ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ สร้างสุขชุมชนผ่านศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ (1) “…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับ ต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นได้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆได้ ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวในที่สุด…” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำรัสหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ครั้งแรกในงานพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2517 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9 เป็นที่ประจักษ์ความจริงว่าเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่นำพาสู่ความสุขเป็นจุดหมายปลายทางอย่างแน่นอน ความสุขความสงบอันเกิดจากความพอใจในความพออยู่พอกินตามสถานะ ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทรงชี้แนะไว้ว่าการประกอบอาชีพการงานไม่ว่าจะเป็นอาชีพเกษตรหรืออาชีพค้าขาย ธุรกิจใดๆก็ตามก็มีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทน เมื่อได้มาแบ่งปันเก็บออม ไม่ตั้งอยู่ในความโลภ ไม่เอารัดเอาเปรียบ มีความรักสามัคคีเมตตา แล้วก็มีความกตัญญูรู้คุณเป็นที่ตั้ง เมื่อภาพรวมของบุคคล ของครอบครัว ของชุมชนดำรงอยู่ในวิถีชีวิตอย่างนี้ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯมาเป็นเครื่องนำทางสังคมนั้นๆย่อมมีความสุขสงบแน่นอน และนั่นย่อมสื่อให้เห็นความเข้มแข็งของการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเชิญไปร่วมพิธีทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลโดยบุคคลากรของมหาวิทยาลัยผู้บริหารทั้ง อาจารย์ นักศึกษาเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย รวมพลังบรรพชาอุปสมบท30 รูป เมื่อวันที่ 14 กพ.60 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ทำพิธีดังกล่าวพร้อมกันทั่วประเทศ ได้พระนวกะรวมทั้งสิ้น 999 รูปแล้วไปรวมกันทำพิธีที่พุทธมณฑลในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 25560 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9และเพื่อถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่10 มีโอกาสไปที่หมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ที่มรภ.ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมด้วยตระหนักถึงการปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯทำให้ชาวบ้านมีอาหารคือเห็ดปลอดสารพิษบริโภคเองในชุมชน เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักโดยการนำเห็ดปลอดสารพิษที่ผลิตได้ปริมาณเกินบริโภคนำออกขาย คนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนำพาชาวบ้านสู่การผลิตเห็ดปลอดสารพิษก็เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาราชภัฏภูเก็ตนั่นเอง ด้วยผลพวงมาจากการที่หมู่บ้านได้รับการประกาศให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9 เพราะชุมชนดังกล่าวมีความพร้อมเพรียงในการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานเป็นรากฐานให้ใช้เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืน หมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ คือบ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต วันนี้ได้รับการประกาศให้เป็น“หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” แล้วก็ผลิตเห็ดอินทรีย์เป็นเห็ดนางฟ้าโดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ จังหวัดภูเก็ตแล้วก็มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ว่ากันว่าเป็น“หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” แห่งแรกของจังหวัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้าน และชุมชนทั่วประเทศนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัฒกรรมไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลัก ทั้งนี้โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นเครื่องมืออันได้ปลลูกฝังความขยัน อดทน ไม่โลภ รู้จักอดออม สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนจนเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้าน และชุมชนอื่นๆ โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวมีการประสานความร่วมมือใน 4 ภาคส่วน คือ ภาคราชการและท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชนและภาคเอกชน รวมทั้งมีการส่งต่อบริการแบบครบวงจรตามแนวทางห่วงโซ่แห่งคุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มผลผลิตการเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์การลดค่าใช้จ่าย การขยายโอกาส และลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในชนบท โดย กำหนดเป้าหมายของโครงการ 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านแม่ข่าย โดยครอบคลุมทั้งหมด จำนวน 878 อำเภอ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 15 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2533-พ.ศ.2568 ภูเก็ตเปิด “หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” แห่งแรก สำหรับการดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตราบปัจจุบัน พ.ศ.2556มีหมู่บ้านฯที่ได้รับการคัดเลือกเข้าลู่กระบวนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 242 หมู่บ้าน 194 อำเภอ 65 จังหวัดมีหมู่บ้านฯ ที่สามารถพัฒนาตนเองเป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 52 หมู่บ้าน (อ่านต่อ)