วันที่ 4 เม.ย.60 ที่ ศปก.ตร.ชั้น 20 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร. เป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืนของ ตร. โดยมี พล.ต.ต.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผบก.ป., พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ., พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง ผบก.สท. และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม โดยผู้แทน ผบช.น., ภ.1-9, ศชต., ผบช.ก. ร่วมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ กล่าวว่าประชุมขับเคลื่อนการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 59 เห็นชอบให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการบริหารจัดการปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน และเห็นชอบการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) เพื่อรับผิดชอบภารกิจด้านการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอ สืบเนื่อง ท่านนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการที่จะขจัดหนี้นอกระบบ และแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้เป็นศูนย์ (ไม่มีหนี้นอกระบบที่เก็บดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน (คำสั่ง ตร.ที่ 120/2560 ลง 14 มี.ค.60) โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร.(ปป1) เป็น หัวหน้าคณะทำงาน และมี กองบังคับการปราบปราม เป็นเลขานุการคณะทำงาน มีการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนฯ เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ศปก.ตร. ชั้น 20 อาคาร 1 ตร. ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดมาตรการในการดำเนินการแก้ไข ปัญหาหนี้นอกระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ทุกหน่วยกำหนดเป้าหมายบุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล ที่มีพฤติการณ์เป็นนายทุนปล่อยเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนด ผู้นำและ/หรือทรัพย์สินไปให้กู้และติดตามทวงหนี้ โดยมีพฤติการณ์ข่มขู่/ประทุษร้าย/ใช้ความรุนแรง รวมทั้งบุคคลพ้นโทษและผู้ต้องหาที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวที่มีแนวโน้มกระทำผิดซ้ำ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อออกหมายค้น และได้กำหนดให้มีการระดมกวาดล้างผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบในพื้นที่ และผู้ติดตามทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรงมีการทำร้ายร่างกายผู้กู้ได้รับบาดเจ็บ โดยกำหนดให้ปฏิบัติการพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 2 เมษายน 2560 ในเบื้องต้นมีผลการปฏิบัติการดำเนินการรวบรวมราย ชื่อกลุ่มนายทุนเงินกู้นอกระบบทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 897 ราย และมีการระดมปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายพร้อมกันทั่วประเทศ จำนวนกว่า 190 เป้าหมาย สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ และประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 62 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้ที่มีพฤติการณ์ในการปล่อยเงินกู้นอกระบบในพื้นที่ และผู้ติดตามทวงหนี้ที่ใช้ความรุนแรง กองบังคับการปราบปราม ได้ปฏิบัติการสืบสวนหาข่าว พบว่ามีเครือข่าย ชื่อว่า ทราย จัดหนัก ได้ปล่อยเงินกู้นอกระบบ เก็บรายวัน เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยมีการใช้ทีมงาน ซึ่งเป็นชายฉกรรจ์ จำนวนมากกว่า 20 นาย ตระเวนปล่อยเงินและเก็บเงิน ในพื้นที่ จว.เพชรบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง มีวงเงินหมุนเวียนปล่อยกู้ 100 กว่าล้านบาท จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี อนุมัติหมายค้นและปฏิบัติการตามหมายค้นดังกล่าว โดยบูรณาการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ป. และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ สามารถจับกุม นางสาว จันทร์เพ็ญ แก้วมีสี อายุ 32 ปี ที่อยู่ 111/74 หมู่ 2 ต.บ้านกุ่ม อ.เมือง จว.เพชรบุรี แสดงเป็นเจ้าบ้านและเป็นผู้นำการตรวจค้น พร้อมกับ นายสรุเดช สุขสำราญ ผู้พักอาศัยอยู่ภายในบ้านดังกล่าว ร่วมนำตรวจค้นด้วย ผลการตรวจค้น ปรากฏว่า ดำเนินการตรวจค้น/ตรวจยึดสิ่งของ จำนวน 19 รายการ ซุกซ่อนอยู่ภายในบ้านหลังดังกล่าว ประกอบด้วย อาวุธปืน จำนวน 3 กระบอก (มีเอกสารใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ ระบุชื่อผู้รับใบอนุญาต คือ นางสาวจันทร์เพ็ญ แก้วมีสี) เอกสารแฟ้มต่าง จำนวน 12 ราย คอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ชุด , ตรายาง 1 อัน จึงได้ทำการตรวจยึดไว้เพื่อทำการสืบสวนตรวจสอบเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และ ดำเนินการตรวจค้นจับกุม นายสุรเดช สุขสำราญ อายุ 39 ปี ที่อยู่ 65 หมู่ 5 ต.บ้านลาด อ.บ้านลาด จว.เพชรบุรี พร้อมด้วยของกลาง อาวุธปืน พกกึ่งอัตโนมัติ ขนาด 9 มม. จำนวน 1 กระบอก พร้อมแม็กกาซีน และเครื่องกระสุนปืน จำนวน 10 นัด (ตรวจยึดได้จากบริเวณเอวด้านหลังของ นายสุรเดชฯ ขณะทำการตรวจค้น) และ อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ ยี่ห้อกล็อก ขนาด 9 มม.(หมายเลขทะเบียนปืน 54267745) จำนวน 1 กระบอก พร้อมแม็กกาซีน จำนวน 2 อัน (ตรวจยึดได้จากตู้เซฟภายในบ้านเลขที่ดังกล่าว) จากการสอบถาม นายสุรเดชฯ ให้การรับอาวุธปืนทั้งสองกระบอกเป็นของตนเองพร้อมกับนำเอกสารมาแสดง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแจ้งข้อกล่าวหาให้นายสุรเดช สุขสำราญ ทราบว่า “ พกพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควร ” ในชั้นจับกุมนายสุรเดชฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าว นำส่ง พงส.สภ.เมืองเพชรบุรี เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้ นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ป ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ทหารสังกัด มว.รส.มทบ.17 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2558 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4) เข้าทำการตรวจค้นบริษัท ชีพเกษม ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (สาขาสุพรรณบุรี) เลขที่ 254/363 ม.5 ต.สนามชัย อ.เมือง จว.สุพรรณบุรี เนื่องจากน่าเชื่อว่าสถานที่ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลุ่มเครือข่ายปล่อยเงินกู้นอกระบบและเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยมีนายพงศกร ผลมะขาม อายุ 36 ปี และนายประสบชัย บุญเฉียะ อายุ 26 ปี แสดงตนครอบครองสถานที่ดังกล่าว โดยทั้งสองยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจค้นและเป็นผู้นำการตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบ ใบโฆษณาเชิญชวน สัญญาซื้อขาย เอกสารสรุปยอดค้างชำระ ค้างรายเดือน สรุปผลยอดขาย ใบแจ้งราคาสินค้า ใบกำกับภาษี รายงานภาษีขาย เคสคอมพิวเตอร์ จึงได้ทำการตรวจยึดไว้ทำการตรวจสอบเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้กำชับสั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัด ดำเนินการตามข้อสั่งการ โดยให้ทุกหน่วยเพิ่มความเข้มการระดมกวาดล้างผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการระดมกวาดล้างอาชญากรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 1-10 เม.ย.60 ตามแผนพิทักษ์ภัยให้แก่ประชาชาชน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกส่วนหนึ่งด้วย ในการระดมกวาดล้างให้เน้นเป้าหมายสำคัญที่ได้จัดทำไว้ รวมทั้งให้ตรวจยึดเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน Software ที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการปล่อยเงินกู้นอกระบบ/การทวงหนี้โดยผิดกฎหมาย และพยานหลักฐานอื่นที่เป็นประโยชน์ในการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมชั้นศาล โดยให้ทุกหน่วยสรุปรายงานผลการดำเนินการปราบปรามหนี้นอกระบบในห้วงการระดมกวาดล้าง พร้อมถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว (คลิป) ประกอบ ตามแบบรายงานที่กำหนด และสรุปรายงานผลดำเนินการภาพรวม ในวันที่ 10 เม.ย.60 พร้อมทั้งให้มีการแถลงข่าวตามแผนฯ พร้อมกันนี้ ให้ ผู้บังคับบัญชาระดับ บช./ภ. บก./ภ.จว. ต้องลงไปควบคุม กำกับ ดูแล เร่งรัด ติดตามการปฏิบัติเพื่อปราบปรามผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบในพื้นที่อย่างใกล้ชิด จริงจัง ให้มีผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ กล่าวถึงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการ การปราบปรามแก๊งเงินกู้นอกระบบ ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อทำการจับกุมบุคคลที่กระทำความผิดในการปล่อยเงินกู้ ดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนด การประชุมวันนี้ได้เน้นย้ำดำเนินการ ตามนโยบานของรัฐบาล โดยจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้า ไปดำเนินการตรวจเอกสาร และรวบรวมพยานเอกสาร เพื่อขอศาลอนุมัติหมายจับด้วยการประชุมผ่านทาง video conference ไปยังทุก บช.ภ. เพื่อติดตามความคืบหน้า หลังจากที่ได้มีการสั่งการวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา ให้ดำเนินการตรวจค้นเจ้าหนี้นอกระบบ ที่กระทำความผิดในการปล่อยเงินกู้โดยให้ตรวจสอบหลักฐานเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านมาพบว่ามีเจ้าหนี้นอกระบบ ที่กระทำความผิดในการปล่อยเงินกู้มากที่สุดในพื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 1 และภาค 2 อย่างไรก็ตาม ต้องรอผลการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ ก่อนว่า มีผลอย่างไร การตรวจสอบพบเอกสารอะไร และแจ้งข้อหาใดนำมาประมวลสรุปผลอีกครั้ง เพื่อดำเนินการอย่างจริงจัง พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ กล่าวอีกว่า หากตรวจสอบพบว่ามีบุคคลในเครื่องแบบ หรือบุคคลมีสีเข้ามายุ่งเกี่ยว ถ้าตรวจสอบพบ ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที สำหรับการดำเนินการ ต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย การกระทำความผิดซึ่งหน้าสามารถจับกุมได้ ทันที แต่ประเด็นนี้เป็นการรวมพยานหลักฐาน ที่ได้กระทำความผิดไปแล้ว เพื่อขอศาลอนุมัติหมายจับเมื่อศาลอนุมัติหมายจับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จับกุมทันที สำหรับรายชื่อเจ้าหน้านอกระบบ จากการตรวจสอบพบว่ามีจำนวน 1,000 กว่ารายหรืออาจจะมากกว่านี้ก็ได้ เพราะตามหลักของกฎหมายการปล่อยเงินกู้จะต้องไม่เกินร้อย 15 ต่อปี อย่างเช่นผู้กู้ปล่อยเงินกู้จำนวนเงิน 10,000 บาทให้ผู้กู้ โดยเก็บเงินคืนวันละ 500 บาทรวม 24 วัน จะได้กำไร 2,000 บาท ส่วนใหญ่ที่ร้องเข้ามาเป็นเจ้าหนี้เงินกู้มาประมาณ 30,000 -40,000 บาท ซึ่งเจ้าหน้าตำรวจกองปราบปรามลงพื้นที่ เจังหวัดเพชรบุรีสามารถยึดบัญชีหลักฐานได้ในบัญชีมียอดเงินเป็นร้อยล้าน สำหรับการทำสัญญา เจ้าหนี้ได้ทำสัญญาเงินกู้ธรรมดาธรรมดา หรือทำสัญญาซื้อของต่สงๆ เช่นทองคำ หรือรถจักรยานยนต์ ในราคาเกินกว่าต้นทุนของทรัพย์สินเช่น ทองคำบาทละ 20,000 บาท ก็ให้ผ่อนเป็น 30,000 บาท ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย บางรายทำการกู้โดยเขียนเช็คล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาไม่ชำระเงินมีการฟ้องร้องกัน ซึ่งปัญหาตรงนี้อยู่ระหว่างการแก้ไข พูดคุยกันแต่ละภาค นอกจากนี้พวกมอเตอร์ไซค์ใส่หมวกกันน็อค ตามเก็บเงินกู้รายวัน ที่เก็บเงินดอกเบี้ยเดืนกว่าอัตรากฎหมายกำหนดก็เข้าข่ายร่วมกัน ใช้พาหนะกระทำความผิด โดยส่วนใหญ่ จะเป็นแม่ค้าในตลาด เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขการดำเนินการครั้งนี้รวมทั้งแขก ที่ปล่อยเงินกู้ เกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนด ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน