การจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว สะท้อนวาทะ “การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร” ขณะที่ระยะต่อไปจากนี้ สถานการณ์ของรัฐบาล ที่มีปมร้อนในหลายเรื่อง ดั่งระเบิดเวลา ก็รอการพิสูจน์มิตรร่วมทางกันตลอดรอดฝั่งหรือไม่ อย่างไร 

ขณะที่การเมืองระหว่างประเทศ ก็แหลมคม เมื่อไทยอยู่หว่างเขาควาย ในสงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์

แม้เจ้าของวาทะด้านบนนั้น จะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ แต่ก็ดูเหมือนว่า วาทะดังกล่าวเป็น “อมตวาจา”

 วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลว่า เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวส์เคานต์ พาลเมอร์สตัน ที่ 3 อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ 2 สมัย และรัฐบุรุษ  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงที่สหราชอาณาจักรกำลังเรืองอำนาจในเวทีโลก และเป็นช่วงเวลาที่สหราชอาณาจักรมีชัยเหนือจีนในสงครามฝิ่นครั้งที่สองและเกิดสนธิสัญญานานกิง หลังจากสงครามกับจีนสิ้นสุดลง รัฐบาลของพาลเมอร์สตันก็ต้องมุ่งความสนใจไปยังสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยได้สนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา ซึ่งต้องการแยกตัวจากสหรัฐอเมริกาที่นำโดยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เนื่องจากหากสหรัฐอ่อนแอลงจะกลายเป็นผลดีต่อสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ข้าวโพดจากสหรัฐฯยังมีความจำเป็นต่ออังกฤษมากกว่าฝ้ายจากสมาพันธ์ฯ ดังนั้นการเปิดศึกกับสหรัฐโดยตรงอาจได้ไม่คุ้มเสีย นอกจากนี้ รัฐบาลของพาลเมอร์สตันได้ส่งกำลังทหารไปประจำยังมณฑลแคนาดา (ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร) มากขึ้น เนื่องจากถูกชักจูงว่า สหรัฐกับสมาพันธ์อาจจับมือกันรุกรานแคนาดา

 พาลเมอร์สตัน กล่าวอภิปรายในสถาสามัญ ถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2391 ว่า

“Therefore I say that it is a narrow policy to suppose that this country or that is to be marked out as the eternal ally or the perpetual enemy of England. We have no eternal allies, and we have no perpetual enemies. Our interests are eternal and perpetual, and those interests it is our duty to follow.”

 “เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงบอกว่า มันเป็นนโยบายอันคับแคบที่จะคิดว่าประเทศนี้หรือประเทศใดที่จะถูกมองว่าเป็นพันธมิตรชั่วนิรันดร์หรือศัตรูตลอดกาลของอังกฤษ เราไม่มีมิตรแท้ และเราไม่มีศัตรูที่ถาวร ผลประโยชน์ของเราเป็นนิรันดร์และตลอดไป และผลประโยชน์เหล่านั้นเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องปฏิบัติตาม”

ภายใต้สถานาการณ์ที่การเมืองภายในและนอกประเทศรุมเร้า อมตวาจาที่ว่านี้ จะสะท้อนความจริงตลอดไปในภายภาคหน้า