กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดประชุมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID Lab Network) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โดยได้จัดการประชุมเครือข่ายห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการเตรียมความพร้อมและวางแผนเพื่อตอบโต้การระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และเชื้ออันตราย โดยผู้เข้าประชุมประกอบด้วย หัวหน้าห้องปฏิบัติการ ผู้จัดการแผนกห้องปฏิบัติการและผู้ปฏิบัติงานจากโรงพยาบาลภาครัฐ/เอกชน สำนักงานป้องกันควบคุมโรค มหาวิทยาลัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เครือข่ายห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID Lab Network) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2556 ด้วยทุนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ(United States Agency for International Development: USAID) ผ่านองค์การอนามัยโลกโดยมี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการจัดตั้งเครือข่ายร่วมกันกับหน่วยงานอื่นๆ ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลที่มีห้องปฏิบัติการ Designated Receiving Area (DRA) ปัจจุบันเครือข่ายโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ มีสมาชิก จำนวน 85 แห่ง แบ่งเป็นภาครัฐ 78 แห่ง และภาคเอกชน 7 แห่ง ครอบคลุมห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ เพื่อให้มีศักยภาพตรวจจับเชื้อก่อโรคที่มีแนวโน้มระบาดข้ามประเทศได้ตามที่กำหนดในกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation 2005 : IHR 2005) รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทำให้การวินิจฉัยและการส่งต่อตัวอย่าง เป็นไปอย่างรวดเร็วทุกพื้นที่ และสามารถเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย การประชุมเครือข่ายในครั้งนี้เน้นบทบาทและศักยภาพของห้องปฏิบัติการเครือข่าย และภารกิจที่ท้าทายของห้องปฏิบัติการในการรับมือกับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่ต้องจับตามอง ซึ่งครอบคลุมทั้งเชื้อไวรัส ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) ไข้เลือดออก ไข้ซิกา เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ และสามารถตรวจชนิดของแบคทีเรียได้ภายใน 5 นาที ปัจจุบันห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขและเครือข่าย สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการรองรับปัญหาการระบาดของโรคระบาดใหม่ๆ โรคระบาดสำคัญ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศ โดยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคไข้เหลือง (yellow fever) ได้พัฒนาจนสามารถจนสามารถ เปิดให้บริการได้ในอีก 1 เดือน