100ปีจุฬาฯ เทศน์มหาชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสดับพระธ รรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร ในงาน“100ปี จุฬาฯ เทศน์มหาชาติ ถวายพระราชกุศล” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิ ทยาลัย รุ่นเข้าปี 2510 จะร่วมกันจัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญพระ ราชกุศลน้อมเกล้าฯอุทิศถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันเสาร์ที่ 20พฤษภาคม2560เวลา15.00น. งานเทศน์มหาชาติที่จัดขึ้นในวาร ะครบ100ปีแห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มมหาวิทยาลัยนี้ เป็นงานมหากุศลซึ่งประกอบด้วยการแสดงพระธรรมเทศนารวม13 กัณฑ์อันว่าด้วยชาติสำคัญที่พระ โพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเวส สันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะมาประสูติและตรัสรู้เป็ นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีครบทั้ง สิบประการ ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีการแสดงธรร มเทศนาในกัณฑ์อื่นๆอีก12กัณฑ์ระหว่างวันที่ 21-22พฤษภาคม ศกนี้ ชาวจุฬาฯทุกภาคส่วนได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานว่า ผลบุญใดๆ อันจะเกิดมีแต่กิจเพื่อทำนุบำรุ งพระพุทธศาสนานี้ ขอให้มีส่วนเสริมเพิ่มบุญญาบารมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช บรมนาถบพิตรผู้ทรงพระคุณอันประเสริ ฐให้สถิตเสถียรในทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติไปตลอดชั่วกาลนา น รายได้จากการบริจาคร่วมทำบุญ ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายจะมอ บให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสมทบเงินกองทุนจุฬาลงกรณ์บ รมราชสมภพ และมูลนิธิสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯใ นพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรั ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อจัดสร้างห้องนิทรรศการเฉลิ มพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ อุทยานจุฬาฯ 100 ปี ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญมหากุศ ลสมทบกองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพสามารถโอนเงินเข้าบัญชี “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เพื่อรับเงินบริจาค)” ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีเลขที่ 152-4-87883-0 และแฟกซ์สำเนาใบฝากเงินและใบแสดงความจำนงร่วมทำบุญไปที่ศูนย์พั ฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์ ที่ 02 218 3360 หรือ โทร 02 218 3359-60ใบเสร็จนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ส่วนผู้ประสงค์บริจาคจัดสร้างห้ องนิทรรศการ สามารถโอนเข้าบัญชี “มูลนิธิสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ-เงินรับบริจาคจัดสร้างห้องนิทรรศกา ร ร.๙” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์ บัญชีเลขที่ 038-4-62957-6พร้อมแฟกซ์สำเนาใบฝากเงินและใบแ สดงเจตจำนงไปที่ 02 215 6418 หรือโทร02 215 3488ใบเสร็จนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า ทั้งนี้ภายในวันที่ 22พฤษภาคม ศกนี้  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ที่เขตปทุมวั นกรุงเทพมหานครถือกำเนิดจาก โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียนการดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีมาแล้ว 17 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยจากหลายหน่วยงานครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพของมหาวิทยาลัย คุณภาพบัณฑิต คุณภาพด้านการวิจัย ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย คุณภาพด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยในเขตเมือง และคุณภาพแยกตามรายวิชาอีก 27 รายวิชา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษาในสังกัดของสถาบัน เพราะเมื่อแรกก่อตั้ง ที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือว่าอยู่ห่างไกลจากเขตพระนครซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญในสมัยนั้นอย่างมาก ทำให้การเดินทางมาศึกษาเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงมีการสร้างหอพักเพื่อให้ผู้เข้าศึกษาสามารถพักอาศัยในบริเวณมหาวิทยาลัยได้ และใช้คำว่า "นิสิต" ที่แปลว่า "ผู้อาศัย" เรียกผู้เข้าศึกษา คำนี้มีความเป็นมาคือ ในอดีตนักเรียนจะเรียนวิชาใด ต้องไปฝากตัวเป็นศิษย์ในสำนักอาจารย์ต่าง ๆ เช่น ในยุโรปไปฝากตัวที่สำนักของบาทหลวง ในประเทศไทยไปฝากตัวที่วัดเป็นศิษย์ของพระและอาศัยวัดเป็นสถานที่ศึกษา ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษจึงใช้คำว่า "Matriculated Student"ที่แปลว่า "นักศึกษาที่ได้รับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว" เรียกผู้เข้าศึกษา เช่นเดียวกับคำว่า "นิสิต"ทั้งนี้ ในอดีต โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้จบการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและเรียนเพื่อสอบวิชาเป็นบัณฑิ9และแม้ว่าในปัจจุบันการเดินทางจะสะดวกขึ้นเป็นอันมาก เขตปทุมวันซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปเป็นย่านธุรกิจการค้าใจกลางเมือง ทำให้นิสิตไม่มีความจำเป็นต้องพักในหอพักนิสิตทุกคนอีกต่อไป แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษา เพื่อเป็นที่รำลึกถึงความเป็นมาของสถาบันเช่นเดิม พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ถือเป็นพิธีสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีขึ้นครั้งแรกในประเทศ บุคคลสำคัญจากหลายสาขาอาชีพได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก อาทิ เอกอัครราชทูตจากนานาประเทศ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสร็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ทำให้พิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการหน้าที่นั่งของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์นับแต่นั้นเป็นต้นมากล่าวคือหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่สามารถเสด็จฯได้ ก็จะเป็นการถวายปฏิญญาต่อพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และรับพระราชทานปริญญาบัตรจากผู้แทนพระองค์ ธรรมเนียมนี้ได้ใช้ปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในเวลาต่อมา ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย 19 คณะวิชา 1 สำนักวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และมีหน่วยงานประเภท วิทยาลัย 3 แห่ง บัณฑิตวิทยาลัย 1 แห่ง สถาบัน 14 แห่ง และสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน จำนวนหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 506 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 113 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 393 หลักสูตร ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร