ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัด จ.สตูล สมาชิกสภานิติบัญญัตแห่งชาติ นำโดยพล.ท.ชัยยุทธ พร้อมสุข ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมสนช.กว่า 20 อาทิ พล.อ.ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ นายชาญวิทย์ วสยางกูร รองประธานคณะกรรมาธิการปกครองท้องถิ่น นายอิสระ ว่องกุศลกิจ รองประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์คนที่ 1 นายอนุมัติ อาหมัด กรรมาธิการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน นางสุวิมล ภูมิสิงหราช กรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ เป็นต้น เพื่อรับฟังปัญหาจากประชาชน เกี่ยวกับการพัฒนศักภาพด่านชายแดนวังประจัน โครงการก่อสร้างสะพานสตูล-เปอร์ลิส โครงการก่อสร้างศูนย์ประสานงานอุทยานธรณีโลก และการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะ โดยมีนายภัทรพนธฺ รัตนพิเชฏฐชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลให้การต้อนรับ ขณะที่สมาชิกส่วนหนึ่งได้ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาการพัฒนาศักภาพด่านชายแดนวังประจัน อ.ควนโดน และทำกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด รวมทั้งพบกับตัวแทนกลุ่มสตรี นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)กล่าว่า ช่วงจากนั้ไปอีก 7 ปีจะเป็นช่วงของการปฏิรูปประเทศซึ่งหลังที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้กำหนดการปฏิรูปประเทศ ที่มีสภาพบังคับให้ทุกรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลหน้าจะต้องมีการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายหลายฉบับจะต้องออกมาเพื่อวางแนวทาง ฉบับแรกที่จะเห็นก็คือ กฎหมายแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศซึ่งต้องออกให้ได้ภายใน 120 วัน และกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ ตนคาดว่าเดือนส.ค.จะสามารถประกาศใช้ได้ และเมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้สปท.ก็จะพ้นสมาชิกภาพทันที อีกทั้งรัฐธรรมนูญ ม.77 ยังบังคับให้ต้องรับฟังความเห็นของประชาชนพร้อมกับการวิเคราะะห์ผลกระทบด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นได้เปิดให้ประชาชนได้สะท้อนปัญหาในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่แป็นปัญหาเกี่ยวกับเอกสารที่ดินทำกิน ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ปัญหาด้านการคมนาคม การเพิ่มเงินเดือนของอาสาสมัครหมู่บ้าน นอจากนี้ยังมียังได้มีการสอบถามเรื่องของข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการเมืองสภาขับเดลื่อนการปฏิรูปประเทศที่เสนอให้ลดวาระการดำเรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านเหลือครั้งละ 2 ปี โดยแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสปท. ซึ่งทางสนช.ได้ชี้แจงว่า อย่าเพิ่งกังวลเพราะเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้นเท่านั้น ยังต้องมีอีกหลายขั้นตอนกว่าที่กฏหมายจะออกมา สำหรับโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการมาแล้วจำนวน 27 ครั้ง รวม 52 จังหวัด โดยได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนทั้งสิ้น 7,236 ราย สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติแล้วจำนวน 5,887 ราย และอยู่ในระหว่างดำเนินการจำนวน 1,349 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.68