จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 6.4 ที่รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ที่ระดับความลึก 9 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร

ขณะที่มีความห่วงใยสถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นตามมา จึงขอนำการรปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ ที่เขียนโดยบุรินทร์ เวชบรรเทิง ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว มีเนื้อหาดังนี้ “ข้อปฏิบัติเมื่อขณะเกิดแผ่นดินไหว…อย่าตกใจ..มีสติ 

-ในอาคาร มุดใต้โต๊ะ เก้าอี้ พิงผนังด้านใน แล้วอยู่นิ่งๆ ถ้าไม่มี โต๊ะ ใช้แขนปิดหน้า ปิด ศรีษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่าง กระจก หน้าต่าง และเลี่ยงบริเวณที่ สิ่งของหล่นใส่ หรือล้มทับ เช่น โคมไฟ ตู้ ถ้ายังนอนอยู่ ให้อยู่บนเตียง ใช้หมอนปิดบังศรีษะ หลีกเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของ หล่นใส่ อยู่บริเวณที่ปลอดภัย

ใช้ช่องประตูเป็นที่หลบภัยถ้าอยู่ใกล้อยู่ชิดผนังด้านในอาคาร ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ ปลอดภัย อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่ คาดว่าหรือตระหนักเสมอว่า ไฟฟ้าอาจดับ หรือสปริงเกอร์อาจท างาน หรือ มีเสียงเตือนไฟไหม้  อย่าใช้ลิฟต์ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์กดทุกปุ่มและออกจากลิฟต์ ทันที อย่ากรูกันวิ่งออกนอกอาคาร  เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้ว ถ้าเกิดไฟไหม้ช่วงแรก ให้รีบดับไฟ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของอาคาร หากปลอดภัยสามารถกลับ เข้าในอาคารได้  หากเป็นแผ่นดินไหวใหญ่อาจเกิดแผ่นดินไหวตามมา After Shock

-นอกอาคาร ให้อยู่ด้านนอก ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากอาคาร เสาไฟ สายไฟฟ้า ต้นไม้ ป้าย โฆษณา หรือสิ่งของที่อาจหล่นใส่ • ในรถ จอดรถเมื่อสามารถจอดได้โดยปลอดภัย และในที่ซึ่งไม่มีของหล่นใส่ อยู่ ให้ห่างอาคาร ต้นไม้ ทางด่วน สะพานลอย เชิงเขา เป็นต้น • ติดอยู่ในซากอาคาร อย่าติดไฟ อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง เพื่อเป็นสัญญาณต่อ หน่วยช่วยชีวิต ใช้นกหวีด การตะโกนอาจสูดสิ่งอันตรายเข้าร่างกาย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้กำลังใจต่อกัน

หลังแผ่นดินไหว เตรียมรับมือ Aftershocks ซึ่งทั่วไปมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ก็ อาจสร้างความเสียหายเพิ่มเติม เปิดวิทยุโทรทัศน์ฟังข่าวเพิ่มเติม เปิดตู้ด้วยความระมัดระวัง ระวังสารเคมีที่ตกหล่น และสายไฟฟ้าชำรุด ใส่รองเท้า หลีกเลี่ยงบริเวณสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย หรือพังทลายยกเว้น ได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ แจ้งเจ้าหน้าที่ถึงจำนวนและตำแหน่งที่มีผู้ติดอยู่ในอาคาร หากทราบ หากอยู่ชายฝั่งใกล้ปากแม่น้ำให้รีบขึ้นที่สูง บริเวณที่ปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณที่เคยมีประวัติการเกิดอันตรายจากสึนามิอย่าเชื่อข่าวลือ และอย่าแพร่ข่าวลือ

ในข้อเขียนดังกล่าวยังสนับสนุนให้มีกฎเกณฑ์ในการสร้างอาคารให้ต้านทานแรงแผ่นดินไหว หากมีใช้แล้วก็เร่งรัดให้มีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้มีการตรวจสภาพอาคาร โรงเรียน โรงพยาบาล โรงมหรสพ โรงแรม ศูนย์การค้า หรืออาคารอื่นๆที่ใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก และให้มีการเสริมสร้างความแข็งแรงเพื่อต้านทาน แรงแผ่นดินไหวไดสนับสนุนให้มีการรื้อถอนอาคารเก่า มีสภาพไม่แข็งแรง จัดกิจกรรมในชุมชนแต่ละแห่ง เพื่อการซักซ้อมและเตรีมรับภัยแผ่นดินไหว สนับสนุนการวิจัยด้านต่างๆที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว”  (https://earthquake.tmd.go.th/documents/file/seismo-doc-1404703388.pdf)