อุทกภัยภาคใต้รอบนี้ คงกระตุ้นให้คนไทยคิดใคร่ครวญมากขึ้น ส่วนชนชั้นปกคองกับผู้หลงใหลกับ “ทุน” นั้นพวกเขายึดมั่นเป้นมิจฉาทิฏฐิไปแล้ว คงแก้ไขได้ยาก รากฐานปัญหาของนิเวศและทรัพยากรมาจากการเติบโตของระบบทุนนิยมเสรีที่บริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างล้างผลาญของทุนข้ามชาตินาม “ทุนโลกาภิวัตน์” และการรวมศูนย์อำนาจของรัฐทุกระบอบการปกครอง “รัฐล้วนมีระบบปกครองที่แสวงหาความมั่งคั่งจากทรัพยากรธรรมชาติในนาม “ผลประโยชน์ของชิ” โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศที่มีต่อการอยู่ร่วมกันของมวลมนุษยชาติและวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นที่พึงพาฐานทรัพยากร ประชาชนที่เคยสุขสมบูรณ์จากฐานทรัพยากรกลายเป้นคนยากจน เพราะทรัพยากรถูกลิดรอน สังคมที่เคยจัดการความขัดแย้งได้อย่างสันติ เกิดความขัดแย้งต่อสู้รุนแรงเพื่อแย่งชิงทรัพยากรกัน สังคมที่เคยมีความสมดุลยั่งยืนกลายเป็นสังคมที่มีความเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติ ระบบการเมืองการปกครองรุปแบบต่าง ๆ ทั่วโลก กำลังสะท้อนถึงความล้มเหลวชัดเจนขึ้น เพราะเผชิญปัญหาความแปลกแยกระหว่าง “พฤติกรรมการเลือกตั้ง”ของพลเมือง กับ “พฤติกรรมการใช้อำนาจรัฐของชนชั้นปกครอง” , ปัญหาโครงสร้างอำนาจในสังคม , ปัญหาหารขาดประชธิปไตยในการจัดการทรัพยากร ความรุนแรงของปัญหาระบบนิเวศเชิงโครงสร้างขยายตัวขึ้นทั่วโลก รัฐทุกรัฐซึ่งเป้นสถาบันหลักทางสังคม มิได้ทำหน้าที่อันถูกต้อง คือมิได้ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรให้เป็นประโยชน์สุข อย่างเป้นธรรมกับประชาชน แต่ได้ยึดเอาทรัพยากรของชุมชนไปรวมศูนย์ แล้วบริหารดดยอ้างว่าทำเพ่อประโยชน์ของชาติและประชาชน แต่แท้จริงแล้ว “ผลประโยชน์ชาติ” เป็นเพียง “นามธรรม” เอาใจคนเท่านั้น ชุมชนท้องถิ่นหลายแห่งที่ประสบทุกข์ยากไปแล้ว และที่กำลังถูกยัดเยียดอภิโครงการต่าง ๆ ที่มีผลทำลายระบบนิเวศ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ฯลฯ จึงต้องเคลื่อนไหวเรียกร้อง รวมทั้งคัดค้านต่อต้านในบางเรื่อง ทั้ง ๆ ที่ต้องเสี่ยงกับการใส่ร้ายป้ายสี การสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องการต่อต้านทางการเมือง รัฐบาลนี้ยังไม่เข้าใจปัญหาด้านสภาพแวดล้อมอย่างถึงราก ยังจำแนกไม่ชัดระหว่าง ความเคลื่อนไหวของพลังชุมชนเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม กับการเคลื่อนไหวต่อสู้ทำลายล้างทางการเมืองของ “กลุ่มทุน-ชั้นปกครองต่างสี” ในทศวรรษต่อไปนี้ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรับกับชุมชนในปัญหาสภาพแวดล้อมจะกลายเป็นประเด็นการต่อสู้ทางการเมืองภาคประชาชนที่สำคัญที่สุด ปัญหาจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของทรัพยากร เช่น ทรัพยากรป่าไม้ การจัดการป่าชุมชน , ทรัพยากรทะเลชายฝั่ง , การบริหารทรัพยากรน้ำ , เรื่องเขื่อน เหมืองฝาย , การทำเหมืองแร่ ก่อมลพิษทำลายสภาพแวดล้อม นำเป็นพิษดินเป็นพิษ การรวมตัวกันของภาคประชาชนในชนบทกับในเมืองเพื่อปกป้องชีวิตและฐานทรัพยากรจะเป็น “ของแสลง” อย่างหนัก สำหรับ “รัฐ”ที่เป้นมิจฉาทิฏฐิ