ก่อนการเลือกตั้งปี 2562 เพียง 16 วัน พรรคไทยรักษาชาติถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค จากการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (2)

ที่หยิบยกกรณีของพรรคไทยรักษาชาติขึ้นมาในห้วงเวลานี้ ด้วยมีกระแสที่บางพรรคการเมือง วิตกกังวลว่าจะถูกร้องให้ยุบพรรคขึ้นมา และมีการจับาว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการเลือกตั้งเท่านั้น

จึงขอนำความในบางช่วงบางตอน จากสรุปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ มาย้อนหวนทวนความอีกครั้งดังนี้

“ถึงแม้กฎหมายจะมิได้ให้นิยามศัพท์คำว่า "ล้มล้าง" และ "ปฏิปักษ์" ไว้ แต่ทั้งสองคำนั้น ก็เป็นคำในภาษาไทยธรรมดาที่มีความหมายตามที่ใช้และรู้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งศาลย่อมรู้ได้เองด้วยว่า "ล้มล้าง" หมายถึง การกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือล้างผลาญให้สูญสลายหมดสิ้นไป ไม่ให้ดำรงอยู่หรือมีอยู่อีกต่อไป ส่วนคำว่า "ปฏิปักษ์" นั้นไม่จำต้องรุนแรงถึงขนาดมีเจตนาที่จะล้มล้างทำลายให้สิ้นไป ทั้งยังไม่จำต้องถึงขนาดตั้งตนเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น เพียงแค่เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางหรือสกัดกั้นมีให้เจริญก้าวหน้า หรือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย จนเกิดความชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง ก็เข้าลักษณะของการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว ส่วนประเด็นเรื่องเจตนานั้น เมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (๒2 บัญญัติชัดเจนว่า เพียงแค่ "อาจเป็นปฏิปักษ์" ก็ต้องห้ามแล้ว หาจำต้องมี เจตนาประสงค์ต่อผล หรือต้องรอให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงขึ้นจริงเสียก่อนไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นมาตรการ ป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจจะเกิดแก่สถาบันหลักของประเทศไว้ก่อน อันเป็นรัฐประศาสโนบายที่ จำเป็นเพื่อดับไฟกองใหญ่ไว้แต่ต้น มิให้ไฟกองเล็กกระพือโหมไหม้ลุกลามขยายใหญ่จนเป็นมหันตภัยที่ไม่อาจ ต้านทานได้ในวาระต่อไป

เมื่อการกระทำของผู้ถูกร้องมีหลักฐานชัดเจนว่าได้กระทำไปโดยรู้สำนึก และโดยสมัครใจอย่างแท้จริง ซึ่งคณะกรรมการบริหารพรรคของผู้ถูกร้องย่อมทราบดีว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทั้งยังเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดร

ศักดิ์ไปแล้ว แต่ยังคงดำรงอยู่ในฐานะสมาชิกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง ทั้งยังเป็นการกระท าที่วิญญูชนคนไทยทั่วไป ย่อมรู้สึกได้ว่าสามารถท าให้สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยที่เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ ต้องถูก น าไปใช้เพื่อความได้เปรียบทางการเมืองอย่างแยบยลให้ปรากฏผลเสมือนเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง และมุ่งหวัง ผลประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมือง และด ารง ความเป็นกลางในทางการเมือง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเซาะกร่อนบ่อนท าลาย เป็นเหตุให้ช ารุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง เข้าลักษณะของการกระท าที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (2) อย่างชัดแจ้งแล้ว กรณีมี หลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกร้องกราผู้ถูกร้องกระท าการตามมาตรา 92  วรรคหนึ่ง (2) จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามมาตรา 92  วรรคสอง

(สรุปคำวินิจฉัยศำลรัฐธรรมนูญที่ 3//2562 วันที่ 7 มีนำคม พุทธศักราช 2562)