ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] จากการพยายามของจีนในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ความใฝ่ฝันก็เป็นจริง คือเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่กล้าท้ารบทำสงครามเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาอยู่ในขณะนี้ และในปี 2020 เขาจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกด้านเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ พบว่ามีถึง 7 ประเทศใน top10 ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพเศรษฐกิจการขยายตัวสูงทั้งในเอเชียและละตินอเมริกา และในปี 2030 อีก 11ปีข้างหน้า ตัวเลขคาดการณ์จะพบว่า จีนเป็นผู้นำแซงสหรัฐอเมริกาแบบไม่เห็นฝุ่น ดึงอินเดียขึ้นมารั้งเป็นอันดับ 2 ของโลก จีน 64.2 ล้านล้านดอลล่าร์ อินเดีย 46.3 อเมริกา 31.0 อินโดนีเซีย 10.1 ตุรกี 9.1 บราซิล 8.6 อียิปต์ 8.2 รัวเซีย 7.9 ญี่ปุ่น 7.2 เยอรมนี 6.9 จะพบว่าประเทศในเอเชียเข้าอันดับ 1/10 ของโลก ถึง 4 ประเทศ อินโดนีเซีย ซึ่งแข่งขันกับไทยมาติดๆทิ้งไทยไปแล้ว เพราะประชากรเขามีมากกว่า และนำประชากรเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ได้เร็วกว่า ไทยคงต้องจ้องจับตาดูว่าประเทศไทยมีโอกาสเติบโตสูง เข้าไปเป็นพันธมิตจรทางการค้ากับเขาให้ได้ โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ซึ่งไทยทำมาตลอด พูดถึงการสร้างคนเข้าสู่โลกแห่งศตวรรษที่21 แล้ว มหาวิทยาลัยต่างปรับตัวกันมาก นอกจากจะเน้นการวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนเพื่อสร้างรายได้และสร้างประเทศแล้ว ยังสามารถประคองตัวเองให้รอดพ้นจาก disruption technology ที่อาจจะทำให้ผู้เรียนน้อยลงเรื่อยๆถึงขั้นไม่สามารถอยู่รอดได้ มหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งพยายามร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีศักยภาพมาร่วมเปิดการเรียนการสอนในไทย แต่หลายมหาวิทยาลัยยังติดยึดกับการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของจีนเปิดหลักสูตร s-curve รองรับเศรษฐกิจไทย เป็นวิธีคิดการสร้างคนรุ่นใหม่ บางมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยสยาม ซึ่งเป็นเอกชน เอาหลักคิดการสร้างผู้นำคนในองค์กร ด้วยการเปิดหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสำหรับผู้นำองค์กรให้มีมุมมองทั้ง 4 มิติ คือ Change, Vision, Freedom และ Idealism นับว่าเป็นบทบาทที่น่าจับตามองว่ามหาวิทยาลัยเอกชนต่างหายุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆให้กับคนไทยในยุคศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยอีกส่วนหนึ่ง เน้นการจับเอายุทธศาสตร์การสร้างเมืองใหม่ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศภาคเหนือตอนบนให้เป็น Thailand Food Valley ใน 4 จังหวัดตอนบน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เชียงใหม่ เน้นการเป็นอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าสูงและ Food Valley ศูนย์กลางการบินภูมิภาค เป็นเมืองท่องเที่ยวและธุรกิจ MICE - แม่ฮ่องสอน เน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการค้าชายแดน - ลำพูน เน้นอุตสาหกรรมสะอาด สร้างมูลค่าเพิ่มลำใย และท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเชียงใหม่ - ลำปาง เน้นอุตสาหกรรมเซรามิค ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม หากมหาวิทยาลัยตื่นตัว เตรียมรองรับยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งด้านการสร้างสมาร์ทซิตี้ เช่น จ.ขอนแก่น โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแกนนำ ส่วนภาคใต้ มี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้นำ ส่วนภาคกลาง มีหลายมหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาเช่นนี้ ไทยน่าจะเป็นผู้นำในอาเซียนได้ เพียงแต่การเมืองของรัฐบาลใหม่ ต้องหาทางความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพมาร่วมกันพัฒนาประเทศ โอกาสประเทศไทยจะเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้