ชุมชนบ้านเชียง พอมี พอกิน มีความสุขยั่งยืน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ ดำเนินชีวิต ประเทศชาติและคนในชาติมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืนนั้นก็ด้วยการมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ พึ่งพาตนเองด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายดำเนินชีวิต อย่างพอมี พอกิน พอเพียงอย่างยั่งยืน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ บรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเคียงข้างเป็นกำลังสำคัญ ทั้ง 2 พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยต่อพสกนิกรทุกคน เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกสารทิศไม่ว่าที่แห่งนั้นจะไกล หรือทุรกันดารเพียงใด ก็ทรงบากบั่น เสด็จฯ ไปถึงมิทรงคำนึงถึงความอยากลำบากเพื่อทรงนำความเจริญทั้งด้านอุปโภคบริโภคให้พสกนิกรชาวไทย ด้วยทั้ง 2 พระองค์ทรงพระเมตตาแก่ประชาชนอย่าหาที่สุดมิได้ เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทางบริษัท ไทยเบฟฯ นำสื่อมวลชนเดินทางสู่บ้านเชียง อ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 20 มีนนาคมที่ผ่านมา สัมผัสวิถีชีวิตประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ ดำเนินชีวิตจนมีความ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรอย่างใกล้ชิดในจังหวัดอุดรธานี และเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโบราณวัตถุขุดค้นพบที่วัดพระโพธิ์ศรีในบ้านเชียงถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทยปัจจุบันรู้จักกันในระดับโลก และบ้านไม้ไทยพวนโบราณของนายพจน์ ตรีพิทักษ์ ได้ขุดพบเจอโบราณวัตถุเช่นกัน จากวันนั้นถึงวันนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย จากกนึ่งในจังหวัดภาคอีสานที่มีความแห้งแล้งประชาชนดำเนินชีวิตทุกข์ยากในเรื่องของการทำมาหากินในช่วงเวลาหนึ่งเพียงแค่ขุดพบเจอโบราณวัตถุแล้วนำไปซื้อขายเป็นรายได้แต่ทำให้เป็นการสูญเสียสมบัติอันล้ำค่าของประเทศชาติไปโดยไม่รู้ตัวเมื่อทั้ง 2 พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินมายังพื้นที่จังหวัดอุดรธานี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ2515 ณ หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ว่า “ก็ไม่น่าจะสิ้นเปลืองเงินทองมากนักเพราะเรื่องพิพิธภัณฑ์เป็นแบบสากลระหว่างชาติ อีกประการหนึ่งทั่วโลกก็คงจะสนใจเรื่องบ้านเชียงนี้มาก ใครๆ ก็อยากจะรู้และให้ความร่วมมือในเรื่องการหาอายุ ถ้าหาอายุจากกระดูกได้ จะเป็นการเชื่อถือมากขึ้น” ด้วยกระแสพระราชดำรัสเป็นประทีบส่องทางให้ชาวบ้านเริ่มตระหนักถึงคุณค่าแห่งมรดกทางโบราณวัตถุให้เกิดความรู้ความหวงแหนและร่วมกันรักษาเพื่อเชื่อมสู่ทางดำเนินชีวิตที่มีความผาสุก ความเจริญมาสู่ท่องถิ่นและชาวบ้านในจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันเป็นสถานทีท่องเที่ยวติดอันดับโลกเพราะมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง เป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุที่หลากหลายเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ปี 2525 นับจากนั้นมาเกิดความร่วมมือของการทำงานทุกฝ่ายตั้งแต่ชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัดร่วมมือกันในการอนุรักษ์โบราณคดี ทำให้ชาวบ้านหันมารักและหวงแหนสมบัติล้ำค่าเพื่อคงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของวัฒนธรรมประเพณีตลอดจนเกิดการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีคนไทยด้วยทั้งประเทศและต่างชาติจากทั่วโลกมาเที่ยวทำให้เกิดอาชีพเสริมรวมถึงการจำลองเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเป็นของที่ระลึกจำหน่าย ส่งเสริมการพัฒนาด้านอาชีพในครัวเรือน ด้วยวิถีชีวิตของคนในชุมชนดั่งเดิมเช่นผ้าไหมที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมากจากพระราชดำริเข้ามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนจนไปถึงระดับภูมิภาค ทำให้เกิดความสามัคคีกันของคนในชุมชน ถ่อยทีถ่อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน “เศรษฐกิจพอเพียง...จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกันเชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541 จังหวัดอุดรธานีก็ถือว่าเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ประชาชนได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มาปรับใช้และพัฒนาคนในชุมชนได้อย่างดีด้วยการดำเนินชีวิตและการพัฒนาในพื้นที่เกิดจากการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ จากเมื่อก่อนมีอาชีพเพียงทำนาปลูกข้าว หลังจากรอเก็บเกี่ยวก็ว่างงานไม่มีอาชีพเสริมกัน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงส่งเสริมอาชีพด้านการทอผ้าของคนในชุมชนในพื้นที่บ้านเชียงก็ได้รวมใจเดินตามรอยพระยุคลบาท มีการจัดตั้งแม่บ้านกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเทศบาลบ้านเชียง ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้สิ่งทอและหัตถกรรมไทย แม่ประยูร สีเสา อายุ 60 ปี เล่าว่า อาชีพทอผ้าทำมาตั้งแต่อายุน้อย ๆ ได้ความรู้จากต้นตระกูลโดยเฉพาะจากแม่ตนเองที่สอนมาอีกที พอมีการส่งเสริมอาชีพการทอผ้ามากขึ้น มีนักท่องเที่ยวมาชมซื้อหาผ้าที่คนในชุมชนช่วยกันทอที่บ้านก็มีรายได้มากขึ้น ชุมชนที่นี่ช่วยกันคิดดัดแปลงลายผ้าให้ทันสมัย แต่เด่นตรงที่ผ้าทอสร้างลวดลายบนผืนผ้าฝ้ายย้อมครามมัดหมี่ ที่เป็นผ้าลายบ้านเชียงก็จะมีเอกลักษณ์กว่าที่อื่น ให้ดูที่ลายไหก้นหอย จะมีที่บ้านเชียงที่เดียว ก็ช่วยให้คนในชุมชนและครอบครัวแต่ละบ้านมีรายได้เพิ่มอย่างต่อเนือง จากเมื่อก่อนได้เงินมาเพียงแค่ทำนากันเท่านั้นเอง ยิ่งบ้านเชียงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมแหล่งโบราณวัตถุ วิถีความเป็นอยู่คนในจังหวัดอุดรธานีเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ชาวบ้านที่นี่เกิดการรวมตัวจัดตั้งบ้านเรือนเป็นที่พักแรมแบบโฮมสเตย์เพิ่มเติมให้นักท่องเที่ยวก็มี จัดทำของที่ระลึก เช่น เครื่องปั้นดินเผาลายต่าง ๆ ที่บ้านเองก็มีรายได้เพิ่มมีเงินจุนเจือครอบครัว ยิ้มได้ ส่งลูกหลานเรียนหนังสือ “พวกเราอยู่กันแบบพึ่งพาอาศัยกันมีอะไรก็ดูแลช่วยเหลือกัน ดีใจมากที่บ้านเชียงได้รับความสนใจมีคนมากมายแวะเวียงมาเที่ยวชม ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงส่งเสริมให้ราษฎรอย่างพวกเรามีอาชีพ มีที่ทำกิน พึ่งพาตนเองโดยไม่ต้องไปเบียดเบียนผู้อื่น มีการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีให้ชาวบ้านรักษาให้ดีที่สุด แม่ขอสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทั้ง 2 พระองค์ ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยพสกนิกรที่ห่างไกลอย่างพวกเราจนมีความเป็นอยู่ที่ดีมาจนถึงทุกวันนี้ แม่ก็ขอตั้งใจทำหน้าที่สืบสานสอนลูกหลานเรื่องการทอผ้าให้เป็นที่รู้จัก จะปฏิบัติหน้าที่ของคนไทยที่ดีคนหนึ่ง จะสอนให้คนในครอบครัวรักและเทิดทูนมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตลอดไป” นางประยูร กล่าว บ้านเชียง อ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี ไม่มีเพียงแค่การรวมกลุ่มของบ้านกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเทศบาลบ้านเชียงเท่านั้น มีการส่งเสริมอาชีพของคนในชุมชนอีกหนึ่งอาชีพ คือ การทำเครื่องจักสานที่เป็นการร่วมตัวของแม่ๆ ในชุมชนมานั่งช่วยกันทำเครื่องจักรสานขายให้กับนักท่องเที่ยว แม่มะลิ สมบัติกำไร อายุ 65 ปี ได้เล่าว่า พวกแม่ ๆ จะรวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพเสริมยามว่างจากการทำนารอระหว่างข้าวออกรวงก่อนเก็บเกี่ยวก็จะมาช่วยกันนั่งสานตระกร้าบ้าง กระติบข้าวเหนียว กระบุง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเล็กๆ น้อย ๆ ค่อย ๆ ทำกันไปมีความสุขกันดี ยิ่งทำให้ชุมชนบ้านเรารักกันมากพึ่งพากันมีอะไรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน “เมื่อก่อนในหมู่บ้านที่อยู่กันทำแต่ไร่นาเท่านั้น พอในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จ ฯ มายังบ้านเชียงก็เปลี่ยนแปลงมากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทำให้พวกเรามีการจัดตั้งกลุ่มทำเครื่องจักรสานเพื่อนำไปขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา ตอนนี้ก็มีความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก มีความสุข แต่ก็รู้สึกใจหายนะตั้งแต่การการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 แม่ร้องไห้เสียใจมากอยากให้พระองค์ท่านกลับมาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร่ของพวกเราต่อไป สำหรับพวกแม่ ๆ ก็จะตั้งใจทำงานนี้สืบสานประเพณีบ้านเราต่อไป สอนลูกสอนหลานให้มีความรักความกตัญญูต่อพ่อของแผ่นดินที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณมากมายมหาศาล ทรงนำความเจริญงอกงามมาสู่บ้านเชียงและคนทั้งแผ่นดินมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา และแม่ขอยึดมั่นในคำสอนอของพ่อในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง การพออยู่พอกินพึ่งพาตนเองได้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความรักสามัคคีกันในครอบครัวและในชุมนชน” แม่มะลิกล่าวทิ้งท้าย รายงาน/ฤทัยรัตน์ เมืองกฤษณะ