาฯ เป็นเวลาหลายเดือน รวมทั้งการได้ออกไปศึกษาดูงานในสถานที่หลายแห่งตามภาคต่างๆ การทำงานวิจัยนซึ่งเป็นงานบังคับที่จะทำให้จบการศึกษา และจำนวนเข้ารับการศึกษา ต้องไม่น้อยกว่า 70 % และการมีกิจกรรมสังสรรค์ตามมา ทั้งระหว่างการศึกษาและมา จนถึงปัจจุบัน ทำให้พวกเราสนิทสนมเข้าใจกันและร่วมทำสิ่งที่ดีงามให้สังคม ปู่จิ๊บ ได้รับความรัก ความยอมรับในอุดมคติ สิ่งที่ทำไป จากเพื่อนปปร.2และอาจารย์ ต้องขอขอบคุณมาก นักศึกษา ปปร. โดยรุ่นแรกๆ ได้สร้างบทบาทต่อวงการเมืองสังคมอย่างมาก • เรามาดูหลักการและเหตุผล ของการก่อตั้ง สถาบันพระปกเกล้าฯ เพื่อให้เข้าใจที่ไปที่มากันก่อน แม้ระบอบประชาธิปไตยจะมีพัฒนาการตั้งแต่ปี 2475 แต่การพัฒนาส่วนใหญ่เป็นแต่เพียงในรูปแบบเท่านั้น แต่สาระและกระบวนการบริหารบ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะคนไทยยังมีความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประชาธิปไตยในสาระอาทิ ค่านิยมในระบบอุปถัมภ์ และการปฏิเสธความหลากหลายแบบพหุนิยม เป็นต้น นำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคมจึงจำเป็นต้องมีการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าขึ้นมาทำหน้าที่นี้ สำหรับประวัติและที่มานั้น กล่าวสรุปว่า เริ่มแต่สมัยประธานรัฐสภานายมารุต บุนนาค ปลายปี 2536 และวันที่ 15 กรกฎาคม 2537 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติ จากในหลวงรัชกาลที่ 9 เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาเป็นชื่อของสถาบัน และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "King Prajadhipok's Institute จัดตั้ง 19 มกรา2538 เป็นส่วนราชการระดับกอง สังกัดสำนัก งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรม สัมมนา การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับ การปกครองระบอบประชาธิปไตย และการปฏิบัติงานของฝ่ายนิติบัญญัติ การจัดทำเอกสารและสื่อการสอน ตลอดจนเทคโนโลยีด้านการฝึกอบรมและในภายหลัง สถาบันพระปกเกล้า ได้ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2541 ให้เป็นสถาบันทางวิชาการแห่งชาติที่มุ่งมั่นพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อสันติสุข สถาพรในสังคมไทย มีหน้าที่ส่งเสริมประชาธิปไตยให้หยั่งรากลึกในสังคมไทยทั้งในรูปแบบและสาระ เพื่อให้การบริหารสังคมก่อให้เกิดประโยชน์สุขอย่างแท้จริงแก่คนไทยทั้งปวง จึงได้จัดกิจกรรมหลายประการที่มุ่งไปสู่วัตถุประสงค์หลักดังกล่าว ทั้งการศึกษาวิจัย การให้การศึกษาอบรมการเผยแพร่และการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยในวงกว้าง • เพื่อให้เห็นคุณภาพนักศึกษา ปปร.2 มี 72 คน จึงขอนำชื่อมาลงทั้งหมด ( เพราะเอาบางคน ปู่จิ๊บโดนแน่ ) รายชื่อ นักศึกษา ปปร. 2 2539 -2540 กมล ศรีนิเวศน์ กฤษฎาง แถวโสภา กฤษณ์ ศิริประภาศิริ มรว.กำลูนเทพ เทวกุล นางกิระนา สุมาวงศ์ กุมพล สภาวสุ เกษม รุ่งธนเกียรติ เกียรติ สิทธิอมรกุล คมสัน สันติวราคม จรัญ ภักดีธนากุล ฉลาด ขามช่วง ชะลอ กองสุทธิ์ใจ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ ณรงค์ กาญจนนนท์ หมอเดชา สุขารมณ์ ทรงชัย ในเศวตวารี ทวีศักดิ์ กองแพง ธวัชชัย ตั้งสง่า ธีระชัย ศิริขันธ์ ธีรพจน์ จรูญศรี นิติ ยิ้มแย้ม นิยม วรปัญญา นิวัฒน์ พ้นชั่ว บรรจง อภิรติกุล ณรัตน์ไชย หลีระพันธ์ ประกอบ จิรกิตติ ประกิจ พลเดช พลเอกประดิษฐ์ บุญเกิด พา อักษรเสือ พิชัย พืชมงคล พิเชษฎ์ พัฒนโชติ พิภพ ธงไชย พูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ ไพบูลย์ แสงรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี ไพศาล จันทรภักดี ภาณุพงศ์ เวชชาชีวะ มงคล สารณียะธรรม มยุรา อุรเคนทร์ ยงยุทธ กบิลกาญจน์ ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ลิขิต เพชรสว่าง วงศ์ จั่นทอง วนิดา ปิยะมาดา วัลลภ ตังคณานุรักษ์ วิจิตร แจ่มใส วิชัย พรหมศิลป์ วิรัช รัตนเศรษฐ์ วิรูญ เพิ่มทรัพย์ พตท. วิโรจน์ เปาอินทร์ วิลาศ โลหิตกุล วิศาล ไมตรียืนยง พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา สมชัย ธนสานศิลป์ สมชาย สุนทรวัฒน์ สมบัติ ภู่กาญจน์ สรรชัย ชญานิน สามารถ ศรียาวงศ์ สำเริง เชื้อชวลิต สุธี สุทธิสมบูรณ์ สุรศักดิ์ เทียมประสิทธิ สุวัฒนา เพชรทองคำ โสภณ เพชรสว่าง นายแพทย์อนันต์ อิริยะชัยพาณิชย์ อัครนันท์ ตังกิณีนาถ อมรศักดิ์ พิมลมโนมัย อัญชลี สุสสุวัณโณ อำนาจ ชนะวงศ์ อิสระ สมชัย อุดม เฟื่องฟุ้ง อุบลศักดิ์ บังหลวงงาม • เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนถึงบุคคลที่มีบทบาททั้งในรุ่น และต่อสังคม จึงขอนำมาเป็นตัวอย่างบางท่าน 1. ส่วนที่มีบทบาทในการบิหารนำพารุ่น พลเอกประดิษฐ์ บุญเกิด ชัยสิทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ วิลาศ โลหิตกุล นิติ ยิ้มแย้ม 2. ส่วนที่มีบทบาทในสังคม ในอดีต และปัจจุบัน จรัญ ภักดีธนากุล อุดม เฟื่องฟุ้ง โสภณ เพชรสว่าง ลิขิต เพชรสว่าง วัลลภ ตังคณานุรักษ์ หมอเดชา สุขารมณ์ พิเชษฎ์ พัฒนโชติ พิภพ ธงไชย อุบลศักดิ์ บังหลวงงาม อิสระ สมชัย นายแพทย์อนันต์ อิริยะชัยพาณิชย์ ประกอบ จิรกิตติ กุมพล สภาวสุ เกียรติ สิทธิอมรกุล 3. ส่วนที่เหลือ ก็มีบทบาทในสังคมและพื้นที่ของตน ยกเว้นบางคนที่จากไปแล้ว • สถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน 2542 – ปัจจุบัน สำหรับหน่วยงานนี้ มีลักษณะพิเศษ ที่ปู่จิ๊บได้จัดตั้งขึ้นจากจังหวะและโอกาสที่ได้รับการสนับสนุน จากผู้ใหญ่ที่ได้เห็น ทั้งความตั้งใจจริง ความรู้ความสามารถและประสบการณ์อันยาวนานของปู่จิ๊บ ทำงานจากเล็กสู่ใหญ่ และผลงานที่ออกมาก็ล้วนเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมือง โดยเน้นในเรื่องของการพัฒนาการเมืองและการสร้างคุณภาพคน • ก่อนที่จะลงรายละเอียดเรื่องงาน อยากจะเล่าที่มา “ปู่จิ๊บ มาร่วมงานนี้ได้อย่างไร” เพื่อนมิตรที่รัก เชื่อไหม “ ในการเริ่มต้นงาน มีคนแนะนำคุณภูษณฯ ซึ่งต้องการทำเรื่องของภาคประชาชน เพื่อนพ้องน้องพี่ ที่ทำงานอยู่ก่อนแล้ว ทั้งคุณไพศาล มังกรไชยา คุณคำนูญ สิทธิสมานย์ ยุค ศรีอาริยะ ดร.เทียนชัย วงค์ชัยสุวรรณ พิทยา ว่องกุล ฯลฯ ได้แนะนำ ให้ติดต่อ “ อาจารย์ชัยวัฒน์ สุรวิชัย” แล้ว เราก็ได้คุยกัน ในบรยยากาศเรียบง่าย แบบพี่น้อง ที่ตึกช้าง สี่แยกรัชโยธิน เมื่อได้แลกเปลี่ยนกับคุณภูษณฯ ได้เห็นถึงความจริงใจ ความตั้งใจแน่วแน่ ที่อยากจะสนับสนุนงานประชาชน ผม ก็เริ่มงาน โดยไม่สนใจเรื่องของเงินเดือนเลย ทุ่มเทให้กับการคิดงานและการหาผู้ร่วมงานฯ ในช่วงแรกๆ งบประมาณ ในการทำงาน ต่อเดือน เป็นหลักหลายหมื่น แต่ไม่ถึงแสน สำหรับงานใหญ่เช่นนี้ แต่หลังจากได้เห็นผลงานที่ปู่จิ๊บและทีมงานได้ทำออกมา งาบประมาณต่อเดือน ก็พุ่งถึง 7 หลัก ตั้งแต่นั้นมา และเงินเดือน ก็สูงขึ้นหลายเท่าตัว อีกทั้งมีโบนัสเป็นเงินก้อน และการไปทัศนศึกษาต่างประเทศ อยากให้เห็นรูปธรรม ของความรักและความเคารพต่อกัน ของคุณภูษณ และปู่จิ๊บ ช่วงการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. ที่คุณสมัคร สุนทรเวช ลงสมัครฯ และคุณภูษณ ได้เป็นกำลังสำคัญในการวางแผนฯ คุณภูษณ ได้คุยเรื่องนี้กับปู่จิ๊บ สองครั้ง ครั้งแรกถามความเห็นถึงโอกาสที่จะได้รับการเลือกตั้งครั้งนี้ ปู่จิ๊บตอบไปว่า “มีแนวโน้มสูงมาก” เพราะความโดดเด่น สอดคล้องกับสถานการณ์ และไม่มีคู่แข่งที่น่ากลัว ครั้งที่สอง หลังจากคุณสมัคร ได้เป็นผู้ว่า “คุณภูษณ ฯ ได้เกริ่นขึ้นว่า “ พี่ชัยวัฒน์ (พี่จิ๊บ ) ทำไม ผมจึงไม่ขอให้พี่ มาช่วยงานนี้ รู้ไหม” และพูดต่อว่า “ ผมเคารพพี่ ที่มีความคิดอุดมคติ และเห็นต่างจาก คุณสมัคร” หากผมชวนพี่มาช่วย “ผม ก็ หมาแล้ว” เพราะ ผม รู้ว่า พี่เป็นคนมีอุดมคติ ซึ่งผมเคารพ ( เป็นคำพูดที่ตรงไปตรงมา ที่ทำให้ปู่จิ๊บเคารพรัก ความมีน้ำใจ และเข้าใจในการทำงานร่วมกัน ) เพราะ เราต่างเคารพและเชื่อใจกัน เพราะการเคารพคนอื่น ก็คือ การเคารพตัวเอง นั่นเอง และหลังจากคุณภูษณ เริ่มลำบากหรือเป็นขาลง เพื่อนมิตรนักการเมือง ที่คุณภูษณ เคยช่วยเริ่มหายไปๆ ญาติของคุณภูษณ ได้คุยกับปู่จิ๊บและเพื่อนฯว่า “ ต้องขอบคุณอาจารย์และเพื่อนมาก ที่ไม่ทิ้งคุณภูษณ” เพื่อนมิตร คิดอย่างไรครับ จะนำไปใช้ ก็ไม่ว่ากัน เพราะ น่าจะเป็นประโยชน์ในการร่วมงานต่อไป