คนพิการเป็นบุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันและการมีส่วนร่วมในสังคม จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการสาธารณสุข กรมการแพทย์ โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมารักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ” โดยความพิการทางการเคลื่อนไหวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ปี 2558 ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ความพิการทางการเคลื่อนไหว มีมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง (48.81%) และกลุ่มคนพิการวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีความพิการทางการเคลื่อนไหวมากที่สุด (51.26%) รองลงมาคือกลุ่มคนพิการที่อยู่ในวัยทำงานอายุระหว่าง 15 -60 ปี (46.08%) ซึ่งหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นของความพิการคือ ภาวะความเจ็บป่วยและโรคต่างๆ (30.14%) เช่นโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจตีบ เป็นต้น และเกิดจากอุบัติเหตุ (14.14%) ซึ่งผู้ที่มีชีวิตรอดจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ได้รับผลที่ตามมาคือพิการหรือทุพพลภาพ ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการเดิน และการประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ มากขึ้น นายแพทย์ธีรพล  โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ แพทย์หญิงดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและพัฒนาวิชาการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการต่างๆ จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้ แพทย์หญิงดารณี  สุวพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ 1. การฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Lokomat) เทคโนโลยีที่ใช้เพิ่มการทรงตัวและความมั่นคงในขณะเดินให้แก่ผู้ป่วยเป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเรื่องการเดิน ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผู้ป่วยบาดเจ็บสันหลัง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ และผู้ป่วยพาร์กินสัน เป็นต้น ผู้ป่วยจะได้ฝึกเดินบนสายพานเลื่อนที่มีที่พยุงน้ำหนักตัวและมีขาของหุ่นยนต์ปะกบกับขาของผู้ป่วย ซึ่งขาของหุ่นยนต์จะขับเคลื่อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์คอยควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยเดินด้วยจังหวะและท่าทางการเดินคล้ายธรรมชาติ ซึ่งคล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน มีความถูกต้องตามรูปแบบการเดินมากที่สุด ปลอดภัยและสามารถฝึกฝนซ้ำๆ ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทำให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนารูปแบบการเดินและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้มากขึ้น โดยมีการฝึกเดิน 3 -5 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการฝึกครั้งละ 30 -45 นาที โดยประมาณ 12 - 20 ครั้งของการรักษาจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ จากผลงานวิจัยพบว่าการใช้เครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินในการฝึกเดินร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัด มีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับมาเดินได้เอง มากกว่าการฝึกทางกายภาพบำบัดอย่างเดียว และได้ผลดีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมานาน3 เดือน และยังไม่เคยได้รับการฝึกเดินมาก่อน 2. เครื่องฝึกการทรงตัวบนลู่เดิน (Perturbation Treadmill) พัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะด้านการทรงตัวและความมั่นคงในการเดินเป็นเครื่องสำหรับฝึกการทรงตัวบนลู่เดินประกอบด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า (Treadmill) ที่ถูกออกแบบมาพิเศษกว่าลู่วิ่งไฟฟ้าทั่วไป คือ สามารถจำลองการเดินได้ 4 ทิศทาง ได้แก่ ทิศทางด้านหน้าหลัง ซ้าย และขวาพร้อมชุดอุปกรณ์พยุงน้ำหนักร่างกาย และระบบคอมพิวเตอร์พร้อมหน้าจอแสดงผล เพื่อการฟื้นฟูและเพิ่มทักษะตอบสนองการทรงตัวขณะที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ คล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความบกพร่องหรือมีความผิดปกติของระบบการควบคุมสมดุลของร่างกายและการทรงตัวในขณะยืนและเดิน เพื่อลดโอกาสในการล้มและสามารถเดินโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่นผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางการกีฬา เป็นต้นผู้ป่วยจะได้รับการประเมินการทรงตัว ประเมินความเสี่ยงในการล้ม และประเมินด้วยเครื่องวิเคราะห์การยืนลงน้ำหนักและการเดิน ทั้งก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการฝึก โดยระยะเวลาในการฝึกต่อครั้ง คือ 20-30 นาที เป็นเวลา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 4-9 สัปดาห์จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการทรงตัวโดยผู้ฝึกสามารถปรับระดับความยากของโปรแกรมการฝึกตามความสามารถของผู้ป่วย 3. ศูนย์ทดสอบอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการทางการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ทดสอบรถนั่งคนพิการและศูนย์ทดสอบข้อเข่าเทียมและฝ่าเท้าเทียมรถนั่งคนพิการถือเป็นอุปกรณ์เครื่องช่วยสำคัญที่คนพิการและผู้สูงอายุมีความจำเป็นในการใช้งานโดยเฉพาะกลุ่มคนพิการถาวรที่ไม่สามารถเดินได้ จำเป็นต้องใช้รถนั่งคนพิการที่มีความเหมาะสมมีคุณภาพเสมือนแทนขา เพื่อตอบสนองตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันรถนั่งคนพิการที่ให้บริการในประเทศไทย ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ และบางส่วนผลิตขึ้นในประเทศไทยซึ่งสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.2207-2547 “รถเข็นคนไข้นั่งชนิดพับได้”ไว้แล้ว แต่ยังไม่มีห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ วันนี้ กรมการแพทย์ โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ได้ยกระดับการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับคนพิการ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการที่ทันมัย ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้คนพิการไม่ต้องกังวลกับการล้มในขณะทำกายภาพบำบัดอีกต่อไป อีกทั้งลดระยะเวลาการรักษาฟื้นฟู ทำให้กลับมาเดินได้ สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ