วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ยังสถิตในหัวใจของพสกนิกรชาวไทย น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระราชดำรัสที่พระองค์ทรงพระราชทานในวาระต่างๆ

ทั้งนี้ จึงขอหยิบยกเอาความจากการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ธรรมาภิบาล กับการบริหารงานตามรอยพระยุคลบาท” โดยดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ซึ่งเป็นผู้ที่ถวายงายใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ได้บรรยายเอาไว้ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ห้กับผู้บริหารและพนักงาน บมจ. กสท โทรคมนาคม(https://www.nc.ntplc.co.th/uploads/files/Dr_Sumetr.pdf) มาเผยแพร่ดังนี้

“พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสอนหลักการดำรงชีวิต ต้องประกอบด้วยการรักษาสมดุล ของธาตุทั้ง 4 (ดิน น้ า ลม ไฟ) ขอให้ยึดหลักคุณธรรม คิดก่อนพูดหรือกระท าการใด ๆ จงมีศีล สติ เพื่อให้บรรลุ ปัญญา ส่วนหลักในการครองแผ่นดิน ซึ่งเทียบเคียงได้กับหลักการบริหารงาน ประกอบด้วย 1. ครอง : ความรัก ความเมตตา ความรับผิดชอบ 2. ธรรม : ความดีและความถูกต้อง 3. ประโยชน์สุข : วิธีการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์น ามาซึ่งความสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเน้นเรื่อง ความดีและความถูกต้อง ทรงสอนให้ เป็นคนดี มีความรับผิดชอบ อย่าฉวยโอกาส แม้การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ควรหลีกเลี่ยงหาก การกระทำนั้นผิดจรรยาบรรณ ซึ่งก็คือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เน้นเรื่อง การอดทนและอดกลั้น ใช้ปัญญาไม่ใช้อารมณ์ หาเหตุของการขัดแย้ง แล้วหาทางแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งในการปฏิบัติงานต่างๆร่วมกัน

ดร.สุเมธฯ ยังกล่าวถึงคุณธรรม 8 ประการ ส าหรับนักบริหาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กร 2. ยอมรับและเห็นคุณค่าของลูกน้อง 3. กระจายอ านาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา 4. สร้างความแข็งแกร่งให้องค์กรด้วยการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ 5. แยกเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัว 6. รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นก่อนการตัดสินใจ 7. สร้างความศรัทธาเชื่อมั่น โดยท าตัวให้น่าศรัทธาเชื่อมั่น 8. ส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชาให้พัฒนาตนเอง

 ดร.สุเมธฯ กล่าวอีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมาภิบาลในการครองแผ่นดิน ประกอบด้วย 1. ทาน : การให้ การแบ่งปัน โดยไม่หวังผลประโยชน์ 2. ศีล : การตั้งอยู่ในศีล มีความประพฤติดีงาม 3. บริจาค : การให้ การเสียสละคนละเล็กคนละน้อย เพื่อประโยชน์สุขของหมู่คณะ 4. อาชวะ : ความซื่อสัตย์สุจริต 5. มัททวะ : ความอ่อนโยน ความมีอัธยาศัยดีงาม 6. ตปะ : ความเพียรพยายาม ไม่ให้ความมัวเมาเข้าครอบง าจิตใจ การข่มกิเลส 7. อโกธะ : ความไม่โกรธ มีเมตตา 8. อวิหิงสา : ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น 9. ขันติ : ความอดทนอดกลั้น 10. อวิโรธนะ : ความไม่คลาดจากธรรม ยึดความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลัก