ต่อเนื่องกับเป็นแนวปฏิบัติของคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ได้วางแนวปฏิบัติเอาไว้ อะไรที่ทำได้ และทำไม่ได้บ้าง ทุกฝ่ายจะได้ยึดเป็นคัมภีร์เดียวกัน ดังนี้

(6) การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้แก่ -พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ. 2560 เช่น ห้ามมิให้ข้าราชการการเมืองใช้สถานะหรือตำแหน่งการเมือง เรี่ยไร หรือชักชวนให้มีการบริจาคให้พรรคการเมืองหรือผู้รับสมัครการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่รวมที่ข้าราชการการเมือง ผู้นั้นเข้าร่วมกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง

-พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2561

ห้ามไม่ให้กระทำการใด ๆ เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรืองดเว้นการลงคะแนนให้ผู้สมัคร หรือชักชวนไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใด เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร ด้วยการจัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันเป็นคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด หรือให้โดยตรงและโดยอ้อมแก่ ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์หรือสถาบันอื่นใด โฆษณาหาเสียงด้วยการจัดมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ

เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด

(7) การออกกฎหมาย

-การเสนอร่างกฎหมายใหม่โดยเฉพาะพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นนโยบายไม่สมควรดำเนินการเสนอในระหว่างยุบสภา ร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติหลักการและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี ตรวจพิจารณา

(8) การแต่งตั้งคณะกรรมการ

-สามารถดำเนินการจัดหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กระบวนการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อแต่งตั้งแล้วคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าว สามารถปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่ละฉบับ อันเป็นงานประจำตามปกติได้ (อ่านต่อฉบับหน้า)