ข้อมูลจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่แนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยตอนหนึ่ง ได้ระบุถึง 8 ข้อเท็จจริงการเป็นหนี้ของคนไทย มีเนื้อหาที่น่าสนใจ จึงขอตัดตอนมานำเสนอดังนี้      

1. เป็นหนี้เร็ว คนวัยเริ่มทำงาน (อายุ 25 - 29 ปี) มากกว่า 58% เป็นหนี้ และมากกว่า 25% เป็นหนี้เสีย (non-performing loan : NPL) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล และหนี้รถยนต์/มอเตอร์ไซค์ ที่บางส่วนไม่นำไปสร้างรายได้ ทำให้เป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มอายุน้อยกว่า 25 ปี ซึ่งรวมนักเรียน นักศึกษา เป็นหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบตั้งแต่ทำงานได้ปีเดียว รูดบัตรใช้จ่าย กินเที่ยว จนเต็มวงเงินภายในไม่ถึงปี จ่ายขั้นต่ำจนดอกเบี้ยพอกพูน ท้ายสุดต้องกลายเป็นหนี้เสีย      

2. เป็นหนี้เกินตัว เกือบ 30% ของลูกหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคล มีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนสูงถึง 10 - 25 เท่าของรายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของต่างประเทศที่ห้ามไม่ให้มีหนี้เกินกว่า 512 เท่าของรายได้ต่อเดือน จนทำให้รายได้เกินกว่าครึ่งต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้ ซึ่งเป็นภาระหนี้ที่มาจากหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลเกิน 50% หนี้สองประเภทนี้จึงถือเป็นศูนย์กลางของปัญหากับดักหนี้ของคนไทย ที่สำคัญหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลมีดอกเบี้ยสูง เนื่องจากเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ระยะเวลาผ่อนสั้น ทำให้มีหนี้ที่ต้องชำระคืนต่อเดือนสูง ลูกหนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะจ่ายไม่ไหวจนกลายเป็นหนี้เสีย เห็นได้จากจำนวนบัญชีของลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสีย เป็นหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลมากกว่า 60% กู้เงินมาตลอดตั้งแต่เริ่มทำงานแรก ๆ เพื่อช่วยเหลือครอบครัวและใช้จ่ายส่วนตัว แต่เมื่อยอดหนี้สูงมาก ๆ ภาระที่ต้องจ่ายต่อเดือนก็สูงตาม จนสุดท้ายถูกหักหนี้จากเงินเดือนจนแทบไม่เหลือกิน      

3. เป็นหนี้โดยไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนหรือถูกต้อง 4 ใน 5 ของปัญหาในขั้นตอนการเสนอขายสินเชื่อของสถาบันการเงิน คือ ลูกหนี้มักได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง     ทำให้ไม่รู้และไม่เข้าใจเงื่อนไขการได้รับสินเชื่อ โดยเฉพาะดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ทั้งกรณีปกติและกรณีผิดนัดชำระ นอกจากนี้ ลูกหนี้บางส่วนยังได้รับข้อมูลด้านเดียว เช่น โปรโมชันผ่อนน้อย แต่ไม่ระบุให้ชัดว่าต้องผ่อนนาน ทำให้ลูกหนี้อาจตกอยู่ในวังวนการเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น

1. 4. เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น กว่า 62% ของครัวเรือนไทยมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินไม่เพียงพอ และหากเกิดเหตุที่ทำให้รายได้ลดลง 20% จะมีครัวเรือนเกินครึ่งที่มีเงินไม่พอจ่ายหนี้ ทำให้ต้องไปกู้จากทั้งใน และนอกระบบเพื่อดำรงชีพ และส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายคืนได้ เพราะรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งพบในหลายกลุ่มอาชีพ เช่น เกษตรกร อาชีพอิสระ ค้าขาย รับจ้าง บริการ และพนักงานโรงงาน กู้เงินหวังลงทุนทำเกษตรหารายได้ให้พอค่าใช้จ่าย แต่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ ผลผลิตไม่ได้ดังหวัง ซ้ำร้ายต้องแบกหนี้เพิ่มจากการค้ำประกันกลุ่ม จนต้องถูกยึดที่ดินที่เป็นที่ทำมาหากิน (https://app.bot.or.th/landscape/household-debt/concept/facts/) ยังมีต่อ