ประเด็นเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ ส.ว.จำนวนไม่น้อย ตั้งป้อมไม่ลงคะแนนเสียงให้กับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ท่าท่าของพรรคก้าวไกล ไม่ถอในเรื่องดังกล่าว โดยนายธีรัจชัย พันธุมาศ ฝ่ายกฎหมายพรรคก้าวไกล ยืนกรานว่าสิ่งที่พรรคก้าวไกลประกาศไว้ ต้องเอามาทำ

อย่างไรก็ตาม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ แกนนพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนต นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ หัวข้อ “อย่าให้พระมหากษัตริย์เป็นคู่กรณีกับประชาชน” ตอนหนึ่ง ระบุถึงการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ในประเด็นให้ สำนักงานราชเลขาธิการ เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์ โดย นายนิพิฏฐ์ เห็นแย้งในประเด็นดังกล่าว  เนื่องจาก การให้สำนักราชฯ แจ้งความประชาชน เป็นการนำสถาบันมาเป็นคู่กรณีโดยตรงกับประชาชน สถาบันฯเป็นเรื่องของความมั่นคง หากประชาชนเห็นว่า ใครทำความเสียหายให้สถาบัน ก็ถือว่าเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคง ประชาชนก็ควรมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ได้ อย่าให้หน่วยงานของสถาบัน แจ้งความเป็นคู่กรณีกับประชาชนเลย เพราะสถาบันต้องอยู่เหนือความขัดแย้งกับประชาชน

อีกด้านหนึ่ง นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการ ได้เผยแพร่บทความในลักษณะถาม-ตอบเรื่อง ก้าวไกล..ทำอะไรกับ 112? โดยเนื้อหาบางตอนระบุว่า เ รื่องความผิดทางวาจา ไปพูดจาใส่ความให้เขาเสียหาย หรือดูหมิ่นให้เสียศักดิ์ศรีนี้ กฎหมายเรามีสองระบบ คือระบบคุ้มครองคนธรรมดา กับระบบคุ้มครองสถาบัน เช่น ถ้าดูหมิ่นคนธรรมดาก็โทษเบาแค่ลหุโทษ แต่ถ้าดูหมิ่นในหลวง ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ดูหมิ่นศาล ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่ถือเป็นความผิดต่อแผ่นดินข้อห้ามเคร่งครัดขึ้น หรือโทษหนักขึ้น เหตุเพราะมุ่งคุ้มครองสถาบัน ทั้งสถาบันประมุข สถาบันการปกครอง และสถาบันทางกฎหมาย กฎหมายใหม่ของก้าวไกล คือเลิกไม่คุ้มครองในหลวงด้วยระบบคุ้มครองสถาบันอีกต่อไป ให้ถือเป็นคนธรรมดาที่เผอิญเกิดมาเป็นในหลวงเท่านั้น เมื่อเลิกคุ้มครองแบบสถาบัน การคุ้มครองแบบคนธรรมดาก็เข้ามาแทน แต่เวลาเขียนเป็นกฎหมาย ก็ต้องแยกบัญญัติกำหนดเงื่อนไขทางปฏิบัติไว้เป็นพิเศษบ้าง”

อย่างไรก็ตาม มีความพยายามอธิบายกลยุทธ์ในการแก้ไขมาตรา 112 ว่าเป็น “เกลือจิ้มเกลือ” เนื่องจากการเมืองในช่วงที่ผ่านมา มักมีการหยิบยกเอาความผิดในการดูหมิ่นสถาบัน มาเป็นเหตุผลในการทำรัฐประหาร และสกัดกั้นทางการเมือง

กระนั้น เป็นเช่นนั้น การแก้ไขกฎหมาย จึงไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง และตรงจุด เพราะปัญหาอยู่ที่คนบังคับใช้กฎหมาย ไม่ได้อยู่ที่ตัวกฎหมาย

ในทางตรงกันข้าม หากใช้กลยุทธ์เกลือจิ้มเกลือเช่นนี้จนเลิยเถิด ไม่ใช่เพียงรัฐบาลจะตั้งไข่ไม่ได้ แต่ อาจเกิดผลข้างเคียงที่อยู่เหนือการควบคุม และอาจนำไปสู่สถานการณ์ “ฝีแตก” ที่ไม่มีใครชนะ มีแต่ผู้แพ้บนซากปรักหักพังของประเทศ