ทองแถม นาถจำนง “ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้าและพบว่ามีเมฆจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ที่จะให้เมฆเล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำฝนเทียม...” (ความตอนหนึ่งในพระราชบันทึกภาษาอังกฤษ “THE RAINMAKING STORY” “ฝนหลวง” เป็นโครงการที่ดำเนินการตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแท้ เพราะเป็นโครงการที่ทรงมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่แนวคิดแรกเริ่ม การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ การทดลองภาคสนาม การปฏิบัติงานจริง การปรับปรุงพัฒนารูปแบบ ไปจนถึงการรวบรวมองค์ความรู้และประสบการณ์เป็นหลักตำรา กล่าวสำหรับที่มาของคำว่า “ฝนหลวง” ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันนั้น แรกเริ่มเดิมทีโครงการทำฝนเทียมนี้ไม่มีคำเรียกเฉพาะ บางครั้งก็ใช้คำว่า “การค้นคว้าทดลองทำฝน” หรือไม่ก็ “การโปรยสารเคมีเพื่อให้เกิดฝน (Cloud Seeding)” หรือ “การเร่งเร้าสภาพอากาศให้เกิดฝน” ซึ่งเป็นภาษายาว ๆ ออกแนววิทยาศาสตร์ จำยาก ส่วนประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “ฝนเทียม” เพราะเห็นว่าเป็นการทำให้เกิดหยดน้ำแบบน้ำฝนโดยฝีมือมนุษย์เหมือนกับการทำฝนแบบสปริงเกอร์ที่เริ่มพบเห็นได้ในประเทศไทยช่วงนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็อนุโลมใช้คำว่าฝนเทียมตามชาวบ้านไปด้วย นอกจากคำว่า “ฝนเทียม” ซึ่งจำได้ง่ายแล้ว ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนยังใช้คำอื่นด้วย อาทิ “ฝนในหลวง” “ฝนหลวง” “ฝนหลวงพระราชทาน” “ฝนพระราชทาน” แต่คำว่า “ฝนหลวง” ดูจะเป็นคำที่นิยมใช้กันมากที่สุด ดังจะเห็นได้จากในช่วงปี 2516-2517 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติการฝนเทียมในลุ่มน้ำแม่กลองเพื่อช่วยเหลือราษฎรจากปัญหาน้ำเน่าที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมปรากฏว่าการทำฝนเทียมได้ช่วยเพิ่มน้ำสะอาดไล่น้ำเสียลงทะเลและช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในแถบนั้นได้เป็นอย่างดี นับเป็นข่าวที่ตื่นเต้นกันมาก หนังสือพิมพ์ได้พาดหัวข่าวโดยใช้คำว่า “ฝนหลวง” ทำให้คำดังกล่าวเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้างมากขึ้น ในเรื่องนี้ คุณเมธา อดีตผู้อำนวยการสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ได้ให้สัมภาษณ์ในนิตยสาร “ผาสุก” (พ.ศ. 2551) ไว้ว่า“...เราก็ขอพระบรมราชานุญาต เรียกว่า “ฝนหลวง” ท่านรับสั่ง ‘จะดีเหรอ คนเขาจะว่าฉันอวดตัว เป็นการ Propaganda ตัวเองนะ ฝนหลวง ‘หลวง’ คนก็รู้ว่าหมายถึงอะไร หลวงคนก็นึกว่าเป็นในหลวง’ ตอนนั้นผมกราบบังคมทูลบอก เป็นคำแพร่หลายนะ ประชาชนเขาเรียก ท่านรับสั่งว่า “แน่นะ” “แน่พระพุทธเจ้าข้า เป็นคำที่เกิดประชามติ” ท่านก็รับสั่ง “งั้นเหรอ งั้นก็เอา ให้เรียกฝนหลวง” เรื่องราวของฝนหลวงเริ่มต้นขึ้นในปี 2498 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางไกลโดยรถไฟและรถยนต์พระที่นั่งเพื่อไปเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ 15 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรที่เกิดจากปัญหาขาดแคลนน้ำทั้งทำการเกษตรและอุปโภคบริโภค ในช่วงที่ขบวนเสด็จผ่านทางแยกกุฉินารายณ์-สหัสขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์) นั้น ได้หยุดทรงเยี่ยมราษฎรและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่มาเข้าเฝ้าฯ เกี่ยวกับผลผลิตข้าวจึงได้ทรงทราบว่า ผลผลิตข้าวของราษฎรในท้องที่นั้นแทนที่จะเสียหายจากความแห้งแล้ง แต่กลับเสียหายเพราะน้ำท่วมมากกว่า หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความยากจนในหมู่ประชาชนในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีสาเหตุมาจากทั้งปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง จุดนั้นเองได้เป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำคัญที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน 2 เรื่อง นั่นคือ เรื่องฝายต้นน้ำลำธาร (Check dams) และฝนหลวง “...จากขณะนั้นเป็นต้นมา ข้าพเจ้าครุ่นคิดถึงปัญหาที่ดูเหมือนว่าแก้ไม่ตกและขัดแย้งกัน เมื่อมีน้ำ, น้ำก็มากไป, ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ เมื่อน้ำลดก็แห้งแล้ง เมื่อฝนตก, น้ำท่วมบ่าลงมาจากภูเขาเพราะไม่มีสิ่งใดหยุดเอาไว้ วิธีแก้คือ ต้องสร้างเขื่อนเล็ก ๆ (Check dams) จำนวนมาก ตามลำธารที่ไหลลงมาจากภูเขาต่าง ๆ จะช่วยให้กระแสน้ำค่อยไหลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเล็ก ๆ สิ่งนี้จะแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ในฤดูฝนน้ำที่ถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำและจัดสรรน้ำให้ในฤดูแล้ง ปัญหาหนึ่งที่ยังคงอยู่ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้าและพบว่ามีเมฆจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ที่จะให้เมฆเล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำฝนเทียม...” (ความตอนหนึ่งในพระราชบันทึกภาษาอังกฤษ “THE RAINMAKING STORY” หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องฝนเทียม แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรผู้ประดิษฐ์ควายเหล็ก ที่มีชื่อเสี่ยง เพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและทดลองการทำฝนเทียมในประเทศไทย โดยต่อยอดจากองค์ความรู้ในต่างประเทศที่ได้มีการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว จนกระทั่งได้มีการทดลองภาคสนามเป็นครั้งแรก บนท้องฟ้าเหนือพื้นที่วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 หรือเกือบ 14 ปี นับแต่วันที่ในหลวงได้ทอดพระเนตรก้อนเมฆบนท้องฟ้าเหนือจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาในปี 2513 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายฐานการปฏิบัติการฝนเทียมไปที่สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการทดลองและปฏิบัติงานมากกว่า และที่นี่ก็ได้พัฒนากลายเป็นศูนย์ปฏิบัติการหลักด้านฝนเทียมของประเทศในปัจจุบัน การทดสอบทำฝนเทียมในช่วงแรก ๆ มีอุปสรรคหลายประการ แม้กระทั่งแนวพระราชดำริในเรื่องนี้ก็ยังมีบางคนไม่เห็นด้วย“...ความคิดของท่านถูกคนคัดค้านอย่างไม่เกรงพระทัย บอกว่าเป็นไปไม่ได้หรอก เพ้อฝัน เป็นเรื่องโคมลอยมากกว่า ท่านไม่โกรธนะ ยิ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านพิสูจน์ ท่านทรงเชื่อมั่นว่าเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า ถ้าเผื่อมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วย จะสามารถกระตุ้นบรรยากาศทำให้ก้อนเมฆเหล่านี้กลายเป็นฝนได้ ท่านทรงเชื่อมั่นอย่างนั้น...” กล่าวสำหรับที่มาของคำว่า “ฝนหลวง” ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันนั้น แรกเริ่มเดิมทีโครงการทำฝนเทียมนี้ไม่มีคำเรียกเฉพาะ บางครั้งก็ใช้คำว่า “การค้นคว้าทดลองทำฝน” หรือไม่ก็ “การโปรยสารเคมีเพื่อให้เกิดฝน (Cloud Seeding)” หรือ “การเร่งเร้าสภาพอากาศให้เกิดฝน” ซึ่งเป็นภาษายาว ๆ ออกแนววิทยาศาสตร์ จำยาก ส่วนประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “ฝนเทียม” เพราะเห็นว่าเป็นการทำให้เกิดหยดน้ำแบบน้ำฝนโดยฝีมือมนุษย์เหมือนกับการทำฝนแบบสปริงเกอร์ที่เริ่มพบเห็นได้ในประเทศไทยช่วงนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็อนุโลมใช้คำว่าฝนเทียมตามชาวบ้านไปด้วย นอกจากคำว่า “ฝนเทียม” ซึ่งจำได้ง่ายแล้ว ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนยังใช้คำอื่นด้วย อาทิ “ฝนในหลวง” “ฝนหลวง” “ฝนหลวงพระราชทาน” “ฝนพระราชทาน” แต่คำว่า “ฝนหลวง” ดูจะเป็นคำที่นิยมใช้กันมากที่สุด ดังจะเห็นได้จากในช่วงปี 2516-2517 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติการฝนเทียมในลุ่มน้ำแม่กลองเพื่อช่วยเหลือราษฎรจากปัญหาน้ำเน่าที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมปรากฏว่าการทำฝนเทียมได้ช่วยเพิ่มน้ำสะอาดไล่น้ำเสียลงทะเลและช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในแถบนั้นได้เป็นอย่างดี นับเป็นข่าวที่ตื่นเต้นกันมาก หนังสือพิมพ์ได้พาดหัวข่าวโดยใช้คำว่า “ฝนหลวง” ทำให้คำดังกล่าวเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้างมากขึ้น แต่ในช่วงแรก ๆ ที่ยังมิได้กำหนดเรียกชื่อ “ฝนหลวง” อย่างทั่วไปนั้น ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นไว้ใน “สายมรัฐ หน้า 5” ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม 2515 ว่า“ของเทียมนั้นไม่ใช่ของแท้ ใคร ๆ ก็ย่อมรู้และจะมีคุณภาพเท่าของแท้ไปไม่ได้ ใคร ๆ ก็ย่อมจะรู้สึกแต่ฝนที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์นั้น เมื่อตกลงมาแล้วก็คือฝนแท้ ๆ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากฝนธรรมดาเลย ชาวบ้านได้กินได้ใช้เช่นเดียวกับฝนธรรมดา รับประโยชน์เท่ากับฝนธรรมดาคำว่า ฝนเทียม จึงเป็นศัพท์ที่อาจจะผิดอยู่แต่จะเรียกว่าอะไรให้มันแตกต่างไปกว่าฝนที่ตกตามธรรมชาตินั้นก็ยังนึกไม่ออก ที่นึกออกในขณะนี้ก็คือ “ฝนหลวง”หรือ “ฝนพระราชทาน”แต่ก็มีขัดข้องอยู่ตรงที่ว่า ฝนหลวงหรือฝนพระราชทานนั้นควรจะเป้นของบริสุทธิ์ ไม่มีภัยอันตรายใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้แต่ความจริงเกี่ยวกับฝนที่ทำขึ้นด้วยทางวิทยาศาสตร์นั้น อาจมีเหตุบังเอิญทำให้เกิดภัยอันตรายขึ้นได้อย่างที่เคยเกิดน้ำท่วมมาแล้ว ในจังหวัดพัทลุงเพราะขณะที่ทำฝนทางวิทยาศาสตร์อยู่นั้น บังเอิญมีร่องความกดอากาศต่ำผ่านมาอีกทางหนึ่ง การทำฝนเทียมอยู่อีกทางหนึ่งได้ดึงดูดเอาความกดอากาศต่ำนั้นเข้ามาบังเกิดเป็นฝนตกตามธรรมชาติอย่างหนัก ถึงกับเกิดน้ำท่วมได้แต่เรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ เพราะก่อนที่จะทำฝนทางวิทยาศาสตนรน์ก้จะต้องมีการสำรวจทางอากาสอย่างแน่นอนอยู่เสมอผมบังเอิญเคราะห์ดี ได้ยินพระราชกระแสเกี่ยวกับการทำฝนทางวิทยาศาสตร์ที่จังหวัดนครราชสีมาคราวนี้ มีพระดำรัสเรียกฝนคราวนี้ว่า ฝนสามัคคี”