“ลูกหนี้” ยิ้มออก “ธปท.” จับมือ 16 แบงก์ “เปิดคลินิกแก้หนี้บัตรรูดปื๊ด” ดีเดย์ มิ.ย.นี้ คิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 7 นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในโอกาสลงนามร่วมกับ 16 สถาบันการเงิน ในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (คลินิกแก้หนี้) ว่า ปัจจุบันระดับหนี้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นปี 2559 อยู่ที่ 79.9% ลดลงจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 81.2% นอกจากนี้ยังพบว่า คนไทยเริ่มก่อหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งจากข้อมูลเครดิตแห่งชาติ พบว่า กลุ่มคนทำงานช่วงอายุ 29-30 ปี มีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน และมีมูลหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้น โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 150,000 บาทต่อราย จากปี 2553 อยู่ที่ 70,000 บาทต่อราย ซึ่งสะท้อนว่า คนไทยขาดวินัยการเงิน และติดอยู่วงจรหนี้สินล้นพ้นตัว “เราเริ่มเห็นสัญญาณหนี้ครัวเรือนเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559 แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจด้วย ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันการเงิน รวมถึง นอนแบงก์ก็พยายามระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมกาขึ้น ซึ่งหากปีนี้เศรษฐกิจขยายตัวดี และไม่มีอะไรมากระทบรุนแรงก็เชื่อว่าจะทำให้หนี้ครัวเรือนปรับลดลง แต่ก็ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่ปรับลดลงในปัจจุบันนั้น ยังเป็นการปรับลดลงอย่างช้าๆ”นายวิรไท กล่าว ดังนั้น ธปท.จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งหมดในการวางโครงสร้างพื้นฐานการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะหนี้ของลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายรายที่ทำให้เกิดปัญหาเงินไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ ด้วยการให้ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีหนี้เสียค้างชำระเกิน 90 วัน เข้าโครงการ และให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุวิท หรือ SAM เข้ามาเป็นตัวกลางในการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ทุกเจ้า ที่จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากการบริหารหนี้ 7% แต่ลูกหนี้จะต้องเข้าปรับพฤติกรรมลูกหนี้ให้มีการบริหารการเงินที่ดีขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นมีลูกหนี้ในกลุ่มนี้มีมูลหนี้รวมกันสูงถึง 100,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มนำร่องโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามในอนาคตจะมีการขยายให้สามารถรับแก้หนี้ที่ไม่ได้มาจากสถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ได้ด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขพ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท เพื่อให้สามารถแก้ไขและช่วยเหลือกลุ่มลูกค้านอนแบงก์ได้ ซึ่งที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว แลระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้คุณสมบัติเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีเงินเดือนประจำ อายุไม่เกิน 65 ปี มีหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือ สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันค้างชำระเกิน 3 เดือน กับธนาคาร 2 แห่งขึ้นไป ก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 แต่จะต้องไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และมียอดหนี้เงินต้นค้างชำระรวมไม่เกิน 2 ล้านบาท อย่างไรก็ตามลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องเต็มใจก่อหนี้เพิ่มในระยะเวลา 5 ปีหลังจากเข้าโครงการ และต้องเรียนรู้การสร้างวินัยทางการเงินที่ดีด้วย ซึ่งลูกหนี้ที่เข้าโครงการจะไม่ถูกทวงถามหนี้จากเจ้าหนี้หลายราย และลดภาระการผ่อนชำระต่อเดือนด้วย สำหรับ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการที่ www.คลินิกแก้หนี้.com , wwww.debtclinicbysam.com และ 02-610-2266 ทุกวันจันทร์ -ศุกร์ เวลา 8.30-17.00 น. “ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานาน และต้องใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งการแก้ไขนั้นมีหลายมิติ ซึ่งจะต้องให้ทั้งความรู้กับประชาชน สถาบันการเงินจะต้องมีความรับผิดชอบในการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ประชาชนจะต้องไม่ก่อหนี้สินจนเกินตัว และจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหากภาคครัวเรือนมีความเปราะบาง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน และมีความผันผวนสูง จะส่งผลให้เศรษฐกิจไม่มีความเข้มแข็ง และไม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน”นายวิรไท กล่าว นายวิรไท กล่าวถึงกระแสข่าวที่ธปท.จะปรับเงื่อนไขการให้วงเงินสินเชื่อบุคคลจากปัจจุบัน 5 เท่า เหลือ 3 เท่านั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้ในขณะนี้ ส่วนกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ 4 แห่งใหญ่ ลดดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับเอสเอ็มอีนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดี และค่อนข้างพอใจ ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆจะลดหรือไม่นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าของแต่ละแห่ง ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ในกลุ่มสินเชื่อบ้าน ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในขณะนี้นั้น ยอมรับว่า เป็นสิ่งที่น่ากังวล แต่จากการดูข้อมูล พบว่า หนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้น เกิดจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินหลายแห่งออกโปรโมชั่นและผ่อนคลาย เงื่อนไขการให้กู้ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีทั้งอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน และอัตราการผ่อนชำระต่ำพิเศษด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไตรมาสแรกที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ประกาศออกมานั้น ค่อนข้างสบายใจ โดยเศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว สะท้อนจากภาคการผลิต และรายได้ภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น และส่งผลดีต่อการบริโภคซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่การส่งออกเริ่มเห็นการกระจายตัวไปยังประเทศต่างๆเพิ่มมากขึ้น ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังถือเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เนื่องจากอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากที่ผ่านมา ภาคเอกชนไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับกำลังการผลิตในบางอุตสาหกรรมอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐยังขยายตัวสูง โดยการลงทุนโครงการต่างๆเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าการเบิกจ่ายยังไม่มากนัก “มองว่า การลงทุนภาครัฐยังเป็นบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ ส่วนในระยะต่อไป มองว่า หากเศรษฐกิจขยายตัวดี การส่งออกเติบโตได้ และกระจายไปยังตลาดใหม่ๆมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนก็น่าจะกลับมาได้ ส่วนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นั้น จะช่วยดึงการลงทุนใหม่ๆ เป็นการสร้างฐานใหม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจอย่าง