ช่วงปลายปี 2566 มีข้อมูลที่น่าสนใจที่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลอาจต้องคิดอ่านกัน ว่าจะดำเนินรับมือและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนอย่างไร โดยมีการรายงานดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI) โดย สถาบันดีคิว (DQ Institute) เป็นองค์กรมันสมองระดับนานาชาติ โดยอุทิศตนเพื่อกำหนดมาตรฐานระดับโลกในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และรับรองความปลอดภัย การสนับสนุน และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับบุคคล องค์กร และประเทศต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล

ดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI) เป็นตัวชี้วัดระดับชาติที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ติดตามสถานะความปลอดภัยออนไลน์ของบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คะแนน COSI มาจากการจัดอันดับคะแนนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก 6 ประเภทตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงบริษัทไอซีที โดยประเมินความพยายามในการปรับปรุงความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของเด็กภายในประเทศ ครอบคลุม 12 หัวข้อและตัวชี้วัด 39 รายการ

โดยประเทศต่าง ๆ นำ COSI ไปใช้ศึกษาส่วนที่ต้องปรับปรุงในด้านปัญหาด้านความปลอดภัยทางออนไลน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักทั้ง 6 ประเภทจากการชี้วัดประสิทธิภาพระดับโลก ช่วยให้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และดำเนินการความคิดริเริ่มที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น และทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถประสานงานความพยายามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงความปลอดภัยทางออนไลน์ของเด็ก ขณะเดียวกันก็วัดความก้าวหน้าของประเทศในเชิงปริมาณได้

ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI) ประจำปี 2566  พบว่าเด็กและวัยรุ่นอายุ 8-18 ปีทั่วโลกสูงเกือบ 70% ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้งในปีที่ผ่านมา สถิติที่น่าตกใจนี้แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่เริ่มต้นการจัดทำดัชนีในปี 2561 โดยสถาบันดีคิวขนานนามสถานการณ์นี้ว่าเป็น "การระบาดใหญ่ทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง"

ดร. ยูฮยอน ปาร์ค ผู้ก่อตั้งสถาบันดีคิว ระบุว่า เราได้เห็นอัตราการเสี่ยงทางไซเบอร์ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องถึง 70% เป็นเวลา 7 ปีในเด็กและเยาวชนอายุ 8-18 ปี ตอนนี้เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  “การระบาดใหญ่ทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง” ทุกวันนี้ ความแพร่หลายของเอไอรู้สร้าง (generative AI) เมตาเวิร์ส และอุปกรณ์ XR (เทคโนโลยีความจริงขยาย) ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ๆ มากยิ่งขึ้น แต่มีการพูดคุยอภิปรายเรื่องผลกระทบที่เป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศเหมือนเช่นความท้าทายด้านสภาพอากาศ และเราไม่สามารถรีรอได้อีกต่อไป

COSI รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็ก 351,376 คน ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ในดัชนีฉบับล่าสุดนี้มีการจัดมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับเพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้นำในอุตสาหกรรมสามารถระบุจุดแข็งและสิ่งที่ควรปรับปรุง เพื่อดำเนินการโครงการริเริ่มและมาตรการด้านความปลอดภัยทางออนไลน์ของเด็กได้อย่างแม่นยำ จากดัชนีดังกล่าว สหราชอาณาจักร เยอรมนี และจีน มีประสิทธิภาพสูงสุดในหลายมิติ โดยมีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก: สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย การสนับสนุนจากครอบครัว: อินเดียและสิงคโปร์
การศึกษาด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัลในโรงเรียน: อิตาลีและไต้หวัน ความรับผิดชอบของบริษัทไอซีที: เยอรมนีและฝรั่งเศส
นโยบายและข้อบังคับของรัฐบาล: แคนาดาและฝรั่งเศส โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี: เกาหลีและจีน
           

ทั้งนี้เราเห็นว่า รายนามของประเทศต่างๆดังที่ มีการประกาศออกมานั้น เป็นตัวอย่างให้ไทยเราได้ถอดบทเรียนของประเทศต่างๆเหล่านั้น นำมาปรับประยุกต์ใช้ให้ผสมผสานกับไทย โดยเร่งด่วน