เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้แจงความคืบหน้าคดีทุจริตของผู้บริหาร รองผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ในส่วนกลางและ 19 จังหวัด รวม 20 คดี และสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบว่าได้ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาเพื่อลงโทษทางวินัย และอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาแล้ว ดังนี้ 1.ส่วนกลาง 2 คดีร้องเรียนกล่าวหา นายโสมนัส หรือฐณพบ ชุติมา รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานบริหารสินทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ว่าแอบอ้างชื่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้แนะนำให้ซื้อที่ดินของธนาคาร แล้วรับเงินที่ธนาคารจ่ายเป็นค่าแนะนำไปเป็นประโยชน์สำหรับตนเองโดยมิชอบ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายโสมนัส หรือฐณพบฯ มีมูลความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และ มาตรา 91 สำหรับความผิดทางวินัยนั้นคณะกรรมการธนาคารกรุงไทย ได้มีมติลงโทษไล่ออกแล้ว 1.ร้องเรียนกล่าวหา นายสุธี สุถินบุตร เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน สำนักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม กรมสรรพสามิต นายปุณณะ วัชฤทธิ์ นายพงษ์พล อริยะวงศ์ และนายวิทยา เหมสูงเนิน ว่าเรียกรับเงินจากร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ต่างประเทศ โดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อละเว้นไม่ดำเนินคดี ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายสุธี มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 นายปุณณะ นายพงษ์พล และนายวิทยา มีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงานกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 2.ร้องเรียนในจ.นครสวรรค์กล่าวหา นายกมล ชั่งทอง นายสถานีรถไฟชุมแสง ว่าเบียดบังเงินค่าเช่าที่ดิน อาคาร และค่าใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายกมลฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 157 และมาตรา 158 ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 2.ร้องเรียนในจ.ลพบุรีกล่าวหา นายโกมินทร์ ทองดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง ว่านำรถยนต์ซึ่งได้รับมอบจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ไปใช้ในกิจการส่วนตัว โดยมิได้ลงทะเบียนคุมรถยนต์ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายโกมินทร์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมาตรา 157 3.ร้องเรียนในจ.สมุทรสาครกล่าวหา 1.นายจาตุรงค์ ปิ่นสุภา เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 สถานีอนามัยบ้านท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน และ2.นายอดุลย์ น่วมนวล เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6 สถานีอนามัย บ้านท่าเสา เป็นประธานกรรมการเก็บรักษาเงิน ว่าเบียดบังเงินของทางราชการไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายจาตุรงค์ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 147 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 และนายอดุลย์ มีมูลเพียงความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง 4.ร้องเรียนในจ.พิจิตรกล่าวหา นายพายับ หรือพยับ จันทไทย สมาชิกสภาเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน ว่าข่มขู่ และทำร้ายร่างกายขณะผู้ยื่นซองกำลังจะเข้าไปยื่นซองสอบราคาโครงการจัดซื้ออุปกรณ์กีฬา ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายพายับ หรือพยับฯ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ และฐานเป็น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และมาตรา 13 และฐานพยายามข่มขืนใจผู้อื่นให้ จำยอมร่วมดำเนินการใด ๆ ในการเสนอราคา หรือไม่เข้าร่วมในการเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคาหรือต้องทำการเสนอราคาตามที่กำหนดโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สามจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 6 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 5.ร้องเรียนในจ.สุโขทัยกล่าวหา นางมุขสุดา ติวุตานนท์ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสำโรง อำเภอศรีสำโรง ว่าเบียดบังทรายของเทศบาลตำบลศรีสำโรง ไปใช้ในการก่อสร้างห้องพักโรงแรมที่เป็นกิจการของตนเอง ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางมุขสุดาฯ มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงได้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 151และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 90 6.ร้องเรียนจ.เชียงรายกล่าวหา ด.ต. สุรินทร์ ทิพย์สังวาลย์ ผู้บังคับหมู่งานป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจ ภูธรแม่ฟ้าหลวง ส.ต.อ. เผด็จ จุมด้วง ผู้บังคับหมู่งานจราจร สถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่ฟ้าหลวง และส.ต.ต. ประนม มารินทร์ ผู้บังคับหมู่งานป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่ฟ้าหลวง ว่าเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาค้ายาเสพติด (ยาบ้า) เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการปล่อยตัวไป และไม่ดำเนินคดี ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า มีมูลความผิด ทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 สำหรับความผิดทางวินัยนั้น จังหวัดเชียงรายได้ลงโทษไล่ออกแล้ว 7.ร้องเรียนในจ.เชียงใหม่กล่าวหานายณรงค์ วิบูลย์มา นายกเทศมนตรีตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ นายสัมพันธ์ กลั่นเรืองแสง ปลัดเทศบาลตำบลหนองหอย นางสุวพิชญ์ วีเกษ ผู้อำนวยการกองคลัง เทศบาลตำบลหนองหอย และน.ส.อภิรมยา คันใจ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี เทศบาลตำบลหนองหอย ว่าแก้ไขใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ แล้วเบียดบังเงินไปเป็นของตนเองหรือ ของผู้อื่น ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายณรงค์ มีมูลความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 157 มาตรา 158 มาตรา 161 และมาตรา 162 (1) , (4) ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 นายสัมพันธ์ และนางสุวพิชญ์ฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) , (4) ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 และน.ส.อภิรมยาฯ มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง 9.ร้องเรียนในจ.พะเยากล่าวหา นายเสฐียร วัชราธิวัฒน์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าพะเยา กรมป่าไม้ ว่าทำการเบิกค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า และค่าวัสดุฟากไม้ไผ่ทำพื้นและค่ามุงหลังคาเป็นเท็จ แล้วเบียดบังเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายเสฐียร มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 151 ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 10.ร้องเรียนในจ.นครราชสีมากล่าวหา นายมงคล เหล็กลอย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านจาก อำเภอโนนไทย ว่าเรียกรับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณี พิเศษ (โบนัส) จากพนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลด่านจาก ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายมงคลฯ มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงได้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และมีมูลเป็นความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 103 ประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 11. ร้องเรียนในจ.บึงกาฬกล่าวหานายมนตรี ถ้ำเล็บมือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเดิ่น น.ส.มณีรัตน์ ดวงกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเดิ่น อำเภอบุ่งคล้า ว่าเรียกรับเงินจากพนักงานจ้าง จำนวน 6 ราย เพื่อแลกกับการต่อสัญญาจ้างตำแหน่งผู้ช่วยครู ผู้ดูแลเด็ก ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่านายมนตรี มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงได้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157ประกอบมาตรา 83 ส่วนน.ส.มณีรัตน์ฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 12. ร้องเรียนในจ.มหาสารคามกล่าวหา นางสาวจริยา คุณพรม เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดมหาสารคาม ว่าแก้ไขวันที่ในใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม แล้วนำส่งเงินที่ได้รับไว้ให้งานการเงินล่าช้า โดยนำไปหมุนเวียนใช้เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางสาวจริยาฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ มาตรา ๑๕๗ ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 สำหรับความผิดทางวินัยนั้น สำนักงานศาลยุติธรรมได้ลงโทษ ไล่ออกแล้ว 13. ร้องเรียนในจ.ร้อยเอ็ดกล่าวหา นายยศธนา นพรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี ว่าเรียกรับเงินจากพนักงานและพนักงานจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการอนุมัติเบิกจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ(โบนัส) ประจำปี 2554 ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายยศธนา มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 90 14. ร้องเรียนในจ.เลยกล่าวหา นายกิตติพงษ์ พลซา พนักงานปฏิบัติการ 4 ธนาคารออมสิน สาขาวังสะพุง ธนาคารออมสินเขตเลย ธนาคารออมสินภาค 8 ว่าเบียดบังเงินสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนแบบกลุ่ม ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายกิตติพงษ์ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลเป็นความผิด ทางอาญา ฐานเป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสียและฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และมาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และมาตรา 91 สำหรับความผิดทางวินัยนั้น ธนาคารออมสินได้ลงโทษไล่ออกแล้ว 15. ร้องเรียนในจ.สกลนครกล่าวหานายประมวลชัย สิงห์คาม นายกเทศมนตรีตำบลสามัคคีพัฒนา นายบรรพต บัวศรี รองปลัดเทศบาลตำบลสามัคคีพัฒนา และนางลักขณา อริยชาติ หัวหน้าส่วนการคลัง อำเภออากาศอำนวยว่าประกาศใช้เทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 และเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2555 โดยมิชอบ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่านายประมวลชัยฯ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1), (4) ประกอบมาตรา 83 มาตรา 90 และมาตรา 91 นายบรรพตฯ และ (3) นางลักขณาฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) , (4) ประกอบมาตรา 83 มาตรา 90 และมาตรา 91 16. ร้องเรียนในจ.หนองคายกล่าวหา นางสาวประนอม สาริกา เจ้าหน้าที่สรรพสามิต 3 สำนักงานสรรพสามิต ว่าเบียดบังแสตมป์ยาสูบ จำนวน 280,200 ดวง ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางสาวประนอมฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 สำหรับความผิดทางวินัยนั้น กรมสรรพสามิตได้ลงโทษไล่ออกแล้ว 17. ร้องเรียนในจ.อุบลราชธานีกล่าวหา (1) สิบตำรวจเอก ยอดชาย หรือชัยพล เกษละคร ผู้บังคับหมู่งานป้องกันและปราบปราม สถานีตำรวจภูธรสำโรง ช่วยราชการสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี (2) นายณัฐพงษ์ สุพรรณ์ ว่าเรียกรับเงินจากผู้ต้องหา เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดีฐานมียาเสพติด (ยาบ้า) ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า ส.ต.อ.ยอดชาย หรือชัยพลฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 มาตรา 157 และมาตรา 200 ประกอบมาตรา 90 นายณัฐพงษ์ มีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุน สิบตำรวจเอก ยอดชาย หรือชัยพลฯ กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 มาตรา 157 และมาตรา 200 และฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเอง มิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 ทั้งนี้ในส่วนของนายณัฐพงษ์ อัยการได้แยกดำเนินคดีฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดให้จำคุกในมูลคดีจากเหตุเดียวกัน และได้รับการจำคุกตามคำพิพากษาครบโทษแล้ว 18. ร้องเรียนในจ.พังงากล่าวหานายสนิท วรกิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง นางอรทัย จิตสว่าง หรือเจี่ยสกุล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง นายมาโนชญ์ เพิ่มทรัพย์ หัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง ในฐานะผู้ควบคุมงานจ้าง นายไพโรจน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต หัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง ในฐานะผู้ควบคุมงานจ้าง นายมงคล เจี่ยสกุล วิศวกรโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง ในฐานะผู้ควบคุมงานจ้าง นายธีระพงษ์ สงวนนาม ผู้ช่วยช่างโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง ในฐานะผู้ควบคุมงานจ้าง นายวีรศักดิ์ ส่องแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลลำภี อำเภอท้ายเหมือง ประธานกรรมการตรวจการจ้าง นายสมมาต โชติประดิษฐ์ หัวหน้าส่วนโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง กรรมการตรวจการจ้าง นายเกรียงศักดิ์ ทองสกุล หัวหน้าส่วนโยธาองค์การบริหารส่วนตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง กรรมการตรวจการจ้าง นายพนม ภิญโญ นักวิชาการการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง กรรมการตรวจการจ้าง นายณรงค์ แสงสวาท ประชาคมหมู่ที่ 6 กรรมการตรวจการจ้าง และนายธิติพันธ์ อัครธนารัฐชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี.เอช.เค.กรุ๊ป จำกัด ว่ากำหนดราคากลางโครงการก่อสร้างระบบไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ จากหน้าโรงพยาบาลท้ายเหมือง ถึงหมู่ที่ 6 สูงกว่าความเป็นจริง และตรวจรับงานจ้าง ทั้งที่ไม่เป็นไปตาม แบบรูปรายการละเอียด ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายสนิทฯ มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 92 แห่งพราะราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงได้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 นางอรทัย ,นายมาโนชญ์ , นายไพโรจน์ , นายมงคล ,นายวีรศักดิ์ ,นายสมมาต ,นายเกรียงศักดิ์ และนายพนม มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) , (4) นายธีระพงษ์ฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) , (4) ประกอบมาตรา 86 ส่วน นายณรงค์ฯ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) , (4) ประกอบมาตรา 86 และ นายธิติพันธ์ฯ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) , (4) ประกอบมาตรา 86 19. ร้องเรียนในจ.สงขลากล่าวหา นายสุนิตย์ บุญสุขจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย ว่าละเว้นไม่ดำเนินการจัดสรรอัตราและตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลบาโหย เป็นเหตุให้ ผู้กล่าวหาได้รับความเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายสุนิตย์ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157