ปัญหาการว่างงาน เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม อาชญากรรมและสุขภาพทั้งกายและใจ

จึงเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศต้องแก้ไข ทั้งการว่างงานตามฤดูกาล และการว่างงานจากวิกฤติ เช่น โควิด หรือดิจิทัล ที่เทคโนโลยีนำสมัยเข้ามาทดแทน

สำหรับประเทศไทย มีข้อมูลที่น่าพิจารณา จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า “ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 มีอัตราการจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ทั้งภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดียังมีแรงงานส่วนหนี่งที่มีชั่วโมง การทำงานน้อยลง อาจส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอ

สถานการณ์ด้านแรงงานในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2566 มีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 40.53 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีงานทำ 40.09 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.40 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.0 ผู้รอฤดูกาล 0.04 ล้านคน ส่วนผู้ที่อยู่ นอกกำลังแรงงาน 18.43 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานบ้าน (ดูแลบ้านตนเอง) เรียนหนังสือ ยังเด็ก ชรา ป่วยหรือพิการจนไม่สามารถทำงานได้ สรุปผลที่สำคัญ สำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2566 ไตรมาสที่3 ปี 2566การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ทั้งภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดียังมีแรงงานส่วนหนี่งที่มีชั่วโมงการทำงานน้อยลง อาจส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอ เมื่อเปรียบเทียบการมีงานทำในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2566 กับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565) พบว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้น 0.52 ล้านคน (จาก 39.57 ล้านคน เป็น 40.09 ล้านคน) หรือคิดเป็น ร้อยละ 1.3 อัตราการมีงานทำเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 68.0 หลังจากคงที่อยู่ที่ ร้อยละ 67.4 ตั้งแต่ไตรมาส 3 พ.ศ.2565

การจ้างงานโดยรวมเพิ่มขึ้น 1.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565) (จากผู้มีงานทำ 39.57 ล้านคน เป็น 40.09 ล้านคน) เป็นการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.0% (จาก27.17ล้านคน เป็น 27.45ล้านคน) ส่วนการจ้างงานภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.9% (จาก 12.40 ล้านคน เป็น 12.64 ล้านคน)

ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของลูกจ้างภาคเอกชน มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 46.1ชั่วโมง/สัปดาห์ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565) (46.9 ชั่วโมง/สัปดาห์) และลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (46.7 ชั่วโมง/สัปดาห์) ชี้ให้เห็นว่าแม้แรงงานจะมีงานทำ แต่ยังมีการทำงานไม่เต็มเวลาปกติ

จำนวนผู้ว่างงาน ในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2566 มีทั้งสิ้น 4.01 แสนคน ลดลง 0.90 แสนคน จากในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565) หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 1.0 โดยปรับลดลง อย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2564 ที่มีอัตราการว่างร้อยละ 1.7 เป็นร้อยละ 1.0 ตามลำดับ”

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราว่างงานที่ลดลง ส่งผลให้เกิดความมั่นใจทั้งภาพรวมของการค้า การลงทุน กำลังซื้อของผู้บริโภค ที่จะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ภายใต้ความคาดหวังประชาชน ที่รัฐบาลเศรษฐาต้องแบกรับในการผลักดันเศรษฐกิจ ให้ดีขึ้นทั้งในแง่ข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมและความรู้สึกของประชาชน