สิทธิตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพและต่อยอดมาอย่างต่อเนื่องหลายรัฐบาล

เมื่อมาถึงมือของรัฐบาลเพื่อไทยย่อมได้รับการจับตาเป็นพิเศษ เนื่องจากรากเหง้าของนโยบาย “30บาทรักษาทุกโรค”นั้น มาจากพรรคไทยรักไทย อันมาจากผลึกความคิดของ น.พ. สงวน นิตยารัมภ์พงษ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริหารสาธารณสุขของผู้มีรายได้น้อย

ปัจจุบันมีคนไทยได้สิทธิ30บาทรักษาทุกโรคกว่า  47 ล้านคน แต่ที่ผ่านมายังพบความไม่สะดวกสบายจากการใช้บริการในหลายประเด็น เช่น หากจะใช้สิทธิข้ามเขต จะต้องขอใบส่งตัว ซึ่งผู้ป่วยจะต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอ จับบัตรคิว รอคิว และรอออกใบส่งตัวกว่าครึ่งวัน หรือการใช้สิทธิบัตรทองสามารถใช้สิทธิได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น

รัฐบาลนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน จึงยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เป็น “30บาทรักษาทุกที่”  เพื่อปิดช่องโหว่การให้บริการด้านสาธารณสุข โดยนำร่อง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา  และเข้าสู่ระยะที่ 2 ปฏิบัติการ 8 จังหวัดเป้าหมาย คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี พังงา หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ นครราชสีมา และสระแก้ว  ตั้งเป้า Kick off เดือนมีนาคม 2567 พร้อมเตรียมขยายผลทั่วประเทศภายใน 1 ปี เพื่อขยายการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ ให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้เท่าเทียม

น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เปิดเผยว่าขณะนี้ในพื้นที่ 4 จังหวัด นำร่องนโนบาย 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ระยะที่ 1 ในส่วนที่เป็นบทบาทของ สปสช. ค่อนข้างประสบความสำเร็จในการสร้างระบบนิเวศการให้บริการภายใต้นโยบาย โดยมีหน่วยนวัตกรรมบริการสาธารณสุขวิถีใหม่ เช่น คลินิกทันตกรรม คลินิกเวชกรรม ร้านยา ฯลฯ ที่มาเข้าร่วมให้บริการเพิ่มขึ้นถึง 541 แห่ง เกินจากเป้าหมายที่วางไว้ที่ 478 แห่ง ซึ่งช่วยให้ประชาชนมีหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจมากขึ้น รวมถึงการเชื่อมข้อมูลทุกระบบเพื่อการเบิกจ่ายในทุกหน่วยบริการ การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจสอบก่อนจ่ายให้หน่วยบริการ และการใช้ระบบการแสดงตนยืนยันสิทธิหลังสิ้นสุดบริการ เหล่านี้ทำให้หน่วยบริการใน 4 จังหวัดนำร่องกว่า 70% ได้รับค่าบริการจาก สปสช. ภายใน 3 วัน ตามเป้าหมายที่วางไว้ และป้องกันการซ้ำซ้อนของข้อมูลได้อย่างดี โดยข้อมูลจากวันที่ 7 ม.ค. – 17 ก.พ. 2567 สปสช. จ่ายค่าบริการให้กับหน่วยบริการแล้วถึง 71,556,068 บาท

เราดำเนินการไปใน 4 จังหวัดนำร่อง ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้เสียงตอบรับเชิงบวกจากทุกภาคส่วนว่านับว่าเป็นความสำคัญในการเป็นก้าวแรกที่ได้เริ่มพลิกโฉมระบบบริการสุขภาพ และหลังจากนี้จะพัฒนาระบบและยกระดับขึ้นต่อไป โดยเป้าหมายของเราก็คือจะขยายไปทั่วประเทศในสิ้นปีนี้

สำหรับความพร้อมของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ระยะที่ 2  นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ข้อมูลภาพรวมมีหน่วยบริการนวัตกรรมวิถีใหม่ได้สมัครเข้าร่วมให้บริการใน 8 จังหวัดแล้ว จำนวน 451 แห่ง ประกอบด้วย ร้านยา 281 แห่ง คลินิกการพยาบาล 86 แห่ง ทันตกรรม 50 แห่ง กายภาพบำบัด 12 แห่ง คลินิกเวชกรรม 8 แห่ง คลินิกเทคนิคการแพทย์ 5 แห่ง และคลินิกแพทย์แผนไทย 4 แห่ง เป็นต้น เมื่อแยกข้อมูลรายจังหวัด พบว่าแต่ละจังหวัดมีหน่วยบริการนวัตกรรมวิถีใหม่รวมให้บริการเพิ่มเติม ดังนี้ 1.เพชรบูรณ์ 55 แห่ง 2.นครสวรรค์ 73 แห่ง 3.สิงห์บุรี 13 แห่ง 4.สระแก้ว 35 แห่ง 5.หนองบัวลำภู 35 แห่ง 6.นครราชสีมา 205 แห่ง 7.อำนาจเจริญ 19 แห่ง และ 8.พังงา 16 แห่ง 

กระนั้น เราเห็นว่านโยบายที่ดี ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการด้านงบประมาณที่ดี เพื่อให้เป็นนโยบายที่ยั่งยืน ไม่ให้กระทบต่อสภาพคล่องของทั้ง  สปสช. โรงพยาบาล หน่วยบริการนวัตกรรมวิถี