กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมให้คนไทยอายุยืนยาวพร้อมสุขภาพยอดเยี่ยม ต้องมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ สามารถจัดการสุขภาพได้ด้วยตนเอง (Self-Management) และอยู่ในสังคมรอบรู้ (Literate Society) รับประเทศไทย 4.0 เมื่อวันที่ 13 มี.ค.60 นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในโอกาสครบรอบ 65 ปี กรมอนามัย (12 มีนาคมของทุกปี)ว่า กรมอนามัยประกาศเจตนารมณ์ “รวมพลัง” เปลี่ยนกรมอนามัย ตั่งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นมา เพื่อเตรียมคนกรมอนามัยให้เป็นคนไทย 4.0 ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้วยยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) โดยจัดทำแผนให้มีทิศทางเดียวกัน มีการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการการนำแผนสู่การปฏิบัติและระบบปฏิบัติการเปลี่ยนจากการทำงานตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละสำนัก/กองเป็นการทำงานร่วมกันแบบหุ้นส่วนเป็นกลุ่ม (clusters) พึ่งพาอาศัยกัน มีความผูกพันและเห็นความสำคัญซึ่งกันและกัน กรมอนามัยจึงได้พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิม (Cross-functions) เข้าใจงานทุกระบบ ทำงานได้หลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์มีความสามารถด้านเทคโนโลยีและผลิตนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการพร้อมรับมือกับปัญหาใหม่ๆของคนและสังคมไทย นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่จะผลักดันกรมอนามัย 4.0 เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ กรมอนามัย ปี พ.ศ. 2579 "ทุกกลุ่มวัย รอบรู้สุขภาพอายุยืนยาวพร้อมสุขภาพยอดเยี่ยม" คือ การพัฒนากรมอนามัยเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Organization ) ซึ่งหมายถึงการรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นเรื่องของ ทุกคนในองค์กร การจัดระบบ กระบวนการ และ บริการให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูลและการสื่อสารที่เอื้อให้บุคลากรทุกคนมีความสามารถในการสื่อสาร การให้ข้อมูลและความรู้สุขภาพ จนทำให้ผู้รับบริการ ภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกระบบสุขภาพเกิดการเข้าถึง เข้าใจ นำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ กรมอนามัยได้วาง Roadmap 20 ปี โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงๆละ 5 ปี กรมอนามัยขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Growth Engine)และมุ่งการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth Engine)กำหนดเป้าหมาย 5 ปีแรก  คือ สามเป้าหมายใน Inclusive Growth Engine และอีกหนึ่งเป้าหมายใน Green Growth Engine ดังนี้ ช่วง 5 ปีแรก เป้าหมายที่หนึ่ง Smart kids  มีกิจกรรมสำคัญ (Key Action) คือ 1. ยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของพ่อแม่ ด้วย Digital Health และ Application : สมุดสีชมพู (คู่มือพ่อแม่ในการดูแลตนเองและลูกทุกมิติ) และ DSPM (คู่มือเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง) 2. กระตุ้นให้ประชาชนอยากเข้าถึงและเข้าใจ ข้อมูลความรู้ เพื่อเพิ่มความรอบรู้และความครอบคลุม (Create demand) ตามเส้นทางชีวิตและสุขภาพ เป้าหมายที่สอง Smart longest living and healthiest Citizen (ผู้มีอายุยืนยาวพร้อมสุขภาพยอดเยี่ยม เป็นหลักชัยให้สังคม) กิจกรรมสำคัญคือ 1. ส่งเสริมการสื่อสารและความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) โดยใช้คู่มือดูแลผู้สูงอายุ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย" ทั้งแบบสมัยใหม่ Application, Digital Health และแบบคุ้นเคยเดิม 2. สร้างพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (ศพอส) จำนวน 879 แห่ง ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งชมรม/โรงเรียน/วิทยาลัย ผู้มีอายุยืนยาว ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีผสม เก่าใหม่ เป้าหมายที่สาม Disruptive Health PPP Model by Health Literacy (สร้างโมเดล การเปลี่ยนแปลง วิธีทำงาน การส่งเสริม ป้องกัน และปกป้อง ประชาชน ด้านสุขภาพ แบบใหม่และทันสมัย นำไปสู่การเปลี่ยนกระบวนคิดของคนที่อยู่ในระบบทั้งหมด) กิจกรรมสำคัญคือ 1. สร้างเครื่องมือ และประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของประชากรไทย พร้อม ลงมือสำรวจระดับชาติ (National survey) ทุก 3 ปี เริ่ม ในปี 2560 2. ปรับ Actual Services ในปัจจุบัน เป็น Health Literate Quality Services ในทุกกิจกรรม 3. พัฒนาระบบ Electronic Health & Mobile Health ที่จะถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง 4. เพิ่มแนวทางใหม่ในกระบวนการผลิตสื่อด้านสุขภาพและหาช่องทางเผยแพร่ข้อมูล ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทยในปัจจุบันและอนาคต 5.สนับสนุนการศึกษาวิจัย และจัดให้มี Center of Excellence ความรอบรู้สุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ เป้าหมายที่สี่ Green & Clean Hospital ใช้ประเด็นปัญหาขยะติดเชื้อเป็นหัวหอกนำการเปลี่ยนแปลงระบบกิจกรรมสำคัญ คือ 1. พัฒนาาระบบฐานข้อมูลการจัดการมูลมูลฝอยติดเชื้อ 2. ปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 และประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 3. พัฒนาระบบ Digital Infectious Waste Tracking Control  4. พัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับการใช้ระบบข้างต้น ทั้งนี้ ผลลัพธ์ ช่วง 5 ปีแรกจะส่งผลต่อช่วงที่สอง 10 ปี คือ ขยายผล Health Literate School เต็มทุกพื้นที่ ส่งผลให้วัยเรียนเจริญเติบโต แข็งแรง เป็นคนดีมีวินัย เก่ง มีทักษะสุขภาพ พร้อมสูงดีสมส่วน (4 H) ซึ่งจะส่งผลต่อช่วงที่สาม 15ปี คือ มี Health Literate Setting/Community เต็มพื้นที่ ส่งผลให้วัยรุ่นไทยมี life skill & Health skill ที่มีคุณภาพพอเพียง มีภูมิคุ้นกัน พร้อมมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และช่วงที่สี่ 20 ปี คือ คนไทยวัยทำงาน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถจัดการสุขภาพภายใต้บริบทของตนเอง (Self Management) สังคมไทยเป็น Health Literate Society ส่งต่อให้เกิด Smart Longest living and Healthiest Citizens ผู้สูงวัยไทยอายุยืนยาว สุขภาพยอดเยี่ยมเป็นหลักชัยของสังคม โดยคาดหวังว่าจะทำให้คนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ที่ 75 ปี HALE  (Health Adjusted Life Expectancy) อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy Rate) 85 ปี ในปี 2579 (Smart Thai Citizen 4.0/ Healthy Environment/ Health literate Society) โดยบทบาทของกรมอนามัยทำหน้าที่ ในการสังเคราะห์ ใช้ความรู้ และดูภาพรวมเพื่อกำหนดนโยบายและออกแบบระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการประสานงาน สร้างความร่วมมือ และกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานร่วมกัน “สำหรับการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปีนี้ กรมอนามัยได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติคนดีศรีอนามัย ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลคนดีศรีอนามัยดีเด่น จำนวน 6 คน และคนดีศรีอนามัยจำนวน 10 คน โดยการ มอบรางวัลในครั้งนี้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่กรมอนามัยในการทำงาน”