“ความจริงเชิงประจักษ์” หมายถึงเรื่องเกิดขึ้นจริงที่ปัจเจกชนประสบ เผชิญ ด้วยตัวเอง อย่างนี้คนที่ประสบเจอย่อมมั่นใจว่ามันเป้นข้อเท็จจริงแต่เรื่องที่ปัจเจกชนทุกคนได้รับนั้น ส่วนข้างมากเป็น “ความจริงทางอ้อม” ที่คนอื่นเสนอถึงตน “ความจริงทางอ้อม” จึงจำเป็นต้องตรวจสอบ ไตร่ตรอง พิสูจน์ ฯ ก่อนที่จะนำมาเชื่อถือ เช่น ศาสนาพุทธสอนเรื่อง “กาลามสูตร” เป็นต้น แต่คนก็มักมีจุดอ่อน ที่สำคัญคือ “การเชื่อง่าย” และ “การเลือกเชื่อ” จึงมีศาสตร์ค้นคว้าเรือง “วิธีทำให้เชื่อ” ถ้าจะพุดกันแบบนินทาว่าร้าย (ซึ่งไม่ดี)กันแล้ว วิชารัฐศาสตร์ , นิเทศศาสตร์ , วิชาโฆษณา ฯลฯ ล้วนเป็นศาสตร์ท่ค้นคว้าหา “วิธีการทำให้เชื่อ”และเมื่อโลกประกอบด้วยคนดีปนเปกับคนชั่ว จึงมีทั้งคนดีและคนชั่วใช้“วิธีการทำให้เชื่อ” หากใช้ไปในทางดี สังคมก็สงบสันติ หากใช้ไปในทางไม่ดีสังคมก็ยุ่งเหยิงไม่สงบ หลังการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเรียกง่าย ๆ ว่าปกิวัติคอมพิวเตอร์แล้ว การเผยแพร่สารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ ฯ ง่ายขึ้น กว้างขวางขึ้น ภาวะท่วมท้นของข้อมูลสารสนเทศยิ่งสร้างความสับสนยุ่งเหยิงในสังคม เพราะพิสูจน์ “สัจจะ” ของข้อมูลสารสนเทศกันยาก ผู้คนต้องพบกับ “ความจริงลวง” เป้นส่วนใหญ่ นักวิเคราะห์จึงเรียกยุคเฉพาะหน้านี้ว่า “ยุคพ้นความจริง – Post factual Era” “สื่อสารมวลชน” นี่ก็เป็นสถาบันทางสังคมที่ค่อนข้างเก่าแล้ว มีการกำกับควบคุมตรวจสอบจากหลายฝ่าย สื่อสารมวลชนต้องผ่านการทดสอบ พิสูจน์ตัวเอง จนได้รับความเชื่อมั่นศรัทธาจากมวลชน สื่อมวลชนจึงจะมีเสรีภาพ มิใช่เสรีภาพตามกิเลสตัณหา แต่คือเสรีภาพที่มีคุณธรรมกำกับ การปฏิวัติเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้เกิด “โซเชียลมีเดีย” ปัจเจกชนก็สามารถเป็น “สื่อมวลชน” ได้ในเวทีที่มีองค์ (ทุนนิยม) สร้างไว้ ก็ดูดี เหมือนว่า ป้จเจกชนมีเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้น แต่ก็อย่าลืมว่า ในขณะเดียวกันโซเชียลมีเดียก็ถูกใช้ไปในทางไม่ดีได้ด้วย ทั้งการใช้โดยปัจเจกชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการใช้โดยองค์กร โดยขบวนการ และโดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม การเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียอย่างเปิดกว้าง(มิใช่เฉพาะกลุ่ม) ก็เท่ากับกำลังสื่อสารกับมวลชน ผู้ที่เผยแพร่จึงควรมีคุณธรรมกำกับ การใช้เสรีภาพทางสื่อต้องมี “ธรรมะ” กำกับเซนเซอร์ คนที่มีธรรมะ แล้วมีโอกาสได้ใช้เสรีภาพเป็นเรื่องดี แต่ถ้าคนชั่วมีโอกาสใช้เสรีภาพทำชั่ว สังคมจะเดือดร้อน เรามีข้อเรียกร้องในการใช้เสรีภาพของสื่อ ทั้งสื่อในสถาบันสื่อสารมวลชนแบบเก่า และสื่อโซเชียลมีเดีย ว่า 1.มีความรับผิดชอบต่อสังคม 2.มีประสบการณ์มาก 3.มีมโนธรรมอันสูง