ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและนับวันวิกฤตการณ์ต่างๆ ก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบทั้งโดยอ้อมต่อประชากร รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ยกตัวอย่างเพียงด้านเดียวคือวิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรน้ำ เมืองไทยกำลังเผชิญวิกฤติหลายด้านเช่น 2.1 การขาดแคลนน้ำ การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำของครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในฤดูแล้งพบว่า เกิดการขาดแคลนน้ำที่จะใช้ทำน้ำประปาในหลายพื้นที่ รวมทั้งขาดแคลนน้ำในการใช้เพาะปลูกและอุตสาหกรรมด้วยเช่น ในจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี เป็นต้น 2.2 น้ำเสียและสารพิษในน้ำ การทิ้งน้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมถึงไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคหรือใช้ในการเกษตรได้ เช่นน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และลำคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น 2.3 น้ำท่วม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี โดนเฉพาะ.ในช่วงฤดูฝนที่ได้รับอิทธิพลจากพายุต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรบ้าเรือน และทรัพย์สินเสียหาย ในบริเวณและพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ สุโขทัย และพิจิตร นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ 2.4 น้ำทะเลหนุน ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีเป็นเวลาที่ปริมาณน้ำจากแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทยน้อยลง ทำให้ทะเลหนุนเข้ามาในลำน้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน เป็นต้น การที่น้ำทะเลหนุนมาสูง หมายถึง น้ำเค็มจะเข้ามาปะปนกับน้ำจืด ทำให้สัตว์น้ำจืดตายสวนผลไม้และบ้านเรือนเสียหาย รวมถึงประชาชนไม่สามารถใช้น้ำได้โดยเกิดขึ้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดสมุทรปาการ และกรุงเทพฯ อยู่ทุกปี 2.5 น้ำบาดาลลงระดับ น้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดินได้ลดระดับต่างลงในทุกปีของพื้นที่ จนกลายเป็นที่วิตกกว่าน้ำเค็มจากทะเลไหลเข้ามาแทนที่ทำไม่สามารถนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้ เช่น ในจังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี กรุงเทพมหานคร มีการขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุดตามมาอีกด้วย 2.6 ความตื้นเขินของแหล่งน้ำ เกิดจากตะกอน ดินทราย ที่ถูกพัดมากับกระแสน้ำ เป็นสาเหตุทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน น้ำไหลผ่านไปได้ช้า ทำให้ในช่วงฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมากจะทำให้เกิดน้ำท่วม เช่น ลำน้ำมูล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ลำน้ำอิง จังหวัดเชียงราย เป็นต้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ผักตบชวาจะเป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน บริเวณที่มีผักตบชวาจำนวนมากจนก่อให้เกิดปัญหา เช่น แม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม แม่น้ำปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น นอกจากวิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรน้ำแล้ว เมืองไทยยังมีวิกฤติด้านดื่น ๆ ด้วย เช่น เรื่อง ดิน, เรื่องป่าไม้ ฯลฯ ความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในเมืองไทยนั้นชัดแจ้งแล้ว หากรัฐและประชาชนยังไม่ใส่ใจฟื้นฟู ปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศจะยิ่งเป็นภัยร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำลายการพัฒนาในทุกด้าน เพราะต้นทุนทุกอย่างในประเทศไทยจะสูงขึ้น ตั้งแต่ต้นทุนในการผลิต, ต้นทุนการดำรงชีวิต, ต้นทุนการฟื้นฟูระบบนิเวศ