"ชาญชัย" ค้าน ขึ้นค่าทำใบขับขี่ เหตุ เป็นภาระ ปชช. ชี้ แนะใช้ช่องทาง กม.เก็บค่าธรรมเนียม "เอไอเอส" วันที่ 25 มี.ค. 60 นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนขอคัดค้านกรณีที่นายสนิท พรหมวงศ์ อธิบดีกรมการขนส่งเรียกค่าออกใบอนุญาตหรือการขอมีใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะจากเดิมที่เก็บขั้นต่ำ 5 บาท เพิ่มเป็น 5,000-6,000 บาท/คน ต่อคน ซึ่งหากสอบไม่ผ่านก็ก็ต้องเสียค่าสมัครใหม่ไปเรื่อยๆ โดยอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาเก็บค่าธรรมเนียมราคาสูงกว่านี้มาก จึงขอให้กรมการขนส่งทางบกทบทวน ยกเลิกแนวคิดนี้ เพราะไม่ใช่เป็นการแก้ไขปั ญหาการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่ถูกต้อง แต่กลับเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชน ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ ยานพาหนะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ในภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งการเพิ่มโทษปรับ ตาม พ.ร.บ.จราจรฉบับใหม่ ที่มีการเพิ่มโทษปรับเงินจำนวนมาก อาทิ ข้อหาไฟหน้าหลายสี หรือไฟเบรกต้องสีแดง หรือใส่หลังคาซันลูป ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งโทษการทำผิดเหล่านี้ ไม่ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง แต่รัฐกลับมุ่งเน้นเพิ่มโทษปรั บค่อนข้างสูง ดังนั้นหากรัฐบาลต้ องการหารายได้จากการต่อภาษี การเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่ างๆหรือผลตอบแทนอื่นๆ ตนเห็นว่ายังมีหลายกรณีที่รั ฐบาล และหน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายยังไม่ได้บังคับคดี ที่ศาลตัดสินวินิจฉัยแล้วให้เป็นไปตามกฎหมาย นายชาญชัย กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่างเช่น โครงการที่ยื่นใบอนุญาตบริษัทเอไอเอส ได้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533- 2558 รวมระยะเวลา 25 ปี สมัยนายทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแก้สัญญา เพื่อเอื้อประโยชน์ ให้กับบริษัทเอไอเอส เป็นทำรัฐเสียหาย มากกว่า 88,000 ล้านบาท โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำพิพากษา ตั้งแต่ 26 ก.พ. 2553 จนถึงบัดนี้ เป็นเวลา 7 ปีกว่า ก็ยังไม่สามารถบังคับคดีให้ได้ เงิน มาเข้าคลังแผ่นดิน ทั้งมีการปล่อยให้คดีขาดอายุ ความ ซึ่งทราบว่าขณะนี้รัฐบาลได้สั่ งการให้ สำนักงานป้องกั นและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ดำเนินการตรวจสอบ และฟ้องแพ่ง ควบคู่กันไป จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการบังคับคดี ให้เร็วขึ้น เพื่อนำเงินที่ได้มาใช้บริ หารประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องให้หน่วยงานรัฐไปรีดภาษีจากพี่น้องคนจนหาเช้ากินค่ำหรือมนุษย์เงินเดือน ทั้งนี้จากตัวเลขรายได้ ผลกำไรของบริษัทเอไอเอส ก่อนที่นายทักษิณจะขายหุ้นกลุ่ มชินคอเปอเรชั่น (ชินคอร์ป) เฉพาะรายได้ของเอไอเอสในปี 2558 นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2547 – 30 ก.ย. 2548 มีรายได้รวมกำไรสุทธิที่ 79,720.51 ล้านบาท และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่รัฐ ไปเพียง 9,567.42 ล้านบาท อีกทั้งยังจ่ายค่าสัมปทานไม่ ครบตามสัญญา (ดูตารางประกอบ) เพราะเหตุที่นายทักษิณได้แก้ ไขสัญญา เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษั ทเอไอเอสตามคำพิพากษาศาลฎี กาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีที่ อม 1/2553 ลงวันที่ 26 ก.พ. 2553 ซึ่งต่อมาวันที่ 23 ม.ค. 2549 นายทักษิณได้ขายหุ้นทั้งหมด ให้กับ บริษัทเทมาเส็กจำนวนเงิน 73,271 ล้านบาท แต่ก็ยังต่ำกว่า ยอดกำไรปี 2548 ที่นายทักษิณ ถือว่าเป็นคนฉลาดที่สุ ดในประเทศแล้ว เหตุใดถึงขายทั้งที กำไรมีมูลค่ามากกว่า ราคาหุ้นที่ขาย ถามว่าสิ่งเหล่านี้เป็นนิติ กรรมอำพรางหรือไม่