ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] พระผู้ทรงเคียงคู่การทรงงานกับในหลวง(จบ) โครงการสถานีการพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ในพื้นที่ทุรกันดารการตามขุนเขาในภาคเหนือ ที่ซึ่งการคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นไปด้วยความยากลำบากราษฎรประสบปัญหาในเรื่องการผลิต ทั้งในส่วนของการผลิตเพื่อการเลี้ยงชีพ และการผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวที่ไม่สามารถหล่อเลี้ยงให้ดำรงชีพอยู่ได้ จึงทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าแห่งใหม่ เพื่อทำไร่เลื่อนลอยสลับกันไปมา ตามแต่ความสมบูรณ์ของดินจะมีอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญในภาคเหนือ ยังผลให้เกิดความแห้งแล้ง สภาพแวดล้อมถูกทำลาย ราษฎรที่ประสบปัญหาอยู่แล้วยิ่งมีปัญหาใหม่มาพอกพูนมากยิ่งขึ้น ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 จึงได้มีพระราชดำริในการทำอย่างไรให้ราษฎรสามารถดำรงชีพอยู่ในพื้นที่ทำกินเดิมได้อย่างมีความสุข มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคทั้งปี มีความมั่นคงในชีวิตและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า พึ่งพาและรักษาได้อย่างยั่งยืน โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ เป็นแนวทางหนึ่งในอันที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของราษฎรข้างต้น ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกับโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริจึงได้เกิดขึ้น คือ การเน้นการปลูกพืชมากกว่างานด้านการปศุสัตว์เนื่องจากในบางพื้นที่ที่จัดตั้งสถานีหรือพื้นที่ที่ราษฎรได้อาศัยทำอยู่นั้น ไม่เหมาะสม ปริมาณน้ำที่ใช้ไม่เพียงพอ รวมถึงราษฎรบางส่วนอาจจะมีความชำนาญด้านการปลูกพืชมากกว่า ดังนั้นจึงได้พระราชทานพระราชดำริในเรื่องของสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้น โดยมีแนวทางเดียวกันกับฟาร์มตัวอย่างฯ กล่าวคือ ให้ราษฎรเข้ามามีส่วนในกิจกรรมต่างๆ ของสถานีเพื่อซึมซับความรู้และเกิดทักษะ ทั้งยังได้รับความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสำหรับนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริกระจายอยู่ในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ จำนวน 18 แห่ง แบ่งเป็น จังหวัดเชียงใหม่ 8 แห่ง จังหวัดเชียงราย 4 แห่ง จังหวัดน่าน 3 แห่ง จังหวัดพะเยา 1 แห่ง จังหวัดพิษณุโลก 1 แห่ง และจังหวัดกำแพงเพชร 1 แห่ง โครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูสภาพป่า “...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า...” ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาแหล่งน้ำ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานดำริในการอนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำลำธารให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย ดังกระแสดพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ความตอนหนึ่งว่า “...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ...” สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชดำริในเรื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าขึ้น โดยให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรในพื้นที่บริเวณต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลายให้ฟื้นคืนสภาพดังเดิม พร้อมกับพัมฯชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่โครงการให้มีคุณภาพชิวตที่ดีขึ้น ลดปัญหาความยากจนของราษฎร รวมทั้งให้ความรู้ที่ถูกต้อง และสร้างจิตสำนึกให้แก่ราษฎรในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมกับทางราชการในการดูแลปกปักทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของชาติสืบไป โดยมีโครงการที่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวดังนี้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านถ้ำติ้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการฟื้นฟูป่าพื้นที่อำเภอไชยปราการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอไขยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่าภูหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โครงการป่าชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสกนคร โครงการอนุรักษ์ป่าไม้ในพื้นที่ภูพาน จังหวัดสกนคร โครงการสวนป่าพระนามาภิไธย จังหวัดสตูล จังหวัดสขลา และจังหวัดยะลา ฯลฯ “ป่ารักษ์น้ำ รักษ์แผ่นดิน” เพื่อให้คนมีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของป่าไม้ที่เป็นต้นกำเนิดของน้ำ ของอาหาร และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้อย่างถูกวิธี จึงพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการ ดังนี้ 1.ส่งเสริมให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร 2.เสนอมแนะแนวทางเพาะปลูกพืชโดยไม่ต้องบุกรุกทำลายป่า 3.สร้างจิตสำนึกและสนับสนุนให้ราษฎรในพื้นที่เกิดความรู้สึกหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้ ดังที่ได้ทำเป็นตัวอย่างในโครงการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สวนป่าสิริกิติ์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ “ธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชิวต” เป็นพระราชโชบายในสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่มีพระราชประสงค์ฝนการสร้างคนปกป้องป่า และเพื่อเป็นรางวัลให้กับราษฎรหรืออาสาสมัครพิทักษ์ป่า จะได้เป็นกำลังใจในการปกป้องดูแลรักษาป่า เป็นการเสริมแรงทางด้านจิตใจมากกว่าการใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้ราษฎรรักษาป่าด้วยใจแนวพระราโชบายนี้ ได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกที่บ้านถ่อนอก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งได้พระราชทานธงพิทักษ์ป่าให้กับราษฎรจำนวน 12 หมู่บ้านที่อยู่รอบป่าไม้ ซึ่งเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าของชาติแห่งนี้ไว้ให้ลูกหลานในอนาคต “อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าไว้คู่เมืองไทย” กล้วยไม้ป่าของไทยเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมีอยู่ประมาณ 157 สกุล และมีมากกว่า 1,200 ชนิด ขึ้นอยู่ในทุกภูมิภาคของไทย แต่ปัจจุบันกล้วยไม้ป่าเหล่านี้ลดลงอย่างมากจนกระทั่งบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้สำรวจชนิดของพันธุ์กล้วยไม้ป่า รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าโดยเฉพาะกล้วยไม้ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์มาปลูกเลี้ยง ดูแลรักษา และทำการขยายพันธุ์กล้วยไม้ที่รวบรวมไว้นำคืนสู่ป่าในพื้นที่ที่เหมาะสม ดังเช่น การดำเนินงานในโครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มหาวิทยาแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่สถานีทดลองข้าวกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นต้น “คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ” ได้พระราชทานพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ โดยทรงให้ศึกษาสำรวจรวบรวมพันธุ์สัตว์หายาก แล้วทำการขยายพันะ เมื่อสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้มีความพร้อมที่จะกละบคืนสู่ธรรมชาติดังกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปล่อยช้างคืนธรรมชาติความว่า “...การปล่อยช้างเป็นอิสระ ปี พ.ศ.2540 ปล่อย 3 เชือก ปี พ.ศ.2541 ปล่อย 2 เชือก ปี พ.ศ.2543 ปล่อย 2 เชือก แล้วดูได้ผลดี รู้สึกเขาสดชื่น ดูปรับตัวเข้ากับป่าได้อย่างดี” นอกจากนี้ ยังพระราชทานเกาะมันใน ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นสถานที่ดำเนินการโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล และยังได้พระราชทานพระราชดำริให้อนุรักษ์สัตว์ป่าของประเทศไทยพร้อมขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่ป่า ดังจะเห็นได้จากการตั้งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ในภูมิภาคต่างๆ 18 สถานี รวมทั้ง ได้มีการศึกษาความหลากหลาย และนิเวศวิทยาของหิ่งห้อย เพื่อให้ธรรมชาติเกิดความสมดุล “สร้างป่าชายเลนให้สัตว์ทะเล” ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวพระราโชบายต่างๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อมมาใช้ในการปกป้องและฟื้นฟูป่าชายเลนให้มีความสมบูรณ์ และคงอยู่คุ่ชายทะเลไทยไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานธงพิทักษ์ป่า การฝึกอบรมราษำรพิทักษ์ป่า (รสทป.) การศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์สัตว์น้ำทะเลส่งเสริมอาชีพต่างๆ เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพและรายได้อย่างเพียงพอ จะได้ไม่ต้องไปทำลายป่าชายเลน ดังที่ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนที่โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกระบี่ และได้พระราชทานธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษษชีวิตให้กับราษฎรบ้านทุ่งสง ตำบลเขาใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และให้บางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เป็นต้น “สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ท้องทะเล” จากสภาพปัญหาการทำประมงไม่ถูกวิธี การทำประมงเกินกำลังธรรมชาติและการเสื่อมโทรมของทรัพยกรชายฝั่งทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงจากก่อให้เกิดปัญหาต่อการประกอบอาชีพของชาวประมง จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ “จัดตั้งสถานีวิจัย เพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์แล้วปล่อยลงสู่ทะเลให้ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปะการังเทียม และให้ฝึกอบรมราษฎรให้มีความรู้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอนุรักษ์สัตว์น้ำได้” ดังตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส เรียบเรียงนางสุพร ตรีนรินทร์ ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการพื้นที่ 2 สำนักงาน กปร. จากวารสารอันเนื่องมากจากพระราชดำริ