เคยได้ยินเสียงจากข้อกันไหม เวลาทำกิจกรรมบางอย่างแล้วอาจจะ ได้ยินเสียงตามข้อต่างๆดังกรอบแกรบ เช่น เสียงจากเข่าขณะลุกเดินหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า หรือเสียงจากข้อไหล่เมื่อเอื้อม หยิบของ หากเคยได้ยิน คุณคิดไหมว่าเสียงเหล่านั้นอาจจะกำลังบอกอะไรบางอย่างกับเราก็เป็นได้ จากข้อมูลทางวิชาการมีการระบุถึงสาเหตุของการเกิดเสียงตามข้อต่างๆ ว่ามาจากหลายปัจจัย ได้แก่ เกิดจากก๊าซในน้ำไขข้อกลายเป็นฟอง เช่น เมื่อหักข้อนิ้วมือทำให้ปลอกหุ้ มข้อต่อขยายออก ในขณะที่แรงดันในข้อลดลง ก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำไขข้อจึงผุ ดเป็นฟองแล้วรวมตัวกันเป็นฟองก๊ าซขนาดใหญ่ เมื่อยืดข้อต่อออกไปอีก น้ำไขข้อจะไหลกลับเข้าสู่ข้ออีก ครั้ง ทำให้ฟองก๊าซขนาดใหญ่เหล่านั้นยุบลงเป็นฟองขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดเสียงดังภายในข้อ เกิดจากการเคลื่อนไหวของข้อ กระดูกอ่อน และเอ็นรอบๆข้อ ซึ่งมักจะเป็นบริเวณข้อเข่าและข้อเท้า ข้อเสื่อมจนทำให้พื้นที่ผิวข้อขรุขระ เมื่อมีการเสียดสีกันจึงทำให้เกิดเสียง สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ “ข้อเสื่อม” อันเป็นผลมาจากกระดู กอ่อนที่เชื่อมต่อข้อต่าง ๆ ผุพังหรือบางลง ทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสีกันจนเ กิดการอักเสบ จึงรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อต่อจน ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอาการข้อเสื่อมมักมีสาเหตุมาจากวัยที่สูงขึ้นและการใช้งานข้อต่อต่างๆอย่างหนักหรือหักโหมจนเกินไป จากสถิติคนไทยเป็นโรคข้อเสื่อมมากถึง 7 ล้านคน หรือร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด และมักจะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าผู้สูงวัยจะหลีกหนีจากโรคนี้ไม่ได้ เพราะศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน กระดูกและข้อต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอาการป วดข้อนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แค่ดูแลร่างกายเป็นอย่างดีและถูกวิธี หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มักจะได้ยินเสียงข้อต่อดังกรอบแกรบ ลองปฏิบัติตามข้อแนะนำ 4 ข้อนี้ แล้วโรคข้อเสื่อมจะไม่มากล้ำกรายแน่นอน 1.ควบคุมน้ำหนัก เพราะหนึ่งในสาเหตุใหญ่ของอาการข้อเสื่อมคือความอ้วน ยิ่งคุณมีน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อต่อต่างๆในร่างกายยิ่งต้องรับภาระอันหนักอึ้งมากขึ้นเท่านั้น การควบคุมน้ำหนักจึงเป็นการช่วยทะนุถนอมข้อกระดูกทางหนึ่งด้วย 2.อย่าอยู่ในท่าเดิมนานๆให้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง โดยเฉพาะท่าทางที่ผิดและส่งผลเสียต่อข้ออย่างการนั่งยองๆ หรือบางคนชอบยืนทิ้งน้ำหนักตัวไปด้านเดียว ซึ่งเป็นการสร้างภาระให้ข้อข้างนั้นรับน้ำหนักเพียงด้านเดียว รวมไปถึงการนั่งหลังงอและก้มหน้าทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ ก็เป็นผลเสียต่อข้อต่อบริเวณคอแ ละกระดูกสันหลังส่วนเอว ดังนั้นไม่ว่าจะนั่งนอน หรือยืนก็ควรอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง และหมั่นขยับเขยื้อนตัว ยืดแขนยืดขาบ้างเพื่อบริหารข้อต่อให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ 3.ไม่หักโหมออกกำลังกายจนเกินไป และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพราะหากออกกำลังกายหนักเกินไปจะส่งผลโดยตรงต่อข้อและกระดูก แต่หากอยากออกกำลังกายจริงๆ ควรทำควบคู่ไปกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อจะช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆของข้อต่อ เมื่อร่างกายต้องเคลื่อนไหวรุนแรง โดยเฉพาะการมีกล้ามเนื้อหน้าท้อ งและกล้ามเนื้อหลังที่ดี จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับภาระการเคลื่อนไหวและแรงต่างๆน้อยลง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะเสื่อมได้มาก 4.หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดบ่อยเกินความจำเป็นเช่น สเตียรอยด์แบบฉีดเพื่อลดการอักเสบของข้อ เพราะหากใช้บ่อย ๆ อาจมีผลต่อข้อกระดูก ทำให้ข้อเสียและกระดูกบางลงได้ โรคข้อเสื่อม หากไม่ป้องกันนอกจากจะนำมาซึ่งความเจ็บปวดทรมานและทำให้การใช้ ชีวิตประจำวันผิดเพี้ยนไปแล้ว ยังเป็นโรคที่ยากจะรักษาให้หายขาดหรือกลับคืนสู่สภาพปกติ ดังนั้น ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ เริ่มดูแลรักษาข้อให้อยู่ในสภาพ ดีตั้งแต่วันนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต เอื้อเฟื้อข้อมูล : จากฝ่ายการตลาด และบริหารภาพลักษณ์องค์กร บมจ.เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต(ไทยแลนด์) ที่มา: บทความของ พญ.สุมาภา ชัยอำนวย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อจาก www.haijai.com www.bumrungrad.com