รัฐบาลเพิ่งประกาศแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและยกระดับเป็น “วาระแห่งชาติ”  ในขณะที่เดียวกันมีรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 3 ปี 2566 ของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ไตรมาสสอง ปี 2566 หนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ความสามารถในการชำระ หนี้ของครัวเรือนปรับลดลงเล็กน้อย

โดยหนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น ในไตรมาสสอง ปี 2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.07 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับฤดูกาลหดตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาส ก่อนหน้า โดยคิดเป็นสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในของประเทศ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 90.7 คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

รายงานระบุด้วยว่า สินเชื่อเกือบทุกประเภทขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการขยายตัว (contribution of growth) ของหนี้สิน ครัวเรือนมีที่มาจากหนี้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเป็นหลัก เนื่องจากเป็นหนี้ที่มี สัดส่วนมากเป็นสองอันดับแรกของหนี้สินครัวเรือนทั้งหมด โดยในไตรมาสสอง ปี 2566 สินเชื่อเพื่อซื้อ อสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 4.9 ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ตามความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ทยอยฟื้นตัว แม้จะมีปัจจัยกดดัน จากต้นทุนการกู้ยืมหรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น ด้านสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น ขยายตัวร้อยละ 5.5 ปรับเพิ่ม จากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 5.4 สอดคล้องกับความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากการใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทน ที่เร่งตัวสูงขึ้น4 ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลง จากร้อยละ 5.7 ส่วนสินเชื่อยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากการปรับ เงื่อนไขการปล่อยกู้ที่เข้มงวดขึ้น

หนี้เสียเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหนี้ยานยนต์ โดยในไตรมาสสอง ปี 2566 หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ (NPL) ของธนาคารพาณิชย์ มีมูลค่า 1.47 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.71 ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 2.68 จากไตรมาสก่อน โดยประเภทสินเชื่อที่มีปัญหามากขึ้นคือ สินเชื่อยานยนต์ที่เริ่มเห็นหนี้ NPL เพิ่มขึ้น โดยหนี้เสียคงค้างของสินเชื่อยานยนต์ขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 40.9 หรือมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.05 เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 1.89 ของไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่สัดส่วนดังกล่าว ของสินเชื่อประเภทอื่นกลับทรงตัวหรือลดลง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณา หนี้ที่มีการค้างชำระ 1 - 3 เดือน (SML) พบว่า ภาพรวมสัดส่วน SML ต่อสินเชื่อรวมทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.7 แต่สินเชื่อยานยนต์ ยังเป็นสินเชื่อประเภทเดียวที่มีสัดส่วนดังกล่าวยังเพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่ ร้อยละ 14.4 เพิ่มต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่เจ็ดติดต่อกัน

รายงานอ้างข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า มูลค่าหนี้เสียยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสสอง ปี 2566 มีมูลค่าหนี้เสียคงค้าง 3.7 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.0 จากไตรมาสก่อน และมีจำนวนบัญชีหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 ล้านบัญชี จาก 4.4 ล้านบัญชี เมื่อเทียบกับไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 ซึ่งต้องมีการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้ ในกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถกลับมาชำระคืนหนี้ได้เป็นปกติ

ทั้งนี้เราเห็นว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน ต้องควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้ การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ ลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน