บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสรุปตัวเลขผู้เสียชีวิจจากอุบัติเหตุรถยนต์ช่วง7วันอันตราย เฉพาะ 6 วันปาเข้าไป 392 ราย สูงทิ้งห่างตัวเลขรับแจ้งของปภ.ที่มีจำนวน 335 ราย มาใช้สิทธิเรียกร้องสินไหมกับบริษัทกลางฯแล้ว 156ราย แต่บริษัทจ่ายไป 106 ราย 12 ล้านเศษ รายงานข่าวจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เปิดเผยถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตและเอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนับตั้งแต่วันที่ 11-16 เม.ย.2560 รวม 6 วัน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 392 รายตามลำดับดังนี้คือ วันที่(11) 52 ราย ,วันที่ (12)63 ราย ,(วันที่ 13)102 ราย ,วันที่ (14)70 ราย ,วันที่ (15) 64 ราย และวันที่(16) 41 ราย ขณะที่ตามรายงานของกรมป้องกันอุบัติภัย(ปภ.)ระหว่างวันที่ 11-16 เม.ย.60 มีจำนวนทั้งสิ้น 335 ราย เรียงลำดับได้ดังนี้คือ 38 ราย , 55 ราย ,83 ราย , 60 ราย ,55 ราย และ44 ราย ทั้งนี้หากจำแนกเป็นรายภาคได้แก่ กรุงเทพมหานคร 20 ราย ,ภาคกลาง 41 ราย ประกอบไปด้วย สมุทรปราการ 7 ราย ,ปทุมธานี 4 ราย ,นนทบุรี 2 ราย ,สระบุรี 8 ราย ,ชัยนาท 2 ราย ,อ่างทอง 2 ราย ,พระนครศรีอยุธยา 8 ราย ,ลพบุรี 7 ราย และสิงหบุรี 1 ราย ภาคตะวันออกรวมทั้งสิ้น 33 ราย ได้แก่ ชลบุรี 3 ราย ,ตราด 2 ราย ,สระแก้ว 4 ราย ,ฉะเชิงเทรา 4 ราย ,ปราจีนบุรี 5 ราย ,นครนายก 4 ราย ,ระยอง 10 ราย และจันทบุรี 1 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างรวมทั้งสิ้น 58 ราย ได้แก่ นครราชสีมา 20 ราย ,อุบลราชธานี 10 ราย ,สุรินทร์ 10 ราย, บุรีรัมย์ 9 ราย ,ศรีสะเกษ 3 ราย ,ชัยภูมิ 3 ราย ,ยโสธร 2 ราย และอำนาจเจริญ 1 ราย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีทั้งสิ้น 67 ราย ได้แก่ ขอนแก่น 11 ราย ,สกลนคร 10 ราย ,ร้อยเอ็ด 10 ราย ,เลย 6 ราย,อุดรธานี 6 ราย ,หนองคาย 5 ราย ,หนองบัวลำภู 5 ราย ,มุกดาหาร 5 ราย ,กาฬสินธุ์ 4 ราย ,นครพนม 2 ราย, มหาสารคาม 2 ราย และบึงกาฬ 1 ราย ภาคเหนือตอนบนรวมทั้งสิ้น 48 รายได้แก่ เชียงใหม่ 16 ราย , เชียงราย 15 ราย ,ลำพูน 5 ราย ,พะเยาว์ 4 ราย ,น่าน 4 ราย ,ลำปาง 3 ราย และแพร่ 1 ราย ส่วนภาคเหนือตอนล่าง 52 ราย ประกอบด้วย พิจิตร 12 ราย ,เพชรบูรณ์ 9 ราย, นครสวรรค์ 8 ราย ,กำแพงเพชร 7 ราย ,พิษณุโลก 7 ราย ,ตาก 3 รายและอุตรดิตถ์ 3 ราย ,สุโขทัย 2 ราย และอุทัยธานี 1 ราย ขณะที่ภาคตะวันตก มีทั้งสิ้น 37 ราย ได้แก่ นครปฐม 10 ราย ,กาญจนบุรี 8 ราย ,เพชรบุรี 5 ราย ,ราชบุรี 5 ราย ,สมุทรสาคร 4 ราย ,สุพรรณบุรี 3 ราย และประจวบคีรีขันธ์ 2 ราย โดยสมุทรสงครามไม่มีรายงาน ส่วนภาคใต้ตอนบนมีทั้งสิ้น 18 ราย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 9 ราย , นครศรีธรรมราช 3 ราย ,ชุมพร 3 ราย ,พังงา ,ระนองและภูเก็ตจังหวัดละ 1 ราย โดยกระบี่ไม่มีรายงาน สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีทั้งสิ้น 18 ราย ได้แก่ พัทลุง 6 ราย ,สงขลา 4 ราย ,ตรัง 3 ราย ,ปัตตานี 2 ราย ,สตูล 2 ราย และยะลา 1 ราย โดยนราธิวาส ไม่มีรายงาน วันเดียวกันนี้ ด้านศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุบนถนน (ศปถ.) ได้สรุปสถิติยอดรวมอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2560 ตลอด 6 วัน ระหว่างวันที่ 11 – 16 เมษายน 2560 มีการเกิดอุบัติเหตุรวม 3,388 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 335 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 3,506 คน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดอันดับหนึ่งคือเมาสุรา รองลงมาคือขับรถเร็วเกินกำหนด และรถจักรยานยนต์ยังคงเป็นพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ผู้ประสบภัยจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีภารกิจตามกฎหมายคือทำหน้าที่ในการดูแลประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุจากรถให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและได้ร่วมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนกับภาครัฐมาโดยตลอด บริษัทกลางฯ จึงมีมาตรการในการเยียวยาหลังเกิดเหตุโดยทันที โดยได้ร่วมกับเครือข่ายรับแจ้งเหตุ,มูลนิธิ,โรงพยาบาลที่ใช้ระบบ e -Claim กับบริษัทกลางฯ ทั่วประเทศ โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีผู้ประสบภัยที่มาใช้สิทธิกับบริษัทกลางฯ ผ่านระบบ e – Claim โดยที่ผู้ประสบภัยไม่ต้องสำรองจ่าย เพราะโรงพยาบาลจะบันทึกข้อมูลเข้ามาในระบบ e - Claim ผู้ประสบภัยก็จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยจะคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่รอพิสูจน์ความรับผิด กรณีบาดเจ็บความคุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิตคุ้มครอง 35,000 บาทต่อคน สำหรับผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ จากยานพาหนะที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 316 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ จำนวน 210 คันและมาใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกับบริษัทกลางฯมีจำนวนทั้งสิ้น 156 ราย โดยมาตรการเยียวยาของบริษัทในกรณีที่มีการเสียชีวิตคือการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประสบภัยจากรถภายใน 24 ชั่วโมง โดยบริษัทกลางฯ ได้ดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปจำนวนทั้งสิ้น 106 ราย รวมเป็นเงิน 12,190,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ทายาทและครอบครัวผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ประสบภัยพึงได้รับตามความคุ้มครองจากการประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สำหรับเอกสารที่ผู้ประสบภัยจากรถต้องเตรียมเพื่อใช้ในการเบิกค่าสินไหมทดแทนกรณีบาดเจ็บ ประกอบด้วย1.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยหรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ และ 2. ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ ในกรณีเสียชีวิต เอกสารที่ใช้ประกอบด้วย 1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยหรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ 2. ใบมรณบัตร 3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท 4. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะการประสบภัยจากรถ ดังนั้นต้องอย่าลืมหน้าที่ของเจ้าของรถจะต้องจัดทำประกันภัย พ.ร.บ.ตามกฎหมายเพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วจะมีความคุ้มครอง จากสงกรานต์ที่ผ่านมามีผู้ประสบภัยจากรถจำนวนมากที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง