ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3  อำนาจอธิปไตยของไทย ในระบอบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 80 กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ส่วนประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา โดยในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน และในระหว่างที่ประธานวุฒิสภาต้องทำหน้าที่ประธานรัฐสภา แต่ไม่มีประธานวุฒิสภา และเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในระหว่างไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ให้รองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ถ้าไม่มีรองประธานวุฒิสภา ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีอายุมากที่สุดในขณะนั้นทำหน้าที่ประธานรัฐสภาและให้ดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภาโดยเร็ว

สำหรับประธานรัฐสภามีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และดำเนินกิจการของรัฐสภา ในกรณีประชุม ร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับ โดยประธานรัฐสภาและผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย และรองประธานรัฐสภามีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย 1.3 อำนาจในการตรากฎหมาย (มาตรา 81) กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบ ของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา หากไม่มีกรณีต้องดำเนินการตามมาตรา  148

กล่าวคือ ถ้าไม่มีกรณีการส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้นายก รัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

หน้าที่ของประธานสภาฯ ตามรัฐธรรมนูญนั้นมีเพียงเท่านี้

ส่วนคุณสมบัติของประธานสภาฯ นายชวน หลีกภัย อดีตประธานสภา ระบุว่า ตามข้อกำหนดประธานสภาต้องเป็นกลาง สมมติเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ต้องลาออก เพราะต้องการประธานที่เป็นกลาง ต้องเข้าใจกฎหมาย จะไปทำตามอำเภอใจไม่ได้ แม้แต่จะถ่วงเวลาก็ไม่ได้ เพราะแต่ละเรื่องมีกำหนดเวลาไว้อยู่แล้ว อีกทั้งในทางปฏิบัติเขาจะร่วมมือกัน และต้องมองความเป็นจริงว่าใครมาเป็นประธานสภาก็ตามต้องพยายามรักษาความเป็นกลางไว้          

เช่นเดียวกัน นายสุชาติ ตันเจริญ อดีตรองประธานสภา ระบุว่า การปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภาฯจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางตามกรอบรัฐธรรมนูญ ตลอดจนข้อบังคับการประชุมสภากำหนด สำหรับการบรรจุว่าการประชุมสภารวมถึงวาระการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ต่างๆ ประธานสภาฯไม่มีสิทธิที่จะเลือกบรรจุตามอำเภอใจได้ และไม่มีสิทธิที่จะเลื่อนร่างพ.ร.บ.ที่บรรจุไปแล้วขึ้นมาพิจารณา เป็นเรื่องของที่ประชุมสภาฯต้องตกลงกัน

ในบรรยากาศที่ตำแหน่งประธานสภาฯกลายเป็นสมรภูมิประลองกำลังและต่อรองทางการเมือง