เสือตัวที่ 6

การขับเคลื่อนการต่อสู้ระหว่างรัฐกับขบวนการแบ่งแยกการปกครองในพื้นที่ปลายดามขวานได้ขับเคี่ยวชิงไหวชิงพริบกันอย่างเข้มข้น ต่างฝ่ายต่างช่วงชิงจังหวะการต่อสู้กันไปมาอย่างกระพริบตาไม่ได้โดยที่ส่วนใหญ่มากกว่า 90% ขึ้นไปจะเป็นฝ่ายขบวนการแบ่งแยกการปกครองจากรัฐจะเป็นฝ่ายก้าวนำ  ฝ่ายรัฐไปอย่างน้อยก็ 2-3 ก้าวเสมอ หากแต่ฝ่ายรัฐก็ยังโต้กลับฝ่ายขบวนการร้ายแห่งนี้ได้อย่างทันท่วงทีแม้ว่ารัฐจะเป็นฝ่ายแก้เกมฝ่ายขบวนการร้ายแห่งนี้มาโดยตลอดก็ตาม และพัฒนาการของการต่อสู้ที่ล่วงเลยมาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี นับจาการปฏิบัติการปล้นปืนจากค่ายทหารพัฒนาในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 ที่ท่วงทีของการต่อสู้กับรัฐได้ปรับกลยุทธ์จากการก่อเหตุร้ายหมายสร้างความไม่สงบในวงกว้างเพื่อให้เข้าเงื่อนไขการต่อสู้ด้วยอาวุธอย่างรุนแรง อันเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของหลักการการกำหนดใจตนเองหรือการตัดสินใจเลือกอนาคตของคนในพื้นที่เองหรือที่เรียกกันว่า RSD (Right to Self Determination)

ในขณะที่การปลุกระดมบ่มเพาะแนวคิดแปลกแยกสุดโต่งจากรัฐก็ยังคงกระทำอย่างเข้มข้นอยู่อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องยาวนานเพื่อให้เกิดพลังมวลชนในการสนับสนุนการต่อสู้ด้วยอาวุธของกองกำลังติดอาวุธหัวรุนแรง อีกทั้งจะเป็นแนวร่วมมวลชนในการต่อสู้ทางความคิดในการกล่าวหาว่ารัฐมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนในพื้นที่อย่างกว้างขวางผ่านการกล่าวอ้างว่ารัฐไม่ได้ให้ความเป็นธรรมในการดำเนินการกับคนในพื้นที่อันเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งตามหลักการการกำหนดใจตนเองหรือการตัดสินใจเลือกอนาคตของคนในพื้นที่เองหรือ ที่เรียกกันว่า RSD

การต่อสู้เพื่อมุ่งหมายแบ่งแยกการปกครองจากรัฐได้พัฒนาการไปสู่การมุ่งไปสู่การแสดงออกถึงการมีอัตลักษณ์เป็นของตนเองของคนในพื้นที่ผ่านกิจกรรมการรวมตัวของกลุ่มเยาวชนและประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและขยายตัวไปในวงกว้างมากขึ้นด้วยการแต่งกายในแบบฉบับของตนรูปแบบมลายูประจำถิ่นกันอย่างเอิกเกริกและชี้ให้เห็นความสำคัญของการทำซุ้มประตูชัยประจำหมู่บ้าน พร้อมการแสดงออกด้วยการปราศรัยและการแสดงสัญลักษณ์อันพยายามบ่งบอกไปยังสาธารณะว่ามีการเรียกร้องอำนาจการปกครองกันเองของคนในพื้นที่ด้วยการกล่าวอ้างความเป็นมาทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของบรรพบุรุษของคนในพื้นที่ก่อนที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เกือบทุกครั้งของกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวมีการพูดเกี่ยวกับวัฒนธรรมการแต่งกาย และ การทำซุ้มประตูชัยของหมู่บ้านเพื่อเป็นการยกย่องถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และมีการแสดง  Art Performance เพื่อสื่อความหมายที่ตอกย้ำถึงความทรงจำทางประวัติศาสตร์เพียงส่วนเดียวที่บรรพบุรุษปู่ย่าตายายของพวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานในสมัยก่อนจากการรุกรานของศัตรูและการสูญเสียเอกราชของบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา ซึ่งเป็นเงื่อนไขอีกประการหนึ่งหลักการการกำหนดใจตนเองหรือการตัดสินใจเลือกอนาคตของคนในพื้นที่เองหรือที่เรียกกันว่า RSD นั่นคือเป็นดินแดนที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง และเป็นดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของรัฐนั้น

ขบวนการแบ่งแยกดินแดนปลายด้ามขวานที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบัน มีการดำเนินการอย่างมีเอกภาพและมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนคือการแบ่งแยกการปกครองจากรัฐสู่การปกครองดูแลกันเองของคนในพื้นที่ ด้วยการขับเคลื่อนการต่อสู้กับรัฐไม่อาจเอาชนะได้ด้วยอาวุธหรือการใช้กำลังเข้ายื้อแย่งอำนาจรัฐไปด้วยการเอาชนะกองกำลังทหารและฝ่ายความมั่นคงของรัฐไปได้ แต่กระนั้นการต่อสู้ด้วยอาวุธก็ยังคงเป็นสภาวะหนึ่งของเงื่อนไขการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองกันเองด้วยคนในพื้นที่เองตามหลักการสากลที่เรียกกันว่าสิทธิในการกำหนดใจตนเองหรือสิทธิในการตัดสินใจเลือกอนาคตของคนในพื้นที่เอง (Right to Self Determination: RSD) โดยสิทธิ RSD ดังกล่าว ได้ถูกบรรจุไว้ในสหประชาชาติ เมื่อ 14 ธ.ค. ค.ศ. 1960

การเปิดตัวแสดงแทนที่เรียกตนเองว่า ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ นั่นแสดงให้เห็นว่า BRN เร่งเดินงานการเมืองตามแนวทางสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (RSD) มากยิ่งขึ้น จนกระทั่งมีคำประกาศของขบวนการนักศึกษาแห่งชาติโดยการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาชาวปาตานีกลุ่มหนึ่งที่เชื่อในการมีอยู่ของชาติปาตานี (Bangsa Patani) เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2566 ณ ห้องประชุมศรีวังสา คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี ที่ว่า เชื่อมั่นว่าการลงประชามติ คือ สันติภาพที่ประชาชนเป็นเจ้าของ ของ Pelajar Bangsa จัดกิจกรรมให้มีการลงคะแนนเสียงประชามติว่าคนที่มาร่วมกิจกรรมในวันนั้น มีความเห็นด้วยกับการลงประชามติในการกำหนดใจตนเองหรือการกำหนดอนาคตของคนในพื้นที่ว่าประสงค์จะอยู่ในปกครองของรัฐหรือไม่ อันเป็นการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อกฎหมายสูงสุดของรัฐที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่ารัฐไทยเป็นราชอาณาจักรเดียว ผู้ใดจะแบ่งแยกมิได้ ซึ่งต่อมาหน่วยงานความมั่นคงก็ได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่อาจเรียกได้ว่าเป็นกบฏต่อราชอาณาจักร รวมทั้งกระแสสังคมที่ตีกลับแนวความคิดและการกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรงในวงกว้าง ด้วยกิจกรรมของขบวนการนักศึกษาแห่งชาติที่ถูกจัดตั้งโดย BRN ที่มีการหนุนเสริมจากนักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติที่มีการกล่าวอ้างถึงสิทธิการกำหนดอนาคตของตนเอง (RSD) จนถึงขั้นจะประกาศเอกราชนั้น ถูกกระแสตีกลับทั้งทางสังคมและทางกฎหมาย ทั้งไม่มีการตอบรับจากนานาอารยะประเทศที่กังวลกับท่าทีดังกล่าวนั้น ซึ่งนั่นทำให้บรรดาคนในขบวนการ BRN ต้องทบทวนกลยุทธ์การต่อสู้ใหม่ เพราะเห็นแล้วว่าเส้นทาง RSD เพื่อแบ่งแยกการปกครองไปเป็นเอกราชดังกล่าวนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิดเสียแล้ว