แม้การซื้อสินค้าเงินผ่อนรูปแบบใหม่คือ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy Now Pay Later  (BNPL) จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินค้าได้ง่าย สำหรับผู้มีรายได้น้อย และมีแนวโน้มธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

แต่ก็มีประเด็นข้อห่วงใย โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนคนรุ่นใหม่ อายุ 15-27 ปี หรือ Gen Z ที่มีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าจำพวกเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ เป็นความเสี่ยงที่อาจก่อหนี้เกินตัวในอนาคตได้

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่  BNPL กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น ขณะที่ผู้ใช้ BNPL ยังเป็นกลุ่มที่มี หนี้หลายประเภท โดยผู้ใช้บริการ BNPL กว่าร้อยละ 62.3 ระบุว่าสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น หากมีบริการ ผ่อนชำระ BNPL อีกทั้ง BNPL ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น โดยผู้ใช้ร้อยละ 45.2 มีการใช้จ่ายเงิน เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ในรายงานฯ ระบุว่าข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับการให้ข้อมูลของบริษัท Atome ประจำประเทศไทย ที่ระบุว่า BNPL ช่วยเพิ่มมูลค่าการซื้อ เฉลี่ยต่อครั้งถึงร้อยละ 35 รวมถึงผลสำรวจ Lending tree ของสหรัฐอเมริกา ที่ชี้ให้เห็นว่า BNPL ทำให้ 2 ใน 3 ของผู้ที่เคยใช้บริการมีการใช้เงินมากกว่าเดิม ซึ่งการกระตุ้นการใช้จ่ายที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการมีโอกาสในการก่อหนี้ มากขึ้น สะท้อนได้จาก ผลการสำรวจที่พบว่า ผู้ใช้บริการ BNPL ถึงร้อยละ 49.4 มีภาระหนี้ที่ต้องชำระอยู่แล้ว (ไม่รวมหนี้ BNPL) โดยคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ มีระยะเวลา การผ่อนชำระสั้น และมีอัตราดอกเบี้ยสูง ทำ ให้มีภาระในการชำระหนี้ต่อเดือนสูง

ดังนั้น แม้ว่าวงเงินสินเชื่อ BNPL จะไม่ได้มีมูลค่าสูงนัก แต่การกระตุ้นการใช้จ่ายที่ทำให้ก่อหนี้หลายประเภทพร้อมกันอาจนำไปสู่ความเสี่ยง ในการผิดนัดชำาระหนี้และเกิดหนี้เสียในระยะถัดไป โดยเฉพาะหากได้รับการปรับเพิ่มวงเงิน

กรณีต่อมาคือ ผู้ใช้บริการ BNPL ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจะซื้อของไม่จำเป็นมากขึ้นหากมีการผ่อนชำระ รวมทั้งเห็นด้วยกับการใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลกับตนเองก่อนการตัดสินใจออมหรือลงทุน โดยร้อยละ 57.6 ของผู้ใช้ BNPL เห็นด้วยกับการจะซื้อสินค้าที่ไม่มีความจำเป็นหากสามารถผ่อนชำระได้ ขณะที่ผู้ที่ไม่เคยใช้BNPL กลับเห็นด้วย กับทัศนคติดังกล่าวเพียงร้อยละ 31.3 ขณะเดียวกันผู้ใช้ BNPL ร้อยละ 47.5 ยังเห็นด้วยกับการจ่ายเพื่อให้รางวัล หรือตอบสนองความสุขของตนเองก่อนคิดถึงการออมและการลงทุน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้บริการ Gen Z มีทัศนคติ ดังกล่าว มากถึงร้อยละ 51.7 สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้ BNPL อาจขาดวินัยทางการเงินโดยเฉพาะในการสร้างนิสัย การออมและการลงทุน

และกรณีสุดท้ายคือ ผู้ใช้บริการ BNPL ได้รับข้อมูลจากผู้ให้กู้ยืมยังไม่ครบถ้วน และต้องการการกำกับดูแลจากภาครัฐ โดยเมื่อสอบถามผู้ที่เคยใช้บริการ BNPL ถึงการแจ้งข้อมูลของผู้ให้บริการ พบว่า ร้อยละ 15.3 ไม่เคยได้รับแจ้งหรือ ได้รับแจ้งบางครั้งเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และร้อยละ 15.6 ไม่เคยได้รับแจ้งหรือได้รับแจ้งบางครั้งเกี่ยวกับข้อก าหนด เมื่อค้างชำระหรือผิดนัดชำระ ขณะเดียวกัน ผู้ใช้บริการ BNPL ร้อยละ 34.0 ที่ให้ข้อเสนอแนะถึงความต้องการให้ ภาครัฐกำกับดูแลบริการ BNPL ผ่านการออกกฎหมายควบคุมและกำกับดูแลร้านค้าผู้ให้บริการ และร้อยละ 29.9 ต้องการให้ควบคุมอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูงเกินไป ทั้งนี้ การไม่ได้รับและได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน อาจทำให้ผู้ใช้บริการ ตัดสินใจผิดพลาดและไม่ทราบถึงข้อควรระวังในการใช้ BNPL

เราเห็นว่า การผ่อนสินค้ารูปแบบใหม่นี้ เป็นประเด็นที่ต้องติดตามและระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ติดกับดัก BNPL และก่อให้เกิดปัญหาใหม่ และปัญหาใหญ่ลุกลามในอนาคต