ทรงสร้างประโยชน์สูสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected] ครูภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างผู้เดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ(จบ) ครูภูมิปัญญาไทย 7 รุ่นราวๆ 400 กว่าท่านทั่วประเทศที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ผ่านมานั้นในฐานะปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความเชี่ยวชาญหน่วยงานกำหนดไว้ 9 ด้านคือการเกษตรกรรม, แพทย์แผนไทย, ศิลปกรรม, ศาสนาปรัชญาประเพณีไทย, กองทุนและธุรกิจชุมชน,อุตสาหกรรมและหัตถกรรม,ภาษาและวรรณกรรม,การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อมและด้านโภชนาการ อย่างที่เกริ่นข้างต้นเป็นที่พึ่งของชุมชนและคนทั่วไปในการนำพาชีวิตไปสู่ความสุข โดยทำหน้าที่เป็นแบบอย่าง เป็นพี่เลี้ยงคนในชุมชน ในสังคมไทยในพื้นที่ภูมิภาคของแต่ละท่านด้วยความเสียสละแบ่งปันองค์ความรู้วิถีดำเนินชีวิตด้วยความรักความเมตตาที่มีต่อพี่น้องไทยด้วยกัน สนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงงานหนักทรงเหน็ดเหนื่อยทรงตรากตรำพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ราษฎรของพระองค์ ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆมากมายที่พระราชทานไว้ทั่วประเทศกว่า4,000 โครงการนับแต่เสด็จครองราชตราบเสด็จสวรรคตเป็นเวลายานาน 70 ปีโดยการร่วมกันขยายผลหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯไปสู่พี่น้องไทยที่สนใจอย่างเต็มกำลังความสามารถ เป้าหมายรัฐบาลได้มีจุดหมายตรงกับหัวใจครูภูมิปัญญาไทยเมื่อน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตจนมั่นคงแน่นหนายืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งตัวเองในการดำเนินชีวิตแล้วก็ช่วยประคองเพื่อนๆในชุมชนและในภูมิภาคให้ยืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งตนเองเช่นกันเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ครูภูมิปัญญาไทยรุ่น8 จะเป็นกำลังเสริมเพิ่มเติมได้อีกมากทีเดียว และหรือท่านที่ยังคงเป็นปราชญ์ชาวบ้านอยู่ที่ยังไม่ได้รับการประกาศเชิดชูท่านก็เป็นกำลังสำคัญเช่นกันอยู่แล้ว ช่วงเดือนมีนาคม2560 สกศ.ได้แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการคัดเลือกครูภูมิปัญญารุ่น8 ทั่วประเทศที่เริ่มขับเคลื่อนแล้วโดยมีนางสาวสุทธาสินี วัชรบูลเป็นประธานคณะได้กล่าวว่าโครงการสรรหาและคัดเลือกครูภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องที่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม2553เป็นนโยบายเพื่อให้ภูมิปัญญาเป็นรากฐานและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาตน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิกล่าวว่านโยบายรัฐบาลกำหนดให้นำภูมิปัญญาเข้าสู่การศึกษาชาติทั้งในโรงเรียน นอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญา สนับสนุนให้มีบทบาทเสริมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการศึกษาทุกระดับทุกรูปแบบ เพื่อซึมซับศึกษาเรียนรู้การดำเนินชีวิตการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯผ่านครูภูมิปัญญา สนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน “มีการดำเนินการสนับสนุนครูภูมิปัญญามาถึงวันนี้เป็นเวลา 18 ปี โดยหลักการคือต้องนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาถ่ายทอดสู่เยาวชน การยกย่องบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้านให้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคม นำความสามารถจนเป็นภูมิปัญญาที่มีความเชี่ยวชาญแก้ปัญหาตนเองและชุมชนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น คือการพัฒนาสู่การมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ นำสังคมสู่ความดีงามก่อเกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตมีความสุขอย่างยั่งยืนตามแนววิถีแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”นางสาวสุทธาสินี วัชรบูลกล่าว วันนี้มีครูภูมิปัญญาที่ได้รับการยกย่องเชิดชูแล้ว7 รุ่นเกิน 400 คนและกำลังดำเนินการคัดเลือกในรุ่นที่8ต่อไป เพื่อเป็นกำลังพัฒนาชาติบ้านเมืองไปสู่ความเป็นสังคมเข้มแข็งบนวิถีแห่งคุณธรรมจริยธรรม ในการคัดเลือกครูภูมิปัญญารุ่นที่8 นี้มีหน่วยงานที่เป็นภาคีอย่างเช่นกอรมน. กศน. เป็นต้นส่งรายชื่อประวัติปราชญ์ชาวบ้านทั่วประเทศมีถึง เกือบ 300คน ปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญการดำเนินชีวิตแต่ละด้าน กว่าจะสร้างรากฐานการดำเนินชีวิตให้เข้มแข็งเพราะองค์ความรู้ที่แต่ละท่านแต่ละสาขาศึกษาเรียนรู้ชีวิต การงานการอาชีพลองผิดลองถูก ครูพักลักจำมาใช้พัฒนาเพื่อการมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้โดยส่วนใหญ่ล้วนสืบสานตามวิถีดั้งเดิมของบรรพชน แล้วมาได้หลักคิดในการที่จะพัฒนาต่อยอดก็ด้วยผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ที่ทรงทุ่มเทพระองค์คิดค้น ทดลอง ค้นคว่าจนเกิดผลสำเร็จมั่นคงแน่นนอนแล้วพระราชทานเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นต้นแบบ ที่สุดพัฒนามาเป็นความสำเร็จในการประกอบอาชีพ การดำเนินชีววิตที่ยืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งตัวเองในที่สุด ตัวอย่างเช่นปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรมล้วนแต่น้อมนำเอาแนวพระราชดำริทำเกษตรกรรมตามหลักทฤษฎีใหม่ฯไปประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรพื้นที่ตนเองโดยมีวิถีพอเพียงฯเป็นเครื่องกำหนดในการต่อยอดพัฒนาภูมิปัญญาของบรรพชนแล้วคิดพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่นำไปสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจทำให้เกิดความแข็งแกร่งในอาชีพยิ่งขึ้น เมื่ออาชีพหลักแข็งแกร่งมั่นคงชีวิตมีความสุขแล้ว มีการต่อยอดไปสู่การอนุรักษ์สืบสานอย่างเช่นด้านสภาพสิ่งแวดล้อม ประเพณีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นส่วนสำคัญอีกทางหนึ่งของชุมชนเพราะเป็นการอนุรักษ์สืบสานวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทยที่ดีงามของแต่ละภูมิภาคพื้นถิ่นอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตเช่นกันแม้มิใช่ทางอาชีพโดยตรงก็ตาม