2-3 ปีมานี้ เราได้ยินคำว่า “คาร์บอนเครดิต” เทรนด์ธุรกิจใหม่ที่มาพร้อมกระแสรักษ์โลก ท่ามกลางปัญหาภาวะโลกร้อน และฝุ่นพิษ PM2.5 ที่เราต้องช่วยโลก และช่วนตัวเราเอง รวมทั้งอนาคตของลูกหลาน แม้จะเต็มไปด้วยความกังขาในเรื่องของอิทธิพลของภูมิอากาศโลก  

แต่ก่อนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า “คาร์บอนเครดิต” เสียก่อน เว็บไซต์กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน (https://re-fti.org/carbon-credit-is/ )ให้นิยามของคำว่า “คาร์บอนเครดิต” เอาไว้ว่า “สิ่งนี้เปรียบเสมือนสินค้าที่แต่ละบริษัทได้มาจากการทำกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกต้นไม้  การปลูกต้นไม้เพิ่มสีเขียว นอกจากจะส่งเสริมรายได้ชุมชนจากการที่โรงงานจ้างปลูกแล้ว ยังช่วยในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ผู้ขายจะใช้วิธีการวัดขนาดต้นไม้ ความสูง ความกว้าง เส้นรอบวง ต่าง ๆของต้นไม้และนำข้อมูลทั้งหมดไปให้ อบก. (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)) เป็นผู้คำนวนคาร์บอนเครดิตที่ได้จากต้นไม้เหล่านี้ให้ หลังจากนั้นบริษัทอุตสาหกรรมนั้นจะได้ใบรับรองในการซื้อหรือขายคาร์บอนเครดิตที่ตนผลิตได้ เผื่อนำไปขายในอุตสาหกรรมอื่นที่ต้องการคาร์บอนเครดิต”

ขณะที่บทความของ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์https://www.tei.or.th/th/article_detail.php?bid=129 ระบุในตอนหนึ่งว่า  “ “คาร์บอนเครดิต” หมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่สิ่งแวดล้อม (ปกติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ จะเทียบกับสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์) รวมถึง การเก็บกัก หรือ การดูดกลับด้วย จากกิจกรรมหรือโครงการ ซึ่งสิทธิดังกล่าวจะต้องมีการรับรองโดยหน่วยรับรอง ตามระเบียบหรือวิธีการของทางราชการที่เป็นที่ยอมรับหรือเทียบได้กับระดับสากล โดยประเทศไทยก็มีหน่วยงานชื่อว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นองค์การมหาชน ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยวิเคราะห์ กลั่นกรอง และรับรองโครงการ 

ประเทศต่าง ๆ ได้ตั้งเป้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) .ในปีต่าง ๆ จากการประชุม COP26 โดยประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่กำหนดเป้าหมายไว้ที่ปี ค.ศ. 2050 และประเทศไทยกำหนดเป้าหมายไว้เป็นสองระยะ คือ ระยะยาว ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) นอกจากนี้ยังประเทศไทยยังได้กำหนดเป้าหมายระยะกลาง ในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) คิดเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593)”

อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องช่วยกันต่อสู้ เพื่อโลกใบนี้ ไปพร้อมกับมาตรการต่างๆ ทั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ การใช้พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก เพื่อลดผลกระทบ โดยไม่หยุดยั้งการพัฒนาประเทศ