ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 21 มีนาคม 2560 จากเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,172 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ หรือ Cyberbullying จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นการ * เคยได้ยินและทราบความหมายของคำว่า Cyberbullying ของเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.30 ไม่เคยได้ยิน และไม่ทราบความหมาย รองลงมา ร้อยละ 8.45 เคยได้ยินและทราบความหมาย (อธิบายความหมายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง) และร้อยละ 7.25 เคยได้ยิน แต่ไม่ทราบความหมาย * ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.59 ระบุว่า ใช้ Facebook รองลงมา ร้อยละ 88.14 ระบุว่า ใช้ Line ร้อยละ 69.28 * ด้านการเคยพบเห็นพฤติกรรม Cyberbullying หรือ การรังแก การกลั่นแกล้งกัน ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเดือดร้อน ในรูปแบบต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตหรือบนสื่อสังคมออนไลน์ ของเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.18 ระบุว่า เป็นการโพสต์ด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย ดูถูก หรือข่มขู่ทำร้าย รองลงมา ร้อยละ 17.04 ระบุว่า เป็นการแอบอ้าง การสวมรอย หรือปลอมแปลงเป็นผู้อื่น ร้อยละ 14.30 ระบุว่า เป็นการหลอกลวง ฉ้อโกง ต้มตุ๋น ทั้งนี้ เมื่อถามถึง * ประสบการณ์ของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับพฤติกรรม Cyberbullying การรังแก การกลั่นแกล้งกัน ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือในสื่อสังคมออนไลน์ที่ผ่านมา ว่าเคยเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือฝ่ายกระทำ หรือไม่ อย่างไร พบว่า ในจำนวนเด็กและเยาวชนที่เคยพบเห็นพฤติกรรม Cyberbullying ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือในสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.37 ระบุว่า ไม่เคยเป็นทั้งผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ รองลงมา ร้อยละ 12.24 ระบุว่า เคยเป็นผู้ถูกกระทำฝ่ายเดียว ร้อยละ 5.24 ระบุว่า เคยเป็นทั้งผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ และร้อยละ 2.15 ระบุว่า เป็นผู้กระทำฝ่ายเดียว สำหรับ * ความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับพฤติกรรม Cyberbullying แบบตั้งใจ/เจตนา ในโลกอินเทอร์เน็ตหรือในสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.16 ระบุว่า ควรมีกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น พรบ. คอมพิวเตอร์, พรบ. การละเมิดลิขสิทธิ์, ความผิดทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ รองลงมา ร้อยละ 32.96 ระบุว่า ผู้ปกครองควรคอยเอาใจใส่ สอดส่อง ดูแลบุตรหลานของตนเอง ไม่ให้เป็นผู้กระทำ หรือตกเป็นเหยื่อ หรืออบรมสั่งสอน ตักเตือน รวมไปถึงการเรียนรู้และรับมือจาก Cyberbullying ร้อยละ 32.88 ระบุว่า ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจในทางลบ เช่น รำคาญ เครียด อับอาย เดือดร้อน ซึมเศร้า เบื่อ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึง * ข้อเสนอะแนะเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับ มาตรการ ระเบียบ ข้อบังคับด้านกฎหมาย เพื่อมิให้เกิด พฤติกรรม Cyberbullying แบบตั้งใจ/เจตนา พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.94 ระบุว่า ควรมีหน่วยงาน ที่ดูแลเกี่ยวกับ Cyberbullying โดยเฉพาะ เช่น การรับเรื่องการฟ้องร้อง การตรวจสอบพยานหลักฐาน การดำเนินคดี การตรวจสอบอื่น ๆ รองลงมา ร้อยละ 37.75 ระบุว่า ควรมีกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น พรบ. คอมพิวเตอร์, พรบ. การละเมิดลิขสิทธิ์, ความผิดทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ ร้อยละ 35.44 ระบุว่า ควรบังคับใช้ระเบียบ ข้อกฎหมาย และบทลงโทษอย่างเข้มงวด มีการลงโทษให้เห็นเป็นตัวอย่าง ข้อมูล " นิด้าโพล "